กฏหมายอิสลาม ตอน 4


เงื่อนไขของฝ่ายชาย (เจ้าบ่าว) เงื่อนไขของฝ่ายหญิง (เจ้าสาว) และเงื่อนไขอื่นๆ

เงื่อนไขของฝ่ายชาย  (เจ้าบ่าว)

ฝ่ายชายต้องมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1)      เป็นบุคคลที่ศาสนาอนุญาตให้ฝ่ายหญิงสมรสด้วย  กล่าวคือ  ต้องไม่เป็นบุคคลที่ห้ามมิให้ฝ่ายหญิงสมรสด้วย  (مُحْرَمٌ)

2)      ต้องเป็นบุคคลที่ถูกเจาะจงตัว  (مُعَيَّنٌ)

3)      ต้องไม่อยู่ในภาวะของการครองอิหฺรอม  หัจญ์หรืออุมเราะฮฺ 

 

เงื่อนไขของฝ่ายหญิง  (เจ้าสาว)

ฝ่ายหญิงต้องมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1)    ปราศจากข้อห้ามในการสมรสด้วย  กล่าวคือ  ต้องไม่เป็นบุคคลที่ห้ามมิให้ฝ่ายชายสมรสด้วย  (مُحْرَمَةٌ)  หรือเป็นภรรยาของชายอื่นหรืออยู่ในช่วงการครองตน 

2)      เป็นบุคคลที่ถูกเจาะจงตัว  (مُعَيَّنَةٌ)

3)      ต้องไม่อยู่ในภาวะของการครองอิหฺรอมหัจญ์หรืออุมเราะฮฺ 

อนึ่ง  ไม่อนุญาตสำหรับชายมุสลิมในการสมรสกับสตรีที่ตั้งภาคี  (مُشْرِكَةٌ)  หรือสตรีที่สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม  (مُرْتَدَّةٌ)  และไม่อนุญาตให้สตรีมุสลิมะฮฺสมรสกับชายผู้ปฏิเสธ  (كَافِرٌ)  หรือชายที่เป็นชาวคัมภีร์  (يَهُوْدِيٌّ-نَصْرَانِيٌّ)   ในกรณีของสตรีที่เป็นชาวคัมภีร์  يَهُوْدِيّةٌ-نَصْرَانِيَّةٌ))  นั้นอนุญาตให้ชายมุสลิมนิกาหฺกับนางได้ โดยมีเงื่อนไขว่านางต้องยึดถือในศาสนาแห่งชาวคัมภีร์ตามบรรพบุรุษของนางก่อนหน้าการบิดเบือนหลักคำสอนในศาสนาทั้งสองนั้น  โดยการนิกาหฺกับนางไม่มีผลทำให้นางเป็นมุสลิมะฮฺแต่อย่างใด 

 

เงื่อนไขและคุณสมบัติของผู้ปกครองฝ่ายหญิง

ผู้ปกครองฝ่ายหญิง  (وَلِيٌّ)  หมายถึง  ชายผู้ทรงสิทธิในการประกอบพิธีนิกาหฺให้แก่ฝ่ายหญิง  ทั้งนี้  ห้ามมิให้สตรีประกอบพิธีนิกาหฺตนเองหรือบุคคลอื่นโดยไม่มีผู้ปกครอง   และถึงแม้ว่าผู้ปกครองจะยินยอมก็ตาม  ดังนั้นการประกอบพิธีนิกาหฺจึงต้องผ่านทางผู้ปกครอง เท่านั้น

สำหรับฝ่ายชายมีสิทธิประกอบพิธีนิกาหฺด้วยตนเอง  หรือมอบให้ชายอื่นทำหน้าแทนตนได้  ฝ่ายชายจำต้องมีผู้ปกครองก็ต่อเมื่อยังไม่บรรลุศาสนภาวะ หรือบรรลุศาสนภาวะแล้ว แต่วิกลจริต

หลักฐานที่บ่งชี้ว่าจำเป็นต้องมีผู้ปกครองในการทำพิธีนิกาหฺฝ่ายหญิงคือ  อัล-กุรฺอาน  ดังที่ปรากฎว่า  : 

#sŒÎ)ur ãLäêø)¯=sÛ uä!$|¡ÏiY9$# z`øón=t6sù £`ßgn=y_r& Ÿxsù  £`èdqè=àÒ÷ès?

br& z`ósÅ3Ztƒ £`ßgy_ºurø—r& #sŒÎ) (#öq|ʺts? NæhuZ÷t/ Å$rã÷èpRùQ$$Î/ 3  ...... ÇËÌËÈ

 

ความว่า“และเมื่อสูเจ้าทั้งหลายได้หย่าบรรดาสตรี  (ผู้เป็นภริยา)  แล้วพวกนางก็ถึงกำหนดเวลา  (อิดดะฮฺ)  ของพวกนาง  สูเจ้าทั้งหลายอย่าห้ามพวกนางในการจะนิกาหฺกับบรรดาสามีของพวกนาง  เมื่อพวกเขามีความพึงพอใจระหว่างกันโดยชอบธรรม ...” 

(สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ  อายะฮฺที่  232)

อิหม่ามอัช-ชาฟิอียฺ    กล่าวว่า  :  อายะฮฺนี้เป็นหลักฐานที่บ่งชัดที่สุดถึงการพิจารณาบทบาทสำคัญของผู้ปกครอง    ทั้งนี้เพราะหากผู้ปกครองไม่มีบทบาทที่สำคัญในการทำพิธีนิกาหฺแล้ว  การห้ามของผู้ปกครองก็ย่อมไม่มีความหมายแต่อย่างใด 

ส่วนหลักฐานจากอัล-หะดีษ  คือ รายงานจากท่านอบูมูซา  อัล-อัชอะรียฺ    ว่า  นบีมุฮัมมัด   กล่าวว่า  :

"لاَ نِكَاحَ إِلاَّبِوَلِيّ"

ความว่า “ย่อมไม่มีการนิกาหฺนอกจากต้องมีผู้ปกครอง”

(รายงานโดยอัต-ติรฺมิซียฺ  )

               

และอัล-หะดีษ ดังที่ปรากฎว่า  : 

"  لاَ نِكَاحَ إِلاَّبِوَلِيٍّ  وَشَاهِدَيْ عَدْلٍ  ،  وَمَاكَانَ مِنْ نِكَاحٍ عَلى

غير ذلِكَ فَهُوَ بَاطِلٌ  "

               ความว่า  “ย่อมไม่มีการนิกาหฺ  (คือการนิกาหฺใช้ไม่ได้)  นอกจากด้วยการมีผู้ปกครอง   และพยานที่มีความยุติธรรมสองคน  การนิกาหฺใดที่ไม่ได้เป็นไปตามนั้น  การนิกาหฺนั้นถือเป็นโมฆะ”

(รายงานโดยอบูดาวูด)

 

ผู้ปกครองฝ่ายหญิงต้องมีคุณสมบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ 

                1.   เป็นมุสลิม        ดังนั้นจึงไม่อนุญาตให้ชายต่างศาสนิกประกอบพิธีนิกาหฺให้แก่สตรีมุสลิมะฮฺ

                2.  มีความยุติธรรม  กล่าวคือ  ต้องไม่เป็นผู้ประพฤติบาปใหญ่หรือประพฤติบาปเล็กเป็นนิจศีล  ดังนั้นชายผู้ฝ่าฝืน  (فَاسِقٌ)จะเป็นผู้ปกครองในการประกอบพิธีนิกาหฺให้แก่สตรีมุสลิมะฮฺมิได้  โดยสิทธิในการเป็นผู้ปกครองจะย้ายไปยังผู้ปกครองในลำดับถัดไป  ถ้าหากผู้ปกครองในลำดับถัดไปเป็นผู้มีความยุติธรรม

                3.  บรรลุศาสนภาวะ  ดังนั้นผู้ที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะย่อมไม่มีสิทธิในการเป็นผู้ปกครองในการประกอบพิธีนิกาหฺ

                4.  มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์  ดังนั้นผู้วิกลจริตจึงไม่มีสิทธิในการเป็นผู้ปกครองในการประกอบพิธีนิกาหฺ

                5.  ปราศจากข้อตำหนิที่ทำให้การพิจารณาบกพร่อง  เช่น  ชราภาพจนเลอะเลือน  หรือมีจิตฟั่นเฟือน  เป็นต้น

                6.  ไม่เป็นผู้ถูกจำกัดสิทธิเนื่องด้วยการใช้จ่ายทรัพย์ที่สุรุ่ยสุร่าย

                7.  ไม่เป็นทาส

                8.   เป็นชาย

                9.  ต้องไม่อยู่ในภาวะของผู้ครองอิหฺรอมหัจญ์หรืออุมเราะฮฺ

                ฉะนั้น เมื่อผู้ปกครองขาดคุณสมบัติข้อหนึ่งข้อใดตามเงื่อนไขข้างต้น  สิทธิในการเป็นผู้ปกครองจะย้ายไปยังผู้มีสิทธิเป็นผู้ปกครองในลำดับถัดไป  ยกเว้นในกรณีที่ผู้ปกครองอยู่ในภาวะของผู้ครองอิหฺรอม  สิทธิในการเป็นผู้ปกครองจะไม่ย้ายไปยังผู้มีสิทธิเป็นผู้ปกครองในลำดับถัดไป  แต่สิทธิในการประกอบพิธีนิกาหฺนั้นจะย้ายไปยังผู้ปกครองรัฐมุสลิม  (سُلْطَانُ) 

 

ลำดับของผู้ปกครองฝ่ายหญิง (وَلِيٌّ)  

ลำดับผู้ปกครองฝ่ายหญิง มีดังนี้

1)  บิดา

2)  ปู่  (คือบิดาของบิดา) 

3)  พี่ชายหรือน้องชาย  ที่ร่วมบิดามารดา

4)  พี่ชายหรือน้องชาย  ที่ร่วมแต่บิดา

5)  บุตรชายของพี่ชายหรือน้องชาย  ที่ร่วมบิดามารดา

6)  บุตรชายของพี่ชายหรือน้องชาย  ที่ร่วมแต่บิดา

7)  พี่ชายหรือน้องชายของบิดา  ที่ร่วมบิดามารดา

­8)  พี่ชายหรือน้องชายของบิดา  ที่ร่วมแต่บิดา

9)  บุตรชายของพี่ชายหรือน้องชายบิดา  ที่ร่วมบิดามารดา

10)  บุตรชายของพี่ชายหรือน้องชายบิดา  ที่ร่วมแต่บิดา

11)  ทายาทชายที่รับมรดกกันได้  ตามศาสนบัญญัติ

12)  ประมุขของรัฐมุสลิม  (سُلْطَانٌ)  หรือผู้มีอำนาจ (حَاكِمٌ)  คือ  ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากประมุขของรัฐมุสลิมให้มีตำแหน่งเป็นผู้ชี้ขาดหรือตัดสินคดีความโดยทั่วไป  บางครั้งก็เรียกว่า กอฎี

 

ประเภทของการเป็นผู้ปกครอง  (اَلْوِلاَيَةُ) 

การเป็นผู้ปกครอง ในการประกอบพิธีนิกาหฺ มี  2  ประเภท  คือ

1)  การเป็นผู้ปกครองโดยมีสิทธิบังคับ  (وِلاَيَةُ الإِجْبَارِ)  การเป็นผู้ปกครองประเภทนี้เป็นสิทธิเฉพาะของผู้เป็นบิดาของฝ่ายหญิงและบิดาของบิดาฝ่ายหญิง  (ปู่)  เท่านั้น  ผู้ปกครองในลำดับอื่น  ไม่มีสิทธิ  กล่าวคือ  บุคคลทั้งสองมีสิทธิในการประกอบพิธีนิกาหฺให้แก่ฝ่ายหญิง  โดยไม่ต้องขออนุญาตฝ่ายหญิงก็ได้  อย่างไรก็ตามส่งเสริมให้บุคคลทั้งสองขออนุญาตฝ่ายหญิงในการนิกาหฺนางเสียก่อน เพื่อเป็นการให้เกียรติและรักษาน้ำใจของนาง

2)  การเป็นผู้ปกครองโดยมีสิทธิเลือก  (وِلاَيَةُ الإِخْتِيَارِ)  คือ การเป็นผู้ปกครองของผู้ปกครองตามลำดับที่กล่าวมาทั้งหมดในการปะกอบพิธีนิกาหฺให้แก่สตรีที่ผ่านการสมรสแล้ว  ซึ่งผู้ปกครอง  (ถึงแม้ว่าจะเป็นบิดา)  ย่อมไม่มีสิทธิในการประกอบพิธีนิกาหฺให้แก่นาง  เว้นเสียแต่ด้วยการอนุญาตและความพอใจของนางเท่านั้น 

 

คุณสมบัติและเงื่อนไขของพยานในพิธีนิกาหฺ

     การประกอบพิธีนิกาหฺนั้นต้องกระทำต่อหน้าพยานตั้งแต่สองคนขึ้นไป  จึงจะมีผลสมบูรณ์ตามหลักการศาสนา  ซึ่งพยานแต่ละคนนั้นจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้  คือ

1)      เป็นมุสลิม  ดังนั้นการประกอบพิธีนิกาหฺโดยมีพยานที่มิใช่มุสลิมจึงใช้ไม่ได้

2)      เป็นชาย  การประกอบพิธีนิกาหฺโดยมีพยานเป็นหญิงหลายคนหรือชายหนึ่งคนร่วมกับหญิงสองคน ถือว่าใช้ไม่ได้

3)      มีสติสัมปชัญญะ

4)      บรรลุศาสนภาวะ  การประกอบพิธีนิกาหฺโดยมีบรรดาคนบ้าหรือวิกลจริตและเด็ก ๆ เป็นพยานรับรู้เท่านั้นจึงใช้ไม่ได้

5)    มีความยุติธรรม  แม้เพียงภายนอกก็ตาม  ดังนั้นการประกอบพิธีนิกาหฺโดยมีพยานรับรู้ที่เป็นคนชั่วซึ่งประพฤติชั่วโดยชัดเจนจึงใช้ไม่ได้

6)      ไม่หูหนวกและตาบอด

7)      เป็นเสรีชน  มิใช่ทาส

8)      มีจำนวน  2  คนขึ้นไป  (โดยไม่นับผู้ปกครองฝ่ายหญิงในขณะประกอบพิธีนิกาหฺ)

9)    พยานทั้ง  2  คนต้องเข้าใจในความหมายของภาษาที่ใช้ในการประกอบพิธีนิกาหฺ  ทั้งนี้เพราะเป้าหมายจากการเป็นพยานนั้นคือเข้าใจคำพูดของผู้ทำข้อตกลงในการประกอบพิธีนิกาหฺของทั้งสองฝ่าย 

 

การกล่าวคำเสนอ  (إِيْجَابٌ)  และคำสนองรับ  (قَبُوْلٌ) 

การกล่าวคำเสนอ (إِيْجَابٌ)  คือ การเปล่งวาจาเสนอการนิกาหฺของผู้ปกครองฝ่ายหญิง  แล้วแต่กรณี  เช่น  ผู้ปกครองฝ่ายหญิงกล่าวกับเจ้าบ่าวในขณะประกอบพิธีนิกาหฺว่า  :  “ฉัน  นิกาหฺ.....(ชื่อเจ้าสาว) ...กับท่าน”   หรือ  “ฉันนิกาหฺบุตรีของฉันแก่ท่าน”  เป็นต้น

การกล่าวคำสนองรับ  (قَبُوْلٌ)  คือ  การเปล่งวาจาสนองรับการนิกาหฺของฝ่ายชาย  ตัวแทนฝ่ายชายหรือผู้ปกครองฝ่ายชาย ในกรณีที่ฝ่ายชาย (เจ้าบ่าว)ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ  หรือ  วิกลจริต  แล้วแต่กรณี  เช่น  ฝ่ายชาย  (เจ้าบ่าว)  กล่าวตอบผู้ปกครองฝ่ายหญิงในการประกอบพิธีนิกาหฺว่า  “ฉันนิกาหฺ”  หรือ  “ฉันรับการนิกาหฺบุตรีของท่าน”  เป็นต้น

 

เงื่อนไขในการกล่าวคำเสนอ (إِيْجَابٌ)  และคำสนองรับ  (قَبُوْلٌ) มีดังนี้

1)  ต้องใช้ถ้อยคำที่บ่งถึงการนิกาหฺ คือคำว่า  “اَلتَّزْوِيْجُ”  หรือ  “اَلإِنْكَاحُ”  และคำที่แตกมาจากถ้อยคำทั้งสอง

2)  ต้องใช้ถ้อยคำที่บ่งถึงการนิกาหฺโดยชัดเจน

3)  การกล่าวคำเสนอ    และคำสนองรับ   ต้องติดต่อกัน  กล่าวคือ  ต้องไม่มีสิ่งอื่นมาคั่นกลางระหว่างการกล่าวคำเสนอ    และคำสนองรับ 

4)  คุณสมบัติของผู้ประกอบพิธีนิกาหฺทั้ง  2  ฝ่าย  จะต้องคงอยู่จวบจนการกล่าวคำสนองรับ เสร็จสิ้น

5)  ถ้อยคำทั้งสองต้องเบ็ดเสร็จลุล่วง  กล่าวคือ  ต้องไม่อ้างอิงการทำข้อตกลงยังเวลาอนาคตหรือมีเงื่อนไขผูกพัน

6)  ถ้อยคำทั้งสองต้องไม่มีกำหนดเวลา

 

อนึ่งการประกอบพิธีนิกาหฺด้วยภาษาอื่นที่มิใช่ภาษาอาหรับแต่มีความหมายในการแปลเหมือนกัน ถือว่าใช้ได้

 

หมายเลขบันทึก: 411009เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2010 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
นางสาวนัสรีน หวังมานะ นางสาวแพรวพโยม วริศราภูริชา นางสาวณัฐธิดา สมานแก้ว ม.5/1

1) เป็นมุสลิม ดังนั้นการประกอบพิธีนิกาหฺโดยมีพยานที่มิใช่มุสลิมจึงใช้ไม่ได้

2) เป็นชาย การประกอบพิธีนิกาหฺโดยมีพยานเป็นหญิงหลายคนหรือชายหนึ่งคนร่วมกับหญิงสองคน ถือว่าใช้ไม่ได้

3) มีสติสัมปชัญญะ

4) บรรลุศาสนภาวะ การประกอบพิธีนิกาหฺโดยมีบรรดาคนบ้าหรือวิกลจริตและเด็ก ๆ เป็นพยานรับรู้เท่านั้นจึงใช้ไม่ได้

5) มีความยุติธรรม แม้เพียงภายนอกก็ตาม ดังนั้นการประกอบพิธีนิกาหฺโดยมีพยานรับรู้ที่เป็นคนชั่วซึ่งประพฤติชั่วโดย ชัดเจนจึงใช้ไม่ได้

6) ไม่หูหนวกและตาบอด

7) เป็นเสรีชน มิใช่ทาส

8) มีจำนวน 2 คนขึ้นไป (โดยไม่นับผู้ปกครองฝ่ายหญิงในขณะประกอบพิธีนิกาหฺ)

9) พยานทั้ง 2 คนต้องเข้าใจในความหมายของภาษาที่ใช้ในการประกอบพิธีนิกาหฺ ทั้งนี้เพราะเป้าหมายจากการเป็นพยานนั้นคือเข้าใจคำพูดของผู้ทำข้อตกลงในการ ประกอบพิธีนิกาหฺของทั้งสองฝ่าย

ร็อบใบ มันหมาด เลขที่ 23 ชรินทร์ฤทธิ์ ช่างเรือ เลขที่ 10 ฮาริสหมาดหนุด เลขที่ 26 ชนกานต์ ชูเลิศ เลขที่ 3

การแต่งงานจะแต่งงานกันได้ประกอบด้วยคนจำนวนกี่คน ใครบ้าง

ตอบ สองคนขึ้นไป คือ วะลี เจ้าบ่าว เจ้าสาว และพยานสองคน

นายอามีน หมาดสกุล นายฟูรกรณ์ เจะแม นายชนการน์ ชูเลิศ นายฟาริส สะมะแอ ม.5/1

1) เป็นมุสลิม

2) เป็นชาย

3) มีสติสัมปชัญญะ

4) บรรลุศาสนภาวะ

5) มีความยุติธรรม

6) ไม่หูหนวกและตาบอด

7) เป็นเสรีชน มิใช่ทาสรีชน มิใช่ทาส

8) มีจำนวน 2 คนขึ้นไป

9) พยานทั้ง 2 คนต้องเข้าใจในความหมายของภาษาที่ใช้ในการประกอบพิธีนิกาหฺ

ฟูรกรณ์ เจะแม เลขที่ 22

การแต่งงานจะแต่งงานกันได้ประกอบด้วยคนจำนวนกี่คน ใครบ้าง

ตอบ สองคนขึ้นไป คือ วะลี เจ้าบ่าว เจ้าสาว และพยานสองคน

นิติพร วราชิต ม.5/1 เลขทื่ 18 นายณัฐดนัย มังกะลัง ม.5/1 เลขที่ 7 นาย พัชรพล นิภา เลขที่ 8

1) เป็นมุสลิม

2) เป็นชาย

3) มีสติสัมปชัญญะ

4) บรรลุศาสนภาวะ

5) มีความยุติธรรม

6) ไม่หูหนวกและตาบอด

7) เป็นเสรีชน มิใช่ทาสรีชน มิใช่ทาส

8) มีจำนวน 2 คนขึ้นไป

9) พยานทั้ง 2 คนต้องเข้าใจในความหมายของภาษาที่ใช้ในการประกอบพิธีนิกาหฺ

นาย พีระพงศ์ อบทอง เลขที่ 20 นส.อริสรา ประทาน เลขที่ 14 นาย นพดล หมัดอาดัม เลขที่ 17 นาย อัชอารีย์ บิลละเตะ เลขที่ 24 ม 5/1

1) เป็นมุสลิม ดังนั้นการประกอบพิธีนิกาหฺโดยมีพยานที่มิใช่มุสลิมจึงใช้ไม่ได้

2) เป็นชาย การประกอบพิธีนิกาหฺโดยมีพยานเป็นหญิงหลายคนหรือชายหนึ่งคนร่วมกับหญิงสองคน ถือว่าใช้ไม่ได้

3) มีสติสัมปชัญญะ

4) บรรลุศาสนภาวะ การประกอบพิธีนิกาหฺโดยมีบรรดาคนบ้าหรือวิกลจริตและเด็ก ๆ เป็นพยานรับรู้เท่านั้นจึงใช้ไม่ได้

5) มีความยุติธรรม แม้เพียงภายนอกก็ตาม ดังนั้นการประกอบพิธีนิกาหฺโดยมีพยานรับรู้ที่เป็นคนชั่วซึ่งประพฤติชั่วโดย ชัดเจนจึงใช้ไม่ได้

6) ไม่หูหนวกและตาบอด

7) เป็นเสรีชน มิใช่ทาส

8) มีจำนวน 2 คนขึ้นไป (โดยไม่นับผู้ปกครองฝ่ายหญิงในขณะประกอบพิธีนิกาหฺ)

9) พยานทั้ง 2 คนต้องเข้าใจในความหมายของภาษาที่ใช้ในการประกอบพิธีนิกาหฺ ทั้งนี้เพราะเป้าหมายจากการเป็นพยานนั้นคือเข้าใจคำพูดของผู้ทำข้อตกลงในการ ประกอบพิธีนิกาหฺของทั้งสองฝ่าย

นาย พีระพงศ์ อบทอง เลขที่ 20 นส.อริสรา ประทาน เลขที่ 14 นาย นพดล หมัดอาดัม เลขที่ 17 นาย อัชอารีย์ บิลละเตะ เลขที่ 24 ม 5/1

น.ส.ฟารีดา หะยีอาลี 5/1 เลขที่31

คุณสมบัติและเงื่อนไขของพยานในพิธีนิกาหฺ

การประกอบพิธีนิกาหฺนั้นต้องกระทำต่อหน้าพยานตั้งแต่สองคนขึ้นไป จึงจะมีผลสมบูรณ์ตามหลักการศาสนา พยานแต่ละคนนั้นจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

1) เป็นมุสลิม ดังนั้นการประกอบพิธีนิกาหฺโดยมีพยานที่มิใช่มุสลิมจึงใช้ไม่ได้

2) เป็นชาย

3) มีสติสัมปชัญญะ

4) บรรลุศาสนภาวะ ไม่ใช่คนบ้าหรือวิกลจริตและเด็ก ๆ เป็นพยานรับรู้เท่านั้นจึงใช้ไม่ได้

5) มีความยุติธรรม พยานที่เป็นคนดี

6) ไม่หูหนวกและตาบอด

7) เป็นเสรีชน มิใช่ทาส

8) มีจำนวน 2 คนขึ้นไป

9) พยานทั้ง 2 คนต้องเข้าใจในความหมายของภาษาที่ใช้ในการประกอบพิธีนิกาหฺ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท