KM_MSU
KM_MSU มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ความเป็นมาและกิจกรรม Mini_UKM


โครงการเสวนาสมาชิกเครือข่ายองค์กรการเรียนรูเพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา

(Mini University Knowledge Management Network: Mini_UKM)

ความเป็นมา

โครงการเสวนาสมาชิกเครือข่ายองค์กรการเรียนรูเพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา (Mini_UKM) กำเนิดมาจากเจตนารมณ์ ของโครงการเสวนาสมาชิกเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย (UKM) ซึ่ง ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช และ ศาสตราจารย์คลินิก อภิชาติ ศิวยาธร ที่ได้สานสร้าง UKM ขึ้นมาตั้งแต่ ปลายปี 2547 โดยได้กำหนดเป็นข้อตกลงร่วมกันว่า จะไม่มีการขยายเครือข่าย UKM ต่อไป เนื่องจากถ้ามีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จะส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีผลต่อองค์ความรู้ที่ได้รับ โดยจะจัดเพียงหนึ่งวันครึ่งเท่านั้น แต่สมาชิก UKM สามารถขยายผลสร้างเครือข่ายต่อไปได้ ดังเช่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงร่วมกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ตกลงร่วมกันเพื่อสร้าง “เครือข่ายองค์กรการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา” เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2550 โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาคุณภาพตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้ชื่อว่า “เครือข่ายองค์กรการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา” หรือ Mini_UKM  ซึ่งได้มีการดำเนินกิจกรรมเพื่อการขยายผลสู่สถาบันอุดมศึกษาในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง  

สมาชิกเครือข่าย ประกอบด้วย 7 มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยพายัพ แต่มหาวิทยาลัยพายัพได้ถอนตัวจากเครือข่ายเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 จึงเหลือสมาชิกเครือข่าย 6 มหาวิทยาลัย

หมายเหตุ : เนื่องจากยังไม่ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงมีมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการในแต่ละครั้งแตกต่างกัน

กิจกรรมการดำเนินงาน

 Mini_UKM 1 (1/2551)          

หัวปลา :    มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,

                 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ สกอ. ร่วมกันจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติ

                 การ “การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ระดับอุดมศึกษา”

ระหว่างวันที่ :  25-26 มกราคม 2551

สถานที่ :    มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

เจ้าภาพ :   มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

วิทยากร :   ศ. นพ. วุฒิชัย ธนาพงศธร,  ศ. ดร. กิตติชัย วัฒนานิกร,

                  รศ. นพ. จิตเจริญ  ไชยาคำ

รูปแบบกิจกรรม :   สัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ 

                  ในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ในระดับอุดมศึกษา

เป้าหมาย :  ผู้บริหารระดับสถาบัน ผู้รับผิดชอบเรื่องการประกันคุณภาพ

                  การศึกษา และผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา

มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม :   มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

                  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และตัวแทนจาก 30 มหาวิทยาลัยที่อยู่

                  ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  

6-9 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ศึกษาดูงาน:  ศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

                  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ มหาวิทยาลัยนครพนม กับ

                  Singapore Management University และ SIM University

                  Tenage Nasional (UNITEN) 

หัวปลา:      การประกันคุณภาพการศึกษาและการจัดการความรู้

ระหว่างวันที่ : 6-9 ตุลาคม พ.ศ. 2551

สถานที่       ณ ประเทศสิงคโปร์ และประเทศมาเลเซีย 

Mini_UKM 2 (2/2551)          

หัวปลา :     การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และ

                  การพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมิน

ระหว่างวันที่ :  23 – 25 ตุลาคม 2551

สถานที่ :     ณ เขื่อนสิรินธร อําเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

เจ้าภาพ :    มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

วิทยากร :    ศ. นพ. วุฒิชัย ธนาพงศธร และ รศ. นพ.  จิตเจริญ  ไชยาคำ

รูปแบบกิจกรรม :   เข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หาแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนา

                   ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และ การพัฒนาตัวบ่งชี้

                   และเกณฑ์การประเมิน

กลุ่มเป้าหมาย :   ผู้บริหาร, คณาจารย์, เจ้าหน้าที่, ผู้รับผิดชอบทั้งด้านประกัน

                  คุณภาพ และ การจัดการความรู้ 

มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม :   มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  มหาวิทยาลัย

                   อุบลราชธานี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  มหาวิทยาลัยนครพนม 

                   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  มหาวิทยาลัยพายัพ และ

                   มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Mini_UKM 3 (1/2552)          

หัวปลา :      องค์ประกอบที่ 2 การเรียนการสอน (การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน

                   เป็นสำคัญ การวิจัยในชั้นเรียน และการพัฒนารายหลักสูตร)

ระหว่างวันที่ :  6-8  กุมภาพันธ์ 2552 

สถานที่ :      ณ ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารไทยพาณิชย์ อ.หางดง จังหวัดเชียงใหม่

เจ้าภาพ :     มหาวิทยาลัยพายัพ

วิทยากร :     ศ. นพ. วุฒิชัย ธนาพงศธร,  ศ. นพ. เฉลิม  วราวิทย์,

                   รศ. นพ. จิตเจริญ  ไชยาคำ และ ศ. ดร. กิตติชัย  วัฒนานิกร

รูปแบบกิจกรรม :  ทุกมหาวิทยาลัยนำเสนอผลการต่อยอดความรู้จาก

                  Mini_UKM ครั้งที่ 2 และเข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเรียน

                  การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการพัฒนารายหลักสูตร

                  จากนั้นตัวแทนแต่ละกลุ่มกลุ่มนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี

                  (Best Practice) ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

กลุ่มเป้าหมาย :   ผู้บริหาร, ผู้รับผิดชอบงานด้านวิชาการและมาตรฐาน

                  หลักสูตร, อาจารย์ และผู้เกี่ยวข้องที่สนใจ

มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม :  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  มหาวิทยาลัย

                  อุบลราชธานี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  มหาวิทยาลัยนครพนม 

                  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  มหาวิทยาลัยพายัพ และ

                  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Mini_UKM 4 (2/2552)          

หัวปลา :     องค์ประกอบที่ 2 การเรียนการสอน (การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน

                  เป็นสำคัญ, การพัฒนารายหลักสูตร, การวิจัยในชั้นเรียน และการ

                  บริการที่ประทับใจสำหรับเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน)

ระหว่างวันที่ :   23 – 25 ตุลาคม 2552

สถานที่ :    ณ ห้องยูงทอง โรงแรมนครพนมริเวอร์วิว อําเภอเมือง

                  จังหวัดนครพนม

เจ้าภาพ :   มหาวิทยาลัยนครพนม

วิทยากร :   ศ. นพ. วุฒิชัย ธนาพงศธร,  ศ. นพ. เฉลิม  วราวิทย์,  

                 รศ. กัลณกา  สาธิตธาดา และ รศ. นพ.  จิตเจริญ  ไชยาคำ

รูปแบบกิจกรรม :  ทุกมหาวิทยาลัยถอดบทเรียนผลการดำเนินงานจาก

                 Mini_UKM 3 และเข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ใน

                 4 หัวข้อ แบ่งเป็น กลุ่มที่ 1 การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ,

                 กลุ่มที่ 2 การพัฒนารายหลักสูตร, กลุ่มที่ 3 การวิจัยในชั้นเรียน และ

                 กลุ่มที่ 4 การบริการที่ประทับใจสำหรับเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน

                จากนั้นตัวแทนแต่ละกลุ่มกลุ่มนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี

                (Best Practice) ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

กลุ่มเป้าหมาย :  ผู้บริหาร, ผู้รับผิดชอบงานด้านวิชาการและมาตรฐานหลักสูตร,

                อาจารย์ และผู้เกี่ยวข้องที่สนใจ

มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม :   มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 

                มหาวิทยาลัยนครพนม  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 

                มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยนครพนม และ

                มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Mini_UKM 5 (1/2553)          

หัวปลา :   มีทั้งหมด 7 หัวข้อ ดังนี้ 1) การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                2) การวิจัยในชั้นเรียน 3) การพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐาน

               คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 4) การบริการที่ประทับใจสำหรับเจ้า

               หน้าที่สายสนับสนุน 5) การพัฒนาหน่วยงานสู่การเป็นองค์การเรียนรู้

               6) การบริหารความเสี่ยง (การจัดทำคู่มือบริหารความเสี่ยง) และ

               7) การจัดทำแผนยุทธศาสตร์และงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน

ระหว่างวันที่ :  19 – 21 มีนาคม 2553

สถานที่ :  อาราญาน่า ภูพิมานรีสอร์ท อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา

เจ้าภาพ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

วิทยากร : ศ. นพ. วุฒิชัย ธนาพงศธร,  ศ. นพ. เฉลิม  วราวิทย์,  

               รศ. กัลณกา  สาธิตธาดา และ รศ. นพ.  จิตเจริญ  ไชยาคำ

รูปแบบกิจกรรม :  ทุกมหาวิทยาลัยถอดบทเรียนผลการดำเนินงานจาก

               Mini_UKM 4 เข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หาแนวปฏิบัติที่ดีตาม

               หัวปลานั้นๆ

มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม :   มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 

                มหาวิทยาลัยนครพนม  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 

                มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยนครพนม

                มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  

Mini_UKM 6 (2/2553)          

หัวปลา : มีทั้งหมด 7 หัวข้อ ดังนี้ 1) การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

              2) การวิจัยในชั้นเรียน 3) การพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐาน

              คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 4) การบริการที่ประทับใจสำหรับเจ้า

              หน้าที่สายสนับสนุน 5) การพัฒนาหน่วยงานสู่การเป็นองค์การเรียนรู้

              6) การบริหารความเสี่ยง (การจัดทำคู่มือบริหารความเสี่ยง) และ

              7) การจัดทำแผนยุทธศาสตร์และงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน

ระหว่างวันที่ :  23-25 ตุลาคม 2553            

สถานที่ :  สถาบันสุขภาพและความงามวนาศรม  มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  

               จังหวัดเชียงราย  

เจ้าภาพ : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

วิทยากร : ศ. นพ. วุฒิชัย ธนาพงศธร,  ศ. นพ. เฉลิม  วราวิทย์,  

               รศ. กัลณกา  สาธิตธาดา และ รศ. นพ.  จิตเจริญ  ไชยาคำ

รูปแบบกิจกรรม :  ทุกมหาวิทยาลัยถอดบทเรียนผลการดำเนินงานจาก

               Mini_UKM 5 เข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หาแนวปฏิบัติที่ดีตาม

               หัวปลานั้นๆ

มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม : มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ มีทั้งหมด 20

              มหาวิทยาลัย แบ่งเป็นมหาวิทยาลัยเครือข่ายจำนวน 6 มหาวิทยาลัย

              มหาวิทยาลัยนอกเครือข่าย 14 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย

              1) มหาวิทยาลัยมหิดล 2) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3) มหาวิทยาลัย

              เชียงใหม่ 4) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

              5) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 6) มหาวิทยาลัย

              เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 7) มหาวิทยาลัย

              ทักษิณ 8) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 9) มหาวิทยาลัย

              ศรีปทุม  10) วิทยาลัยเชียงราย 11) เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน

             12) มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น 13) วิทยาลัยพิษณุโลก และ

            14) มหาวิทยาลัยนอร์ท – เชียงใหม่

 

งานการจัดการความรู้

ศูนย์พัฒนาและประกันคุรภาพการศึกษา

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

24 พ.ย. 53

 

หมายเลขบันทึก: 410025เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2010 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 13:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ทราบความเป็นมาฯ แล้ว ความเป็นไป?

สวัสดีคะ พี่วิชิต

ความเป็นไป คือ มมส รับเป็นเจ้าภาพ Mini_UKM ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 17-19 มีนาคม 2554 ในหัวข้อ 1) การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) การวิจัยในชั้นเรียน 3) การพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 4) การบริการที่ประทับใจสำหรับเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน 5) การพัฒนาหน่วยงานสู่การเป็นองค์การเรียนรู้6) การบริหารความเสี่ยง (การจัดทำคู่มือบริหารความเสี่ยง) และ 7) การจัดทำแผนยุทธศาสตร์และงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน

โดยครั้งนี้เราได้รับเกียรติจาก ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช มาบรรยายหัวข้อเรื่อง "KM กับคุณภาพอุดมศึกษา" ในวันที่ 18 มีนาคม 2554 ส่วนสถานที่นั้นรอการพิจารณาจากคณะกรรมการอยู่คะ

เครือข่ายนี้จะเดินหน้าพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการอุดมศึกษาต่อไป อย่างไม่หยุดยั้งคะ

ขอบคุณหนึ่งมาก

สำหรับที่มาทีี่ไปแล้ว หัวปลา ตัวปลา....

พี่แจ๊ค

ขอบคุณพี่แจ็คเช่นกันคะ ที่ช่วยเหลือมาโดยตลอด

ร่วมกู่สร้างสรรค์พัฒนา มมส เช่นกันคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท