การเปลี่ยนจากระบบซีเป็นแท่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา


การเปลี่ยนจากระบบซีเป็นแท่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

"การเปลี่ยนจากระบบซีเป็นแท่งของข้าราชการพลเรือน

ในสถาบันอุดมศึกษา"

ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมกับ สกอ. เมื่อวันศุกร์ที่ 19 พฤศจิการยน 2553 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กทม. ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน เป็นประธานการเปิดการประชุมและได้บรรยายเรื่อง "การปรับระบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา" ให้กับผู้เข้าร่วมประชุมฟัง...โดยผู้เขียนขอสรุปผลการบรรยายได้ดังนี้...

ระบบเดิมเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา นั้น เริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ.2519 จนถึง พ.ศ.2553 ซึ่งคนทั่ว ๆ ไป มักเรียกว่า ระบบ P.C. แต่ต่อมา สำนักงาน ก.พ. ซึ่งเป็นองค์กรกลางเกี่ยวกับเรื่องการบริหารงานบุคคลของประเทศ ได้ปรับเปลี่ยนระบบ P.C. ให้เป็นแท่ง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2551 โดยมีเป้าหมายว่า ต้องมีการปรับเปลี่ยนแล้วทำให้เรื่องการบริหารงานบุคคลดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งหมายถึงเรื่องงานและบุคคล ...แต่เนื่องจาก ก.พ. เป็นองค์กรกลางในเรื่องการบริหารงานบุคคล เมื่อทำให้กับข้าราชการพลเรือนสามัญแล้ว ทำให้ข้าราชการส่วนอื่น ๆ ซึ่งเป็นข้าราชการก็ต้องมีการดำเนินการปรับเปลี่ยนตามไปด้วย จึงเป็นที่มาของคำว่า "CHANGE" : ซี เป็นแท่ง...ของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

ผลกระทบของการเปลี่ยนระบบซีเป็นแท่ง มี 3 เรื่อง ได้แก่...

1. โครงสร้างตำแหน่ง โดยสำนักงาน ก.พ. ได้ปรับเปลี่ยนตำแหน่งโดยแบ่งได้เป็น 4 ประเภท จึงทำให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนประเภทตำแหน่งตามเป็น 4 ประเภทเช่นกัน

2. การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ซึ่งปัจจุบัน กงช.เป็นผู้ดูแล โดยต้องทำให้สอดคล้องกับ ก.พ. ด้วย

3. เนื่องจากการขึ้นเงินเดือนประจำปี ซึ่งเดิมขึ้นเงินเดือนเป็นขั้น แต่ในวันที่ 1 เมษายน 2554 จะมีการปรับฐานเงินเดือนให้ขึ้นอีก 5 %

จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนจากระบบซีเป็นแท่งเช่นเดียวกันกับ ก.พ.

พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ปรับระบบตำแหน่งและการให้ได้รับเงินเดือน การเปลี่ยนแปลงสำคัญ 2 ประการ ได้แก่...

1. การจำแนกตำแหน่งตามกลุ่มลักษณะงานแทนการมีมาตรฐานกลาง โดยเดิม มีประเภทบริหาร (ระดับสูงหรือระดับกลาง) ประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะและประเภททั่วไป สำหรับระดับตำแหน่ง มี 11 ระดับ ซึ่งได้ปรับเปลี่ยนใหม่เป็นประเภทตำแหน่งใหม่ ได้แก่ 4 ประเภท คือ ประเภทบริหาร อำนวยการ วิชาการ ทั่วไป แต่ไม่มีการกำหนดระดับตำแหน่งเป็น 11 ระดับ

2. โครงสร้างบัญชีเงินเดือน ซึ่งเดิมใช้บัญชีเงินเดือนเดียวกันสำหรับทุกลักษณะงาน และเป็นบัญชีแบบขั้น ต่อมาให้ปรับใหม่ให้เป็นลักษณะแยกบัญชีเงินเดือนตามประเภทของกลุ่มตำแหน่ง และเป็นบัญชีเงินเดือนแบบช่วง (ขั้นต่ำ - ขั้นสูง)

แนวความคิดและหลักการการจัดโครงสร้างตำแหน่งแบบกว้าง (Broadbanding)

ระบบตำแหน่งและค่าตอบแทนเดิม แบ่งเป็น...

- ระบบจำแนกตำแหน่ง + ระบบค่าตอบแทน จะมุ่งงาน...

แต่ระบบตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่ จะมุ่งที่...

เน้นคนที่มีความรู้ความสามารถและค่าตอบแทนที่สอดคล้องกับผลงาน

- จัดสายงานเป็นกลุ่มให้มีจำนวนน้อยที่สุด

- ระบบค่าตอบแทนเป็นโครงสร้างเงินเดือนที่มีกระบอกเงินเดือนเพียงไม่กี่ระดับ

- ค่าตอบแทนเน้นผลงาน

- ปัจจัยสำคัญอยู่ที่การวิเคราะห์งานเพื่อกำหนดระดับตำแหน่งและเงินเดือน

ความสำคัญของระบบ Broadbanding...

1. ระบบการจ่ายเงินเดือนอิงกับประเภทตำแหน่ง

2. ลดจำนวนระดับตำแหน่งและปรับเปลี่ยนขอบเขตของงาน

3. หัวหน้างานมีความคล่องตัวในการมอบหมายงาน

4. สร้างการทำงานเป็นทีมเนื่องจากระดับตำแหน่งไม่แตกต่างกัน

5. การจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถและผลงาน

ดังนั้น จึงทำให้ ก.พ.อ. จึงต้องปรับระบบบริหารงานบุคคล ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551

การปรับระบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา มาจากสาเหตุ...

โครงสร้างตำแหน่งและค่าตอบแทนของ ก.พ. เพื่อปรับระบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา โดยระบบบริหารงานบุคคลระบบใหม่นั้นมาจาก พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 มาตรา 16 การได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้เทียบเคียงกับบัญชีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งหรือตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการพลเรือน...

หลักการ :

1. พิจารณาถึงกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ เช่น พรบ. ก.พ.อ./ ก.พ. พ.ร.บ.ของแต่ละมหาวิทยาลัย

2. พิจารณาถึงโครงสร้างตำแหน่งและเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งเดิม

3. พิจารณาจัดเข้าแท่งเงินเดือนของ ก.พ. (ให้ได้มากที่สุด)

แนวทางการปรับระบบบริหารงานบุคคล :

1. สอดคล้องและเทียบเคียงกับตำแน่งและระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ

2. สอดคล้องและเทียบเคียงกับช่วงเงินเดือนของระดับเดียวกัน (ก.พ.อ.และ ก.พ.)

3. คำนึงถึงประเภทตำแหน่งที่แตกต่างกันและมีลักษณะเฉพาะของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

4. ครอบคลุมตำแหน่ง / ระดับตำแหน่งที่มีอยู่เดิม (40,000 ตำแหน่ง)

5. ได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งและสิทธิประโยชน์อื่นไม่น้อยกว่าที่ได้รับอยู่เดิมและใช้หลักการเดียวกับ ก.พ.

6. เพิ่มงบประมาณเท่าที่จำเป็น

การจำแนกตำแหน่งตามกลุ่มลักษณะงาน :

ก.พ.อ. เทียบเคียง ก.พ.

ตำแหน่งวิชาการ

ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร เทียบได้กับ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ

ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ เทียบได้กับ ตำแหน่งประเภทวิชาการ

หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ

ตำแหน่งประเภททั่วไป เทียบได้กับ ตำแหน่งประเภททั่วไป

การกำหนดบัญชีเงินเดือนและการได้รับเงินเดือน :

- การกำหนดโครงสร้างบัญชีเงินเดือน กำหนดเป็น 4 บัญชี (โครงสร้างบัญชีเงินเดือนเป็นแบบแท่งและช่วง) โดยไม่มีขั้นเงินเดือน)

- การให้ข้าราชการได้รับเงินเดือน

มติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบแล้วและกฎ ก.พ.อ. เรื่องดังกล่าว

มีผลวันที่ 21 กันยายน 2553

การเลื่อนเงินเดือน :

- คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบการนำหลักการระบบการเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญมาปรับใช้กับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

- การเลื่อนเงินเดือน เป็นร้อยละของฐานในการคำนวณ

เงินประจำตำแหน่ง :

- อัตราเงินประจำตำแหน่งยังคงเป็นไปตามบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2538

- การเทียบตำแหน่งเพื่อรับเงินประจำตำแหน่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ.กำหนด

- ร่างพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งให้ปรับปรุงแก้ไขให้ชัดเจน สอดคล้องกับข้าราชการพลเรือนสามัญแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

การคงสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย :

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้คงสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายให้แก่ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งแตกต่างจากตำแหน่งที่ ก.พ.อ.กำหนด จนกว่าจะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามที่ ก.พ.อ.กำหนด ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าเดิม (เช่น ครู คศ. เป็นต้น)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท