นับดาวเรียนรู้ KM ปฏิบัติ ดวงที่ 4


เรียนรู้ การ Design กระบวนการเป็นวิทยากร KM

             ในวันที่  27  กรกฎาคม  2549  ผู้เขียนได้มีโอกาส ติดตาม ดร. ประพนธ์  ผาสุขยืด ไปให้ความรู้ เรื่อง การจัดการความรู้ กับ  ทีมงาน จาก โครงการส่งเสริมการให้เพื่อสังคม (สสส.) จำนวน 7 ท่าน  รวมถึง ทีมงาน จาก มูลนิธิกองทุนไทย จำนวน 4 ท่าน จัดขึ้นที่ ชั้น 15  ตึกที่ผู้เขียนนั่งทำงานนั่นเอง  งานนี้มี คุณฉันทลักษณ์  อาจหาญ  จาก สคส. ร่วมในคณะวิทยากรด้วย ใช้เวลาตั้งแต่ 09.30-15.00 น.

              ผู้เขียนขอเล่า AAR  ของตนเอง ดังต่อไปนี้

  1. เนื่องจากเย็น วันที่  26  กรกฎาคม  2549  อาจารย์ประพนธ์ เดินมาถามว่า วันรุ่งขึ้น มีใครอยู่บ้าง ? ที่จะติดตาม อาจารย์ไปเรียนรู้ การเป็นวิทยากร ซึ่งจะเป็นภาคชุมชน โดยฟังงานของเขา และเราก็เตรียมของเราไป  เป็นลักษณะ Un-plan   มีคุณอ้อม  บัดดี้ของผู้เขียน อยู่ในวงสนทนาด้วย เธอให้ความเห็นว่า "ใครติดตาม อาจารย์ประพนธ์ หรืออาจารย์วิจารณ์ไป ก็ย่อมได้เรียนรู้ทั้งนั้น ตามที่เขาจะเก็บได้"   ดังนั้นผู้เขียนจึงเป็น หนึ่งในผู้เรียนรู้นั้น  จริงๆ ผู้เขียนชอบ แบบไม่มีแผนอยู่แล้ว  เพราะทำแผนจนกลมกลืน(เลิกทำ) กลายเป็นพร้อมเผชิญทุกสถานการณ์ตามธรรมชาตินั่นเอง จะได้เนื้องานความสำเร็จมากกว่า  ผู้เขียนจึงตั้งวัตถุประสงค์ เพื่อ เรียนรู้ การ Design กระบวนการเป็นวิทยากร KM และพัฒนาการถ่ายทอดของตนเอง
  2. ผู้เขียนบรรลุวัตถุประสงค์  เพราะเราสัมผัสได้ว่า ผู้เข้าร่วม คลิ๊กความคิด ในหลากหลายประเด็น เขามีความสุข อาจารย์ประพนธ์ ก็ AAR เป็นลักษณะ เกิดการสอน KM สไตล์ใหม่สำหรับอาจารย์    สิ่งที่เกิดขึ้น เป็นลักษณะคล้าย อาจารย์ชวนคุย ไม่ใช่ เปิดสไลด์บรรยายตามที่ถนัดทั้งวัน ทีมวิทยากรช่วยกันเสริมเรื่องเล่าประสบการณ์ของตนเอง ตามประเด็นที่เกิดขึ้น เมื่อเขาสงสัย อาจารย์ก็บรรยายตามสไลด์ ให้พอเข้าใจ  เกิดบรรยากาศที่ดี  ผู้เข้าร่วม ได้ Share&Learn มีการซักถาม  ได้พูดทุกคน    คุณฉันทลักษณ์ เป็นคนนำ AAR ในช่วงบ่าย  พวกเรา ด้นกลอนสดกันทุกคน  เราทำตัวอย่างกระบวนการ KM แทรกเข้าไป โดยไม่บอกเขา  ถ้าเรามีข้อมูลที่จะบอกเขาเพื่อต่อยอดเรื่องงาน เราก็ทำทันที  นับว่าจบแล้ว ทุกท่านทั้งเราและเขาได้เกิดการเรียนรู้  รอการลงมือทำ เพื่อพิสูจน์ และทบทวนโดยตนเองเท่านั้น ก็จะช่วยยกระดับความคิดได้ไม่มากก็น้อย
  3. สิ่งที่ผู้เขียนได้มากกว่าคาดหวัง  คือ
    • การเรียนรู้ว่า ตอนนี้ วงการเรากำลังต้องการใช้ประโยชน์ List ของผู้เชี่ยวชาญเสียแล้ว  เช่น คุณทัศนีย์  จาก มูลนิธิกองทุนไทย ซึ่งทำงานด้านจัดอบรมพัฒนา กลุ่มเป้าหมายที่ดำเนินโครงการฯ  เปิดใจว่า...  เธอไปสอน และบอกชาวบ้านให้ช่วยเหลือตนเอง  แต่ไม่เกิดผล ตอนนี้เข้าใจแล้วว่า พลาดบางอย่างที่สำคัญไป มุ่งไปที่จัดอบรมให้ความรู้อย่างเดียว ซึ่งเขาไม่ฟัง เราควรจัดเวที ชื่นชม และมีการเล่าเรื่องมากกว่า ซึ่งยังทำน้อย  แต่เคยประสบกับตนเอง ว่าใช้ได้ผลดี    ผู้เขียนเสริมในวงสนทนาว่า  ผู้ว่านครศรีธรรมราช จะมีเรื่องเล่า ของวิธีการ คลิ๊กความคิดของชาวบ้าน ให้ช่วยตนเอง มากกว่า วิ่งมาให้ราชการช่วยเท่านั้น ท่านจึงทำเรื่องของกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง ที่สมบูรณ์และยั่งยืน ด้วยการเริ่มต้นที่สำเร็จและภาคภูมิใจ น่าจะ ลปรร. กับคุณทัศนีย์ แล้วได้ประโยชน์  เป็นต้น
    • หลังจากฟัง AAR ของผู้เข้าร่วมแล้ว ผู้เขียนเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ AAR ของผู้เข้าร่วมที่กรมทางหลวง ได้ข้อสรุปว่า  ต้องแยกแยะระดับผู้ฟัง เป็น ผู้ที่ทำงาน มีประสบการณ์ ได้ลงมือ ใช้ศักยภาพมากน้อยแล้วแต่.. ไประยะเวลาหนึ่ง จะต้องการเรียนรู้ KM ในภาคของ inner  เช่น การสร้างบรรยากาศ การนึกคิด  การมองเรื่องใกล้ตัวที่มองข้าม  การพัฒนาทักษะการฟัง พูด เขียน ฯลฯ  ในขณะที่ผู้ทำงาน ที่ยังมีประสบการณ์น้อย ยังต้องการเรียนรู้ KM  model   ตัวอย่าง workshop คล้าย training เครื่องมือ เพื่อเรียนรู้ system thinkin นั่นเอง เขาอาจพอเก็บประเด็นความคิดได้บ้าง    ยังไม่รวม ถึงสายวิชาชีพ และลักษณะงานที่ทำให้คนที่จะเรียนรู้ KM มีมุมมองในรูปแบบของตนเองติดอยู่เสมอ      ในรายละเอียดแล้วจำแนกได้มากกว่านี้ แต่ผู้เขียน ขี้เกียจเขียนแล้ว  บางทีลงมือทำยังง่ายกว่า พูด หรือเขียนเสียอีก (ใช้พลังงานที่จะได้ประสิทธิผลน้อยกว่า)
  4. ผู้เขียนจะนำสิ่งที่ได้รู้  ได้เรียนรู้ใหม่ สิ่งที่ได้เรียนรู้ต่อยอดไปใช้ต่อยอด การใช้ KM  ในเวลาถัดไปนี้อย่างแน่นอน    ผู้เขียนได้เขียนบันทึกฉบับนี้ จาก โจทย์ของ อาจารย์ประพนธ์  ตั้งแต่ยังไม่จบ session ( ตอนบันทึกหน้าที่ 6 ใน ทั้งหมด 8 หน้า )  ว่า " ให้เขียนบล็อก " และกำลังถ่ายทอดในขณะนี้   รู้สึกว่า ตนเองได้พัฒนาการเขียนด้วย เพราะเริ่มแยกแยะได้ละเอียดขึ้นมากกว่าเดิม เป็นตัวอักษร  ความคิดที่หลั่งไหลใช้กับการพูด ความคิดที่ไหลหลั่งใช้กับการเขียน ต้องรีบกลับไปพลิกคำสอน ว่าผู้เขียนเข้าใจกับตนเองแล้วถูกต้องหรือไม่?  ไม่ใช่แค่จำคำสอนอย่างเดียว
  5. สำหรับหัวข้อการปรับปรุง  ด้วยวัฒนธรรมเดิมของกลุ่มงาน และมี 2 กลุ่ม ผู้เขียนดีใจที่กลุ่มสำนึกและ AAR เองว่า พวกเราควร กล้า Share มากขึ้น เพราะจะได้ประโยชน์มากขึ้นนั่นเอง   ละเอียดกว่านี้ คือ นิ่งสงบได้มากกว่านี้ ก็ได้มากกว่านี้  ฟังได้มากกว่านี้ เรียนรู้ได้มากกว่านี้
  6. สิ่งที่ประทับใจและเป็นข้อคิด คือ กลุ่มสะท้อนความคิดเห็นในช่วงหนึ่ง  พอสรุปได้ว่า ...พวกเรา NGO กลุ่มทำงานเพื่อสังคม  จริงๆ ควรให้ความสำคัญกับ กระบวนการนึกคิด ที่มีชีวิตชีวา มีบรรยากาศที่ดี  อื่นๆ ที่เป็น KM ปฏิบัติ มีการมองความสำเร็จของงาน เป็นต้น  กลายเป็นว่า ทางภาคเอกชน  เอาเทคนิคนี้ไปใช้ในการทำงาน แต่ เราประชุมแบบแห้ง  อยู่กันแบบไม่มีเวลา คงต้องถามหาความสำเร็จ และการทำงานเชิงนามธรรมเป็นรูปธรรมนี้ คงต้องคิดลึกซึ้ง มากกว่าติด กับความรู้เชิงสังเคราะห์ ที่เหมาะเป็นตำราเรียน แต่หันมามองสิ่งที่มองข้าม ไม่เคยมอง หรือเคยมอง แต่ลืมมันไป  เอามันไปซุกไว้  เพราะ กระแส  สภาพการทำงานไปวันๆหนึ่ง  ทำให้เกิดการมองข้าม    ผู้เขียนดีใจ ชาวไทย คนไทย เริ่มโชคดีแล้ว  ถ้ากลุ่มผู้มีคุณวุฒิ และมีบทบาทผลักดันในสังคม  ซึ่งถือเป็นชนชั้น ระดับต้น ถูกปลุกให้ตื่น ท่านก็จะสร้างสรรค์ สิ่งที่ดีงามมากมาย ให้กับ ชนชั้นถัดลงไป   เพราะท่านได้คิด ก็จะคิดได้   ความสุข ความดี  ก็จะงอกงามในสังคมไทย  ตามที่  ศ.นพ. ประเวศ  วะสี  ให้ปัจฉิมโอวาท ไว้ในเวที UKM ครั้งที่ 3/2549 ที่ผ่านมา
หมายเลขบันทึก: 41252เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2006 09:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  •   ตามมาเรื่อยๆไม่รู้รำคาญหรือยัง
  • ได้ความรู้มากเลยครับ สนับสนุนการทำความดีเพื่อสังคมครับผม

  • Na-na-na-na




  • แปลกนะคะ ที่คุณขจิตทราบว่า คุณลิขิต มีข้อเสีย คือ ขี้รำคาญ สงสัย มีสัมผัส ที่ 6 KM ปฏิบัติ  คือ รู้สึกเหมือน คุณจะมี Competency เด่น อะไรซักอย่าง  ถ้าขุดค้นออกมาได้  ก็จะมีความโดดเด่น เป็นตัวของตัวเอง  ยังไม่ต้องถามต่อตอนนี้นะคะ เพราะยังไม่ถึงเวลา 
  • "หนทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน"
  • อย่างน้อย คุณก็มี Commitment ตั้งแต่อ่านพบฉบับแรก ว่าคุณจะอ่านทุกฉบับ และยังมาแถม Comment ให้ด้วย...
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท