งานวิจัยไทบ้าน-ไม่ยากแต่ไม่ง่าย ตอนที่ 1


วิจัยคือการซอกหา.......

                  อยู่ในแวดวงงานวิจัยมาพอสมควร ช่วยงานวิจัยของ

สกว.มาก็มาก เป็นทั้งผู้วิจัย เป็นทั้งผู้ประเมิน  เป็นทั้งผู้สนับสนุนการวิจัย  เป็นทั้งอาจารย์คุมวิทยานิพนธ์และยกร่างหลักสูตร ป.โท วิจัยท้องถิ่น มาบัดนี้อยากลองสร้างนักวิจัยชาวบ้านบ้าง ด้วยการทำวิจัยร่วมกัน  คิดว่าคงไม่เหลือบ่ากว่าแรง แต่แล้ว....ขอบอก ไม่ธรรมดา  ยากไม่ยากก็ขนาดว่าเก็บเอาไปฝันว่า คิดผิดแท้ๆๆๆๆอยู่ดีไม่ว่าดีซะแล้วเรา...แต่แล้วเมื่อตื่นขึ้นมาก็บอกกับตัวเองว่าไม่ผิดหรอก เพราะนี่คืออีกช่องทางที่จะได้ทำความดีเพื่อตอบแทนแผ่นดิน...(ฮ่าๆๆ ปลอบใจตัวเอง  แหล่งทุนจะได้รู้ว่ามันยากแค่ไหน...)

      บทความนี้ แซงคิว แซงทางโค้ง เพราะหยิบเอาช่วงกลางมาลงก่อน ส่วนเริ่มต้นโครงการจะทยอยนำลง

          ชื่อโครงการวิจัยของเราก็ยาวมากจนจำชื่อไม่ได้ คือ      แนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาของอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน(อสม.)เพื่อการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน ตำบลนาทอง  อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

     สาเหตุที่ต้องวิจัย

            ปัจจุบันคนไทยมีปัญหาเกี่ยวกับการเจ็บป่วยเรื้อรังเพิ่มขึ้นและทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการเจ็บป่วยด้วย โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็งยังคงปัญหาสาเหตุการการตายในลำดับต้นๆ  นอกจากนั้นโรคเบาหวานแม้ว่าอัตราตายจะลดลงจาก 9.9 ต่อแสนประชากรในปี 2548 เป็น 9.8 ต่อแสนประชากร ในปี 2549 ซึ่งจากรายงานของสำนักงานพัฒนาข้อมูลข่าวสารสุขภาพซึ่งได้รายงานสถานการณ์สุขภาพประเทศไทยในปี 2549 ได้ชี้ว่าในภาคอีสานมีอัตราตายด้วยโรคเบาหวานสูงสุดและส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสานโดยลำดับแรกอยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด(24.6) ขอนแก่น (24.2) กาฬสินธุ์(23.3)  มหาสารคาม(20.0) และชัยภูมิ (19.5) ตามลำดับ รวมทั้งะเร็งตับก็ยังเป็นปัญหาของคนอีสานเช่นเดียวกัน สภาพปัญหาที่ว่ามา ในพื้นที่ ต.นาทอง อ.เชียงยืน ก็เผชิญปัญหาไม่แตกต่างกัน

            การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังนี้  ไม่เพียงแต่จะเป็นสาเหตุการตายเท่านั้น แต่ที่สำคัญคือการเจ็บป่วยเรื้อรังมักรักษาไม่หายขาด ต้องอาศัยการดูแลต่อเนื่องในระยะยาวและสร้างความสูญเสียด้านเศรษฐกิจและนำมาซึ่งความทุกข์แก่ผู้เกี่ยวข้อง

            ลำพังหมอ พยาบาล ไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง กลุ่มบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด ก็คือ อสม. จึงเกิดงานวิจัยนี้ขึ้นมา

มีวัตถุประสงค์งานวิจัย 

          1. เพื่อประเมินสถานการณ์ สภาพปัญหาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในตำบลนาทอง

          2. เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนและสุขภาวะทางปัญญาของ อสม.ตำบลนาทอง

          3. เพื่อหาแนวทางในการเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาให้กับ อสม.ตำบลนาทองเพื่อการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน

    โดยการนำกรอบแนวคิดเรื่องสุขภาวะทางปัญญา ของอาจารย์หมอประเวศ  วะสี  มาใช้เป็นแนวทางในการศึกษา ภายใต้ความเชื่อที่ว่า หาก อสม.มีสุขภาพทางปัญญาก็จะสามารถทำงานได้อย่างมีคุณค่า มีสำนึกต่อชุมชน ซึ่งเป็นการเกื้อกูลแก่ผู้เจ็บป่วย และเป็นการทำงานที่ทำจากใจและจากจิตวิญญาณของความเป็น อสม. สมกับคำว่าเป็นอาสาสมัครมากกว่าการทำเพราะหน้าที่หรือจากการได้รับค่าตอบแทน

        แนวคิดสุขภาวะทางปัญญาของอาจารย์หมอประเวศ วะสี (2553) 

ได้อธิบายคำว่าสุขภาวะทางปัญญาว่า มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ (1) ปัญญารู้รอบรู้เท่าทัน การรู้เหตุ รู้ผลอย่างชัดแจ้ง โดยเฉพาะการรู้เท่าทันปัญหาแม้ยังไม่ได้แก้ปัญหา ก็ทำให้ความเป็นปัญหาหมดไปได้  และจะนำมาซึ่งความสุข  (2) ปัญญาทำเป็น หมายถึงปัญญาที่เกิดจากการลงมือทำและทำเป็น   การเรียนรู้จากการทำ และเกิดปัญญาที่ทำให้ทำได้ดี ทั้งเรื่องทำให้ร่างกายแข็งแรง ปลอดสารพิษ มีความปลอดภัย สร้างสัมมาชีพ มีปัจจัย 4 มีจิตใจที่มีความดีความงาม ความสงบ และความมีสติ ปัญญาในการทำเป็นนี้ย่อมก่อให้เกิดความสุขอย่างยิ่ง (3) ปัญญาอยู่ร่วมกันเป็น ได้แก่ปัญญาที่คำนึงถึงการอยู่ร่วมกัน (Living together) ไม่ใช่ตัวใครตัวมันเป็นเอกเทศ สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในทุกระดับ รวมตัวร่วมคิดร่วมทำเป็นชุมชนเข้มแข็ง และประชาสังคม มีการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ (Interactive learning through action)  และ  (4) ปัญญาบรรลุอิสรภาพ ความไม่รู้หรืออวิชชาเป็นเครื่องก่อทุกข์ วิชชา หรือ ปัญญาเป็นเครื่องออกจากทุกข์ มนุษย์ควรเรียนรู้เพื่อลดความเห็นแก่ตัวหรือเพื่อบรรลุอิสรภาพ ในทางพุทธได้แก่ไตรสิกขา คือศีล  สมาธิ ปัญญา  (ประเวศ วะสี,2553) และประเด็นสุขภาวะทางปัญญา นี้ประเวศ วะสี(2553) กล่าวว่าเป็นแก่นที่จะนำไปสู่การสร้างสุขภาพที่ดีทั้ง 4 มิติ คือ กาย ใจ สังคมและปัญญา

           สำหรับกิจกรรมนี้เป็นการวิเคราห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูลและจัดทำแผนปฏิบัติการ โดยได้นำนักวิจัยไทบ้านออกนอกพื้นที่ มุ่งหน้าไปยังอำเภอหล่มเก่า เพื่อให้นักวิจัยลืมบ้าน ลืมนา ลืมสวนแตง เป็นการชั่วคราว เพราะสังเกตเห็นเวลาประชุม ชาวบ้านจะมีอาการกระวนกระวายว่าตองไปสวนแตง ต้องไปโน่น ต้องไปนี่ ทำให้เราพลอยกังวลไปด้วยว่า งานวิจัยนี้มาทำให้ชาวบ้านเป็นทุกข์หรือเปล่าน้อ???

         ว่าแล้วก็เลยได้ข้อสรุปว่า ลองพาออกจากบ้านซักสองวันแล้วกัน เผื่อจะช่วยให้มีสมาธิมากขึ้น.....เจ้ากรรมได้ผล ทุกคนมีสมาธิดีมากๆๆๆๆเพราะเมารถ ตั้งใจว่าเพื่อเป็นการประหยัดเวลา จะสรุปเนื้อหาบนรถ....ซะ...หมดสิทธิ์ ขอบอก

     ก่อนออกเดินทาง  เตรียมพร้อม เตรียมตัว เตรียมใจและเตรียมอาหาร

                  หมอตุ่ม หัวหน้า รพ.สต.แบก ร่วมทีมวิจัย

           นักวิจัยไทบ้าน เก่งขึ้นเรื่อยๆๆ  ตั้งคำถามนำ Focus group ได เขียนได้

                               .....นักวิจัยไทบ้าน....จดๆๆๆ

มุ่งหน้าสู่ภูทับเบิก.....บ้านดอยเพียงดิน อ.หล่มเก่า จ.เพ็ชรบูรณ์            

            เริ่มเดินทางจากบ้านแบก ต.นาทองตอนเช้ามืดวันที่ 13  ไปถึงเอาตอนเที่ยง

ไม่พูดพร่ามทำเพลง ลุยเลย

 

                                  อาหารมื้อไหนก็ไม่รู้

                                         เอาข้อมูลมายำ

                  ทีมนักวิจัยรุ่นเยาว์ช่วยกระบวนการกลุ่มย่อย และบันทึกข้อมูล

                               ข้อมูลที่ไปจดบันทึกมา ได้ความว่า.....

                                 ซักซ้อมทีม...ช่วยเหลือ

                           ทำไมยากจังคุณครู...???

                                  ศึกษาข้อมูลที่ตัวเองเก็บมาได้

                               หลักการและเหตุผล..จากข้อมูลที่เก็บมาจ้า...

                    ทำงานเสร็จยกที่  1 ขอถ่ายรูปกับชาวม้งด้วยคร๊าบบ...             

                      กิจกรรมนี้ยังไม่จบค่ะ พรุ่งนี้เช้ามีสรุปงาน.....ยกที่ 2

 

                                       เช้ามา...เริ่มใหม่

                                      สัมภาษณ์ชาวม้ง....แบบฝึกหัดเพิ่มเติม

 

นำทีมวิจัยโดย ผศ.ดร.อมร สุวรรณนิมิตร

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ขอบคุณตากล้องทุกคนค่า

 

หมายเลขบันทึก: 409265เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2010 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

ร่วมเป็นกำลังใจให้นักวิจัยไทบ้านด้วยค่า...พี่น้อง

  • ตามมาให้กำลังใจ
  • เห็นแล้วน่าสนุก
  • เข้าใจว่าผลน่าจะออกมาดีเพราะคล้ายงาน สกว ที่เป็นงานวิจัยของชุมชนครับอาจารย์
  • กำลังรวมเรื่องของชาวบ้านอยู่
  • เอามาฝากอาจารย์ด้วยครับ

สวัสดีครับอาจารย์

ดีใจจังเลยเจอกันในนี้ด้วย

งานวิจัยน่าตื่นเต้นมากเลยครับ...

อาจารย์สบายดีนะครับ

คึดฮอดหลายครับ...

หวัดดีค่า หนานเกียรติ คิดถึงเช่นกัน จำชื่อน้องไม่ได้ ใช่ ใบบุญไหมคะ

ชื่อจริง ชมบุญ ชื่อเล่น เฌวา ครับ

อาจารย์แวะเข้าไปเยี่ยมใน เฌวา นะครับ

ไปดูความเรียบร้อยของเฌวา เรียบร้อยมากกกกกส์

  • ชอบจังเลยครับอาจารย์
  • หากมีโอกาสผ่านมาทางขอนแก่นจะถือวิสาสะหาโอกาสมาเยือน-มานั่งคุย
    หาความบันดาลใจใหม่ๆบ้างนะครับ

ยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะอาจารย์วิรัตน์ จะขออนุญาตพาไปเลียงส้มตำปลาเผาค่ะ

การทำวิจัยครั้งนี้คงท้าทายน่าดูนะคะอาจารย์ ขนาดหนูเป็นผู้ช่วยกลุ่มย่อย หนูยังเเอบหนักใจเเทน ... ^^~ เเต่นักวิจัย(ไทบ้าน) ทุกท่าน มีความตั้งใจมากเลยค่ะ ขอชื่นชม (หรือว่าเป็นเพราะหัวหน้าทีมวิจัยเเอบดุไปคะเนี่ย)

เป็นกำลังใจให้ครูชุมชน เเละนักวิจัยทุกท่านค่ะ

นา node นักวิชาการอุบลฯ

เข้ามาเยี่ยมชมตามคำแนะนำของตองค่ะ เห็นอาจารย์ในภาพก็รู้ว่ามีความสุขค่ะ มีคนถามอาจารย์ปิยะวัติ บุญ-หลงว่าทำงานวิจัยแบบนี้ทำแล้วได้อะไร อาจารย์ตอบว่า ได้บุญ เป็นคำตอบที่ต้องขอบคุณทั้งสกว. ชุมชนชาวบ้าน นักวิชาการ นักพัฒนาทั้งหลาย ที่ทำให้เราได้มาทำบุญกองใหญ่นี้ด้วยกันค่ะ

บิ๋มเล็กคือผู้ช่วยกลุ่มย่อย ช่วยบันทึกและยกร่างโครงการ ขอบใจหลายๆๆๆลูกศิษย์คนเก่ง

ขอบคุณ อ.นา ที่ให้กำลังใจ ต้องบอกว่าได้บุญจริงๆๆ ที่ได้บุญเพราะต้องออกแรงเยอะมากๆๆ นักวิจัยไทบ้าน เดี๋ยวก็ทำนา เดี๋ยวปลูกแตง เดี๋ยวผสมแตง เดี๋ยวเกี่ยวข้าว ข้างฝ่ายหมอก็ประชุม ประชุม...... ฮ่าๆๆๆๆ รู้แล้วว่าทำไมเก็บเอาไปฝัน และเป็นฝันร้ายซะด้วย แต่ก็พยายามต่อ ไหนๆๆก็ไหนๆๆๆแล้วววววว

สวัสดีค่ะอาจารย์

วันนี้เข้ามาเป็นกำลังใจให้ท่านอาจารย์นะคะ (คุณครูชุมชน^^)

เป็นงานวิจัยที่น่าติดตามมากกและถ้ามีโอกาสอยากเป็นผู้ช่วยอาจารย์จังค่ะ (อิๆๆ)

อาจารย์สุดยอดมากกจริงๆค่ะ^^

ขอเป็นกำลังใจให้ท่านอาจารย์นะคะ

อาจารย์สู้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆค่ะ

ชื่นชมในความพยายาม และรอคอยความสำเร็จของโครงการค่า เป้นกำลังใจให้ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นคือการเติมเต็มช่องว่างของความรู้ในกระแสหลักและเติมเต็มช่องว่างของหัวใจที่ได้ทีโอกาสทำ ค่า

ขอบคุณ ดร.หนึ่ง ผู้กำกับดูแล Node พ้นฤดูเกี่ยวข้าวไปแล้ว คงเป็นผู้เป็นคนบ้างค่ะ ถ้านักวิจัยไม่ลงเก็บแตงอีกๆๆ ฮ่าๆๆๆช่วยกันรับผิดชอบนะคะ เพราะเราเลือกพื้นที่ด้วยกัน

ภาพมัดตัว ทั้งทีมเลย โดยเฉพาะ หัวหน้าใหญ่ ดร.แขก ฮ่าๆๆๆๆ

หัวหน้าโครงการนั่งหนักใจ อยู่ข้างหลังสุด ตายคักๆๆๆ

 

 

ขอบใจหนูแพท อลิษา มีโอกาสจะขอแรงไปบ้านแบก

  • สวัสดีค่ะ 
  • สุขสันต์วันลอยกระทงนะคะ...คุณครู
  • ขอบคุณค่ะ
     
                                  ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง
  • ขอบคุณคุณบุษราค่ะ ไปนั่งภาวนาที่วัดค่ะ ฝากใจไปลอยกระทงค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท