ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน
ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน เกาะติดชุมชน สิทธิชุมชน สิทธิพลเมือง

เล็ง สงขลา-จันทบุรี สร้างโรงถลุงเหล็ก


วันนี้ 4 ธ.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.ที่ผ่านมา นายวิกรม วัชรคุปต์ ผอ.สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการสถาบันเหล็กว่า เตรียมเสนอแผนการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการก่อสร้างโรงถลุงเหล็ก (เหล็กต้นน้ำ) มูลค่าแห่งละ 3-9 หมื่นล้านบาท ให้ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ(กอช.)ที่มีนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อรองรับความต้องการใช้เหล็กในอนาคตของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์, ก่อสร้าง, เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

เล็ง สงขลา-จันทบุรี สร้างโรงถลุงเหล็ก

วันเสาร์ ที่ 04 ธันวาคม 2553 เวลา 2:03 น

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=310&contentId=107903

สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เผยเล็งสงขลา-จันทบุรี สร้างโรงถลุงเหล็กเกือบแสนล้าน

          วันนี้ 4 ธ.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.ที่ผ่านมา นายวิกรม วัชรคุปต์ ผอ.สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการสถาบันเหล็กว่า  เตรียมเสนอแผนการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการก่อสร้างโรงถลุงเหล็ก (เหล็กต้นน้ำ) มูลค่าแห่งละ 3-9 หมื่นล้านบาท ให้ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ(กอช.)ที่มีนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน  เพื่อรองรับความต้องการใช้เหล็กในอนาคตของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์, ก่อสร้าง, เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
          ทั้งนี้ผลการศึกษาโครงการเหล็กต้นน้ำมีแผนการลงทุน 2 แนวทาง ประกอบด้วยลงทุนในประเทศ กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยในประเทศได้ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี  และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ซึ่งจะเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นแบบเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ (อีโคทาว์น) อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมทั้ง ยกระดับชีวิตชุมชนผ่านกิจกรรมแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม(ซีเอสอาร์)และการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่นให้มากขึ้น
          ส่วนแนวทางการไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเช่น พม่าและกัมพูชาแทนในกรณีที่ไม่สามารถลงทุนในไทยได้ ซึ่งการไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านก็จะต้องพิจารณาเรื่องระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานเพิ่มเติม เช่น เครือข่ายไฟฟ้า การตัดถนนและระบบขนส่ง รวมทั้งแรงงานที่จะต้องมีแผนพัฒนาบุคลากรรองรับให้ชัดเจน
          “หลังจากที่ กอช. เห็นชอบแล้วก็จะเสนอให้ที่ประชุมครม. อนุมัติว่าจะเดินหน้าหรือไม่ หากไม่ทำอะไรเลยอีก 4-5 ปีข้างหน้า ก็ต้องดูว่าอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เหล็กมากจะแบกรับภาระต้นทุนนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศได้หรือไม่”
          ทั้งนี้ ในปี 58 ที่จะมีการเปิดประชาคมอาเซียนคาดว่าปริมาณความต้องการใช้เหล็กในภูมิภาคอาเซียนจะอยู่ที่ประมาณ 38 ล้านตัน ซึ่งมากกว่ากำลังการผลิตเหล็กทั้งในปัจจุบันและแผนในอนาคตรวมกันอีก แบ่งเป็นกำลังผลิตปัจจุบันอยู่ที่ 7-8 ล้านตัน และกำลังการผลิตเหล็กที่กำลังเกิดขึ้นใหม่ในเวียดนามและอินโดนีเซียรวม 22 ล้านตัน
          “ หลังดูจากปริมาณความต้องการใช้ของอาเซียนมากถึง 38 ล้านตันแล้ว  แต่หากไทยเกิดโครงการเหล็กต้นน้ำ 2 แห่งก็จะมีปริมาณเพียงพอ เพราะโรงถลุงเหล็ก 1 แห่งมีกำลังการผลิตขั้นต่ำ 5 ล้านตัน”

 

หมายเลขบันทึก: 412542เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2010 00:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท