ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

บทความ เด็กกับเหล้า


หลายประเทศก็มีปัญหาดังกล่าว แล้วจะไปห้ามไม่ให้ดื่มก็ไม่ได้ ดังนั้นจะเห็นว่ามีการ รณรงค์เรื่องของการดื่มเหล้า เช่น เมาแล้วไม่ขับ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการดื่มเหล้า ฯลฯ จากหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น สสส.(สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุข และ เครือข่ายของภาครัฐและเอกชน แต่ก็ไม่สามารถหยุดหรือแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ แต่ก็ยังดีที่หน่วยงานต่างๆได้ช่วยกันทำ เพราะบางช่วงเวลา ช่วยลดความเสียหายบางอย่างได้ เช่น อุบัติเหตุในช่วงสงกรานต์ ช่วงปีใหม่ ฯลฯ อย่างไรเสีย คงต้องขอฝากผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไว้ ด้วย เพราะปัญหานี้เกี่ยวข้องกับเด็ก

เด็ก กับ เหล้า

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

www.drsuthichai.com

                            ผลวิจัยพบเด็กไทยดื่มเหล้าตั้งแต่ 7 ขวบ (จาก นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันจันทร์ ที่ 07 กันยายน 2552) เมื่อวันที่ 6 ก.ย. ดร.ศรีรัช ลาภใหญ่ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า การศึกษา การรับรู้ ทัศนคติ ต่อการมีส่วนร่วมของเยาวชนต่อการยับยั้งปัญหาและพฤติกรรมการบริโภคเครื่อง ดื่มแอลกอฮอล์ในครอบครัว สำรวจเมื่อวันที่ 1-31 ก.ค.ที่ผ่านมา

                      กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 2-6 จำนวน 1,583 คน พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 43% ยอมรับว่าเคยลองดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว ซึ่งน่าเป็นห่วงมากเพราะผู้ที่ให้ลองคือ บิดา หรือคนในครอบครัว สำหรับอายุเฉลี่ยที่เริ่มดื่มคือ 9 ขวบ ขณะที่อายุต่ำสุดที่เคยดื่มเพียงแค่ 7 ขวบเท่านั้น และยังพบว่าเด็ก 65% เคยไปซื้อด้วยตนเอง โดยผู้ขายยอมขายทั้งที่รู้ว่าผิดกฎหมาย 55% “ที่สำคัญพบว่าเด็ก 100% รู้จักกับสินค้าเหล้าปั่น เบียร์ เบียร์ปั่น เป็นอย่างดีสามารถแยกแยะยี่ห้อได้โดยรู้จักจาก 1.โฆษณา 2.สื่อตามร้านค้าร้านอาหาร 3.เห็นของจริง 4.เคยถูกใช้ไปซื้อ 5.เคยดื่มแล้ว โดยกลุ่มตัวอย่าง 59% บอกว่าอยากลองดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเด็กอยากลองมากที่สุด คือ 1.เบียร์ 2.เหล้าปั่น 3.เบียร์ปั่น สินค้าใหม่มีขายตามร้านขายน้ำผลไม้ปั่น และมีเด็กยอมรับว่าเคยดื่มเหล้าปั่นด้วยตัวเองโดยไม่มีผู้ใหญ่พาไป และคิดว่าเหล้าปั่นไม่ใช่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

                  ซึ่งเป็นความเชื่อและความคิดที่อันตรายมากเพราะร้านเหล่านี้อยู่ในชุมชนไม่ ห่างจากโรงเรียน และอยู่รวมกับร้านขายน้ำหวาน น้ำผลไม้ มีแผงลอย รถเร่ ขายอยู่ทั่วไป ทำให้เด็กเข้าถึงได้ง่าย” จากข้อมูลข้างต้นมีความเป็นจริงมากทีเดียว จึงทำให้กระผมมีความเป็นห่วง เด็กและเยาวชนไทยเป็นอย่างยิ่ง เกี่ยวกับสิ่งเสพติดประเภทแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะเป็น เบียร์ เหล้า ไวน์และที่มีส่วนประสมจากแอลกอฮอล์ 2-3 เดือนก่อนมีข่าวเรื่องการแฉคลิปเด็ดล่อซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บริเวณร้านค้าข้างรั้ว 10 มหาวิทยาลัยดัง

                โดย ขายเหล้าเบียร์ให้แก่เด็กนักเรียน นักศึกษา ในชุดนักเรียน นักศึกษาอย่างโจ๋งครึ๋ม รวมทั้งมีการขายในหอพักนักเรียน นิสิต นักศึกษาอีกต่างหาก ซึ่งกระผมก็ได้เขียนบทความถึงด้วยความเป็นห่วง รวมทั้งให้ทุกฝ่ายร่วมด้วยช่วยกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่ว่า สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน รัฐบาล และผู้ปกครอง และฝากรัฐบาลช่วยดูแลเรื่องของ ร้านเกมส์ อาบอบนวด และร้านคาราโอเกะ ใกล้สถานศึกษา แต่เมื่อกระผมมาเจอข่าวและผลการวิจัยของ ดร.ศรีรัช ลาภใหญ่ กระผมยิ่งมีความหนักใจและน่าเป็นห่วงมากยิ่งขึ้น

              เพราะเด็กเหล่านี้ยังเล็กมาก ถ้าเราไม่แก้ไขหรือหยุดยั้ง เด็กเหล่านี้เมื่อโตขึ้นก็จะเป็นนักดื่มกันต่อไปและปัญหาต่างๆ ก็จะมากขึ้นตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใช้ความรุนแรง เรื่องของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการเมาแล้วขับ เรื่องของการเรียน เรื่องของครอบครัว เรื่องของเศรษฐกิจ เรื่องเพศสัมพันธ์ และต่อเนื่องไปใช้หรือเสพยาเสพติดประเภทอื่นๆ

               การแก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเหล้า หรือเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ นับว่าเป็นปัญหาที่แก้ไขยากมากเพราะเป็นปัญหาที่มีมานานมากแล้ว ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยเรา หลายประเทศก็มีปัญหาดังกล่าว แล้วจะไปห้ามไม่ให้ดื่มก็ไม่ได้ ดังนั้นจะเห็นว่ามีการ รณรงค์เรื่องของการดื่มเหล้า เช่น เมาแล้วไม่ขับ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการดื่มเหล้า ฯลฯ จากหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น สสส.(สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุข และ

            เครือข่ายของภาครัฐและเอกชน แต่ก็ไม่สามารถหยุดหรือแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ แต่ก็ยังดีที่หน่วยงานต่างๆได้ช่วยกันทำ เพราะบางช่วงเวลา ช่วยลดความเสียหายบางอย่างได้ เช่น อุบัติเหตุในช่วงสงกรานต์ ช่วงปีใหม่ ฯลฯ อย่างไรเสีย คงต้องขอฝากผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไว้ ด้วย เพราะปัญหานี้เกี่ยวข้องกับเด็ก และเด็กก็คือกองกำลังของชาติในอนาคต ถ้ากองกำลังของชาติขาดความเข้มแข็ง ถ้ากองกำลังของชาติติดเหล้า ติดสิ่งเสพติด และมีสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอ แล้วประเทศไทยของเราจะไปแข่งขันกับประเทศไหนได้ครับ

คำสำคัญ (Tags): #สังคม
หมายเลขบันทึก: 412206เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2010 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท