ภาษาเมืองล้านนาวันละคำตอน "เสื้อบ้าน"


เสื้อหมายถึงสิ่งที่ปกคลุมห้มห่อ ปกป้องคุ้มครองให้ผู้คนอยู่เป็นสุข

กว่าจะเป็นบ้านเมืองต้องมีการพัฒนาจากผู้คนพากันไปหาแหล่งถิ่นที่อยู่อาศัย  ค่อยเพิ่มจำนวน พัฒนาขึ้นเป็นหมู่บ้าน  ตามแถวแถบชนบท ใกล้ที่ทำนา ทำไร่

การขยายแพร่กระจายเป็นหมู่บ้าน  ผู้คนต่างพากันอพยพไปตั้งถิ่นฐานบริเวณแห่งใหม่  และจะใช้ต้นไม้เป็นที่จำหมาย  เช่น  พากันไปตั้งถิ่นฐานใกล้ต้นไม้สัก  ก็เรียกกันว่า  หมู่บ้านต้นสัก   หมู่บ้านต้นเปา     หากไปอยู่ใกล้แม่น้ำก็จะใช้ชื่อแม่น้ำเป็นชื่อหมู่บ้าน เช่น  บ้านแม่ขาน  แสดงว่า บ้านตั้งอยู่ใกล้ลำน้ำแม่ขาน  เป็นต้น

เมื่อผู้คนพากันมาตั้งบ้านเรือนกันใหม่  จะพากันตั้งศาลประจำหมู่บ้าน ด้านหน(ทิศ)เหนือของหมู้บ้าน  และสถานที่ไกลออกไปอีกนิดจะกำหนดให้เป็นป่าช้าสถานที่เผาศพหรือฌาปนกิจศพของผู้คนในหมู่บ้านที่ล้มหายตายจาก   ศาลนี่เองเรียกกันว่า   ศาลหอผีเสื้อบ้าน

ผู้คนล้านนามีความเชื่อกันว่า   สถานที่ทุกแห่งย่อมมีผี หรือวิญญาณรักษาเมื่อพากันมาตั้งหมู่บ้านใหม่ต้องตั้งหอผีเพื่อให้เสื้อบ้าน หรือผีรักษาหมู่บ้านมาอยู่อาศัย

เมื่อถึงคราวขึ้นปีใหม่หรือวันปากปี๋คือวันถัดจากวันมหาสงกรานต์  ชาวบ้านต่างพากันจัดแจงแต่งดาเครื่องสังเวยผีเสื้อบ้าน  ในวันนี้เอง บรรดาชาวบ้านที่ไปอยู่ต่างแดนไกลจะพากันมาร่วมกันทำขนม   ทำอาหาร  ทำสะตวงใส่เครื่องสังเวย   หลังจากนั้นจึงนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีส่งเคราะห์ประจำปีและเลี้ยงอาหารให้แก่ผีเสื้อบ้านเป็นการรวมกลุ่มชาวบ้านทุกคนได้มารวมใจ พบปะ  แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์พัฒนาหมู่บ้านให้ก้านกุ่งรุ่งเรือง(อ่าน ก้านกุ่งฮุ่งเฮือง)เจริญต่อไป

คำว่า "เสื้อ" จึงเป็นเสมือนสิ่งปกคลุม  หุ้มห่อ  ให้ความอบอุ่นเกิดกำลังใจแก่ผู้คนทั้งหลายในหมู่บ้าน

แต่หากเมื่อหมู่บ้านเจริญขึ้นเป็นเมืองก็จะมีเสื้อเมืองรักษาดูแลผู้คนในเมืองเมื่อถึงเทศกาลเลี้ยงผีเสื้อเมืองผู้คนในเมืองต่างพากันมาร่วมพิธีเลี้ยงผีเสื้อเมืองทุกๆรอบปีแต่อาจมีชื่อเรียกขานแตกต่างกันไป  เช่น  พิธีบูชาเสาอินทขีล  ของเมืองเชียงใหม่เป็นต้น

มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อว่าหมู่บ้านสันผีเสื้อ  เพราะชาวบ้านได้ตั้งศาลหรือหอผีเสื้อบ้านบนสัน(เนิน)ใกล้หมู่บ้าน   เรียกกันเต็มๆว่า    "สันผีเสื้อบ้าน"แต่ ผู้คนเรียกกันสั้นๆว่า   บ้านสันผีเสื้อ    ทุกๆปีชาวบ้านต่างกระทำพิฑีตามแบเบ้าโบราณนานมา

ต่อมามีคนต่างถิ่นไปเป็นปลัด   อบต.สันผีเสื้อด้วยความที่ไม่รู้จักศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น  เมื่อถึงเวลาประกอบพิธีไหว้ผีเสื้อบ้าน  ท่านปลัดคนเก่ง ได้สั่งให้นักเรียนใน  อบต.แต่งชุดผีเสื้อมาร่วมขบวนแห่    ทำเอาชาวบ้านต่างงุนงง  ทำไมผีเสื้อบ้านต้องมาบินเป็น  "กำเบ้อ"

คำว่าผีเสื้อในภาษาไทยกลางผู้คนล้านนาเรียกกันว่า  "ก๋ำเบ้อ"  หรือ   อี่เบ้อ   หรือ  ตั๋วเบ้อ   

 แต่ท่านปลัดได้ยินคำว่า  ผีเสื้อบ้าน   กลับนึกไปว่าผีเสื้อที่บินว่อนกันทั่วไป   เมื่อถึงมีงานเทศกาล จึงสั่งให้นักเรียนแต่งแฟนซีเป็นผีเสื้อบินไปมาในขบวนแห่......โอละพ่อเฮย...ผู้คนชาวบ้านต่างซุบซิบกันว่า  "เซอะแต๊ๆ"  บ่ฮู้จักศึกษาประเพณีท้องถิ่น.....เสียก่อนกระทำ

เสื้อบ้าน  เสื้อเมืองจึงเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนล้านนาเรียกขานกันโดยทั่วไป

 

หมายเลขบันทึก: 413582เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2010 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีเจ้าลุงหนาน แล้วกำนี้ท่าน ปลัด อบต. ฮู้ตี้มาแล้วน้อ เอาไว้ปีหน้าท่าจะทำถูกฮีตถูกฮอยล่ะเนาะ เสื้อบ้านเป็นศูนย์ร่วมน้ำใจคนในหมู่บ้านจะมีการนำพวงมาลัย ดอกไม้ ของกิ๋นถวายในบ้านที่เสื้อบ้านอยู่ ลุงหนานสบายดีน้อเจ้า

ได้ความรู้มากเลยครับท่าน

สวัสดีครับคุณรินดาและเบดูอิน....

ชอบคุณที่เข้ามาแว่แอ่วครับ...

เป็นข้อที่ควรจจดจำสำหรับคนที่เป็นข้าราชการไปอยู่ที่ไหนต้องเอาไฟที่นั่น..ปรับตัวเข้าชุมชนและศึกษาชุมชนให้ดีก่อนกระทำ อย่าหยามชุมชน อย่าดูถูกชุมชน  เราไปหากินกับพวกเขาเราต้องปรับตัวเข้าหาเขาแล้วจะมีความสุขทั้งข้าราชการและชุมชน...

อย่าไปทำลายฮีตฮอยชุมชน อย่าอวดเก่งกว่าชุมชนแล้วเรานี่แหละจะได้ดีเพราะชุมชน..

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน..พรหมมา

ต้องขอโทษด้วยนะครับ คือผมขอแสดงความเห็น สักนิด นึง ตามที่ผมได้ค้นคว้ามา ได้ทราบว่า สันผีเสื้อ มีที่มาคือ เป็นชื่อของต้นไม้ที่มีชื่อว่า ต้นผีเสื้อ มีดอกสีเหลือง ขณะนี้มีเหลืออยู่ต้นหนึ่ง ปลูกอยู่ในวัด ท่าหลุก หมู่ที่ 7 ตำบลสันผีเสื้อ ลองสอบถามได้ที่พระครู บุญ เจ้าอาวาสวัดท่าหลุก ท่านบอกว่า สมัยก่อน มีต้นผีเสื้อ ต้นใหญ่ ต้นหนึ่งอยู่ ด้านใต้วัด สุดเขตตำบลสันผีเสื้อ ติดเขตตำบลฟ้าฮ่าม ไม้หมายเมือง ไม้หมายถิ่น ไม้หมายทาง ( จากอาจารย์ สมพร ยกตรี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ) ในสมัยก่อน ยังไม่มีรถใช้เดินทาง จะใช้การเดินด้วยเท้า หรือขี่ม้า เมื่อออกเดินทางไปด้านใต้ของตัวเมืองเชียงใหม่ จะพบต้นยาง พอเลยสารภีเข้าเขตลำพูน จะพบต้น ขี้เหล็ก ไปทางตะวันออกสายสันกำแพง จะพบต้น จามจุรี หรือต้นฉำฉา ไปทางตะวันตก จะมีต้นพยอม ( มีตลาดต้นพยอม ) จะมาทางเหนือ เดินเลียบแม่น้ำปิงขึ้นมาทางวัดฟ้าฮ่าม วัดลังกา วัดท่ากระดาษ เมื่อเข้าเขตตำบลสันผีเสื้อ จะมีต้นผีเสื้อ เลยขึ้นไปถึงท่าเดื่อ มีต้นเดื่อ ถึงร้องอ้อ มีต้นอ้อมาก ถึงป่าข่อย จะมีต้นข่อยมากจึงเรียก บ้านป่าข่อย

สวัสดีคุณกาก้า...ยินดีครับที่เข้ามาแว่อ่านและแสดงความคิดเห็น.....ถูกต้อง  ไม้หมายเมืองมีมากมายทิศตะวันตกแม่น้ำปิงที่หัวสะพานถนนวงแหวนหน้าศูนย์ราชการ ก็มีต้นไม้สะหรีอต้นโพ เป็นไม้หมายเมืองหรือหนทางเมือง  ซึ่งเป็นต้นไม้ของเจ้าชีวิตอ้าวได้ทรงปลูกไว้จำนวนสามต้น  ปัจจุบันก็มีอยู่ใช้เป็นสวนดอกกุหลาบใหล้กับหมู่บ้านเอื้ออาทร(หัวบ้านท่อ/ทิศใต้บ้านป่ารวก) ..ต้นโพต้นนี้ผู้คนสมัยก่อนเรียกกันว่า ไม้สะหรีหนทางเมืองเพราะเป็นที่สังเกตของขบวนวัวต่างที่เดินทางมาจากทางเหนือ  มาถึงแถวโรงพยาบาลป่าแงะ มีต้นสะหรีริมทางหนึ่งต้น  ขบวนวัวต่างจะวกลงลัดทุ่งนา  มาทางตะวันออก ผ่านทิศเหนือบ้านพระนอนขอนม่วง  มาถึงกลางทางมีต้นไม้สะหรีอีกต้นหนึ่งเป็นที่จำหมายกลางทาง(ปัจจุบันอยู่ในบ้านสจัดสรร)   ผ่านต้นไม้สะหรีนี้มาวกลงมาที่ท่าขะจาว(หัวบ้านท่อ)อ.เมือง  จ.เชียงใหม่ก็พบไม้สะหรี(ต้นที่เห็นปัจจุบันที่ลุงพูดถึง) ขบวนวัวต่างจะมาพักริมน้ำปิง ปล่อยให้วัวต่างลงท่าขะจาวกินน้ำปิง พักขบวนไว้  เมื่อถึงเช้าวันรุ่งขึ้นก็จะพาขบวนเดินทางผ่านบ้านท่อ เมืองลัง  ป่าตัน  วังสิงห์คำ และเจดีย์งาม ตลาดต้นลำไยหรือกาดหลวง    เป็นที่ขายสินค้า.....นี่คือไม้หนทางเมือง

การที่บรรพบุรุษนำไม้มาเป็นที่จำหมายเพราะสมัยก่อนไม่มีอะไรที่ดีกว่าต้นไม้อีกแล้ว  นอกจากเป็นที่จำหมายแล้วยังเป็นที่พักผ่อนของการเดินทางด้วยดี

ไม้หมายเมือง  ไม้นามบ้าน   ไม้หนทางเมือง    ไม้นามเมืองล้วนแล้วแต่เป็นผะหญาปัญญาของบรรพบุรุษที่ดีงามได้กระทำไว้เพื่ออำนวยความสะดวกให้ชีวิตประจำวันอยู่กันอย่างเป็นสุข

แสดงความยินดีกับพวกเราที่ใช้วิชาความรู้มาแลกเปลี่ยนทำให้ผู้อ่านได้ความรู้หลากหลายครบถ้วน

พูดถึงต้นผีเสื้อทางล้านนาบางท้องถิ่นเรียกกันว่า  ต้นสีเสื้อ  มีสีเสื้อหลวง  สีเสื้อน้อย(ต้นขลู่)ใช้เป็นยาสมุนไพรอบไอน้ำไล่สารพิษโดยเฉพาะผู้หญิงที่คลอดใหม่ๆขับน้ำควาวปลาได้ดี.....

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน.....พรหมมา

 

ได้ความฮู้นักแต้ๆเจ้า  และก่เอ็นดูท่านปลัดสันผีเสื้อเหียแต้  ข้าเจ้าจะขอนำประสบการณ์ของท่านไปเป็นบทเรียนในการดำเนินชีวิตต่อไปเจ้า  ขอบคุณเจ้า

ได้ความฮู้นักแต้ๆเจ้า  และก่เอ็นดูท่านปลัดสันผีเสื้อเหียแต้  ข้าเจ้าจะขอนำประสบการณ์ของท่านไปเป็นบทเรียนในการดำเนินชีวิตต่อไปเจ้า  ขอบคุณเจ้า

สวัสดีอี่น้องผัดเวิ้ง.....

ลุงัหนชื่อแล้วท่าจะเมาหัวนักแกเพราะผัดเวิ้งไปมา....

ถ้ามีเวลาหยุดยั้งก็หยุดพ่องเน้ออาจจะเมาหัวไปแถมเมิน....

ข้าราชการที่ดีต้องเข้าถึงประชาชนอย่างแท้จริงอย่าอวดดีไปเปลี่ยนเขา....เราก็อยู่สบายเขาก็ม่วนใจ๋....

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน.......พรหมมา

 

  ยกมือสา วันทากราบนพ ท่านที่เคารพ พรหมมาพ่อหนาน                                     

เฮาคนเมืองแต๊ เป๋นลูกเป๋นหลาน ฮ่อมก๋ารฮ่อมงาน ฮ่วมสานสรรสร้าง

อันตั๋วผมนี้ ขอชี้กล่าวอ้าง หื้อเป๋นหนทาง บอกว่า

ลูกหลานไตลื้อ ยึดถือประสา คำเก่าเล่ามา เมินแล้ว

ผู้มีพระคุณ การุณย์บ่แคล้ว อพยพแน่ว สิบสองปันนา

นำพี่พาน้อง เพื่อนพ้องวงศา ออกจากพารา ก่อนนั้น

พ.ศ.งดงาม สองสามเป๋นชั้น ติดต๋ามเก้าห้า นั้นนา

ฮ่วมตั้งฐานถิ่น ที่กิ๋นก๋ารค้า สุดผาถะนา เมืองออน 

บนฝั่งแม่น้ำ นามดีขจ๋ร ชื่อน้ำแม่ออน ดินดอนราบกว้าง

คุณงามความดี เป๋นที่อวดอ้าง เหมือนอย่างพ่อหนาน ว่าไว้

โบราณคนเก่า คนเฒ่าเอาใช้ เป๋นฮ่อมสืบได้ เมินมา

หื้อสัญลักษณ์ เป๋นที่สังก๋า จ๋ำหมายที่มา เนืองนัน

สมานะฉันท์ บ่หลิ่งบ่กั้น เป๋นกั๋นเป๋นงาน บัดดล

กิ๋นหอมต๋อมม่วน เชิญชวนเป๋นผล สรรพมงคล ผลบุญแผ่ก้อง

เพราะศาสะนา นำพาถูกต้อง อยู่ต๋ามครรลอง ชาวพุทธ

ทำบุญสุนทาน สำราญบ่หยุด แสนสุดว่าชั้น คนดี

ตุ๊เจ้าพระนาย มีศักดิ์มีศรี นำคนทำดี บ่มีกีดกั้น

ครูบาปัญโญ ท่านแรกนั้นหนา สร้างวัดลือนาม อารามกิ่งแก้ว

แม้นรูปที่สอง จิตใจ๋ผ่องแผ้ว นามท่านครูบา จันต๊ะ

ท่านมีบุญคุณ กับเฮาสัปป๊ะ แป๋งสร้างวาวัด นามใด

ชื่อวัดออนหลวย ขอชี้ขานไข ที่อยู่พระไทย ไตลื้อว่าอั้น

แถมพระรูปสาม ซึ่งได้เลื่อนชั้น ฐานันดรนั้น ท่านกู๊

"พิพัฒนชินวงค์" ดำรงค์ศักดิ์หรู นามท่านพระครู ราชทินนาม

คฤหัสถ์เป๋นศรี ทำดีสร้าญ ลูกหลานเต๋มบ้าน มีคุณ

งานหลวงบ่พลาด งานราษฎร์อุดหนุน ร่วมแรงเป๋นทุน เพราะบุญท่านเจ้า

ได้สาธยาย ขยายก่อเก๊า เพื่อเป๋นแบบเบ้า โบราณ

ขยายความคิด พรหมมาพ่อหนาน สืบสานเป๋นงาน จ๋ำหมาย

สรรเสริญยกยอ ต่อหื้อความหมาย บอกหื้อญิงจาย ทราบถ้อย

กล๋อนวาจ๋า เขียนมาเต้าอี้ เต้านี้วาดวางลง ก่อนแหล่นายเฮย

 

 

 

 

สวัสดีครับคุณสนั่นยินดีแต๊ๆที่เข้ามาแต่งค่าวร่วมกั๋น....

หากมีเวลาก็เข้ามาแถมเน้อครับ

ด้วยความปรารถนาดีจากหนาน..พรหมมา

สวัสดีครับ พอดีผมเข้ามาอ่านเจอช้าไปหลายปี....ดีใจมากที่เข้ามาพบหัวเรื่องกระทู้นี้และมีผู้รู้ที่น่านับถือมาให้คำตอบ....พอดีผมกำลังศึกษาประวัติของกลุ่มผู้คนทางล้านนา...และอยากทราบว่า...แต่ก่อนคนทางนี้จะถูกเรียกว่า "คนยวน" ตอนหลังมาเปลี่ยนให้เรียกตัวเองว่าเป็น 'คนเมือง" เพราะว่าอะไรครับ.....รู้มาว่าในสมัยนั้นที่มารื้อฟื้นเมืองเชียงใหม่....ได้มีการเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง.....ตามความเห็นของผม เป็นเพราะกวาดต้อน ทั้ง คนลื้อยอง ไทยใหญ่ ขืน และพม่า เข้ามาและเพื่อแยกให้ชัดเจนว่าเจ้าของพื้นที่นั้นเป็นคน เมืองไม่ใช่ผู้คนที่ถูกกวาดต้อนเข้ามาอยุ่ใหม่....ไม่ทราบว่าเหตุผลที่แท้จริงมาเปลี่ยนเรียกตัวเองใหม่ว่า เป็น" คนเมือง'สาเหตุเพราะว่าอะไรครับ....ทุกวันนี้แถวภาคกลางยังมีชุมชน คน"ไตยวน"ที่สระบุรีและราชบุรีที่เป็นกลุ่มคนทางล้านนาที่ถูกกวาดต้อนมาก็ไม่ได้เรียกตัวเองว่า เป็น"คนเมือง' เหมือนคนทางภาคเหนือเช่นปัจจุบันนี้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท