AHELO



          AHELO ย่อมาจาก The Assessment of Higher Education Learning Outcomes   เป็นโครงการของ OECD ซึ่งหมายความว่ากลุ่มประเทศร่ำรวยเขารวมตัวกันขับเคลื่อนคุณภาพอุดมศึกษาของเขาด้วย AHELO เป็นกลไกหนึ่ง

          จุดสำคัญคือเป็นการ assess ที่ Learning Outcomes   ซึ่งเป็นการวัดที่ทำยาก ต้องช่วยกันหาทางพัฒนาวิธีการ   จึงต้องมีโครงการ AHELO   ถ้าไม่เอาใจใส่จริงจัง การวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนก็จะไปวัดที่ความจำ หรือวัดเนื้อหาวิชา   ซึ่งล้าสมัยไปแล้ว   ไม่เป็นการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ ๒๑

          สิ่งที่เขาวัดคือ performance หรือวัดสิ่งที่ นศ./บัณฑิต “รู้และทำได้”   ไม่ใช่แค่รู้เฉยๆ

          ที่จริง AHELO เป็นการสร้าง “สารสนเทศ” สำหรับ “ผู้ใช้” ๔ กลุ่ม คือ

   มหาวิทยาลัย ใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน


   นศ. ใช้เลือกที่เรียน


   ผู้กำหนดนโยบาย ใช้สร้างความมั่นใจว่าเงินที่ใช้สนับสนุนอุดมศึกษานั้น คุ้มค่า


   นายจ้าง ใช้เลือกบัณฑิตมาทำงาน

          มองในมุมหนึ่งนี่คือเครื่องมือสำหรับกำกับดูแลระบบอุดมศึกษาในภาพใหญ่นั่นเอง   OECD ใช้การประเมินเป็นเครื่องมือกำกับดูแลให้การศึกษาเป็นพลวัต และคุ้มค่าการลงทุน   โดยเขาจัดการประเมินที่เราเรียกกันติดปากว่า PISA (Programme for International Student Assessment)   และ PIAAC (Programme for International Assessment of Adult Competencies)

          AHELO วัด ๓ อย่าง

๑. ทักษะทั่วไป (Generic skills) เช่น critical thinking, analytical reasoning, problem-solving, written communication เป็นต้น


๒. ทักษะรายสาขา (Discipline-specific skills) ตามสาขาที่เรียน เช่น เศรษฐศาสตร์  วิศวกรรมศาสตร์


๓. สารสนเทศเชิงบริบท (Contextual information) เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานของ นศ. และบรรยากาศของการเรียนรู้ 

          ผมมองว่า นี่คือการใช้พลังเชิงบวกของการประเมิน 

                     

      
          วิจารณ์  พานิช

หมายเลขบันทึก: 412604เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2010 12:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาจริงๆครับ

ผมเห็นด้สวย มหาวิทยาลัยจะต้องยกเครื่องการสอน เพราะว่าวิธีที่สอนทุกวันนี้

ไม่ได้สอนให้นักศึกษาคิด แก้ปัญหา ทำงานเป็นทีม มีทักษาะในการสื่อสาร

ผู้ที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน มีน้อยมากที่เกิดจากวิธีการสอนของเราในทุกระดับ

ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาครั้งวที่2 ที่มี ศ.ดร. ยงยุทธ ยุทธวงค์ เป็นประะาน ก็คงไม่มีอะไร

เปลี่ยนแปลงมาก ดูง่ายๆ จากการที่ทุกวันนี้มหาวิทยาลัยรับนักศึกษา รวมทั้งที่ สกอ.จัด

admission ด้วย มันวุ่นวายไปหมด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท