"..เชียงคานกับ Appreciative Inquiry..." (ห้องเรียนกระบวนกร AI ตอนที่ 273)


Appreciative Inquiry

เมื่อวันก่อน เริ่มกระบวนการการทำ Appreciative Inquiry กับเมืองเชียงคาน...

...เริ่มจากเราถามว่าชอบเชียงคานตรงไหน..ก็ว่ากันไปชอบตรงทางเดินริมโขง..ชอบ @##$^%&*&*(&*(***(

เข้าเรื่องครับ ไม่ใช่ประเด็นที่จะพูดวันนี้...เราถามอีกคำถาม..เพื่อขอข้อเสนอแนะ..ครับ..ถามแบบ AI ดังนี้ครับ...

..........................

...ถ้าจะให้กลับมาเที่ยวเชียงคานอีก เชียงคายต้องทำอะไรเพิ่มเติม เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น...

.........

สุภาพสตรีท่านหนึ่งบอกว่า "ทางมันสั้น..เดิน แพล็บเดียวก็หมดแล้ว...." ทั้งกลุ่ม รีบสนับสนุน..เห็นด้วยเลยอาจารย์...

......

OK ครับ คุณคงได้รับความเห็นทำนองนี้บ่อยๆ...คือได้มาแล้วเจ๊กอั๊ก...จะเอาไปปรับปรุงให้เธอชอบยังไง...

...ทำทางให้มันยาวขึ้นเหรอ...ก็มันมีอยู่แค่นั้น...

.......

คุณอาจถอดใจ...ทำตามข้อเสนอแนะไม่ได้...แต่ อย่าพึ่งหยุดครับ....เนื่องจากทำทางให้ยาวขึ้นไม่ได้...เป็นไปได้ไหม ว่า..อาจมีสถานที่ท่องเที่ยว ที่มีทางเดินสั้นๆ แต่ก็มาให้สุภาพสตรี มีประสบการณ์ดีๆ เดินนานๆได้ (ตามข้อมูลวิจัยทางการตลาด ผู้หญิง ยิ่งเดินนาน ยิ่งจ่ายเยอะ) และตามหลักการของ Appreciative Inquiry ที่ว่าในทุกระบบ (เช่นระบบการท่องเที่ยวที่ทางเดินสั้นๆ) อาจมีอะไรดีๆ ซ่อนอยู่...ต้องมีซักที่สิน่า...

.........

เราเลยถามกลุ่มผู้หญิงว่า...สถานที่ท่องเที่ยวๆไหน..ที่ทางเดินสั้นๆ แต่คุณเดินได้นานๆ มีไหม...

....

มีจริงครับ...หลายคนพูดถึุง เพลินวาน...ผมไม่เคยไป...แต่เขาบอกว่า..มีอะไรในเพลินวานที่เดินได้นาน...เขาก็เล่ากันไป...เขาพูดึง้รานๆหนึ่งในเพลินวาน...ก็เอ๊าลองไปศึกษามาว่าลูกค้าแต่ละคนเดินยังไง แวะตรงไหน..มีอะไรให้เขาดู เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาเส้นทางเดิน...ที่ยาวเท่าเดิม..แต่คนเดินนานและเพลินกว่าเดิม...

......

ถามเยอะๆ กับคนอีกหลายๆกลุ่ม..ทั้งกลุ่มมาอยู่นานๆ..มาเฉพะาช่วงเทศกาล..กลุ่มครอบครัว...ก็จะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์...และนี่จะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่ดีมากๆ ของชุมชนในอนาคต...ทำหรือไม่ทำอยู่ที่ชุมชนเป็นผู้กำหนดเอง...

......

คุณล่ะ คิดอย่างไร

 

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 408928เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2010 10:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 16:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

อาจารย์คะ

หนูมองว่าการใช้ระยะเวลาในการเดินที่สั้น อาจทำให้ผู้ที่ไปท่องเที่ยวอาจจะรู้สึกว่าเหมือนจะไม่ค่อยมีอะไร และยังไม่ได้รับประสบการณ์ในระยะเวลาตามที่คาดหวัง

ก็เลยคิดว่าอาจจะปรับด้วยการเพิ่มกิจกรรมระหว่างทาง หรือจุดให้ถ่ายรูป เป็นต้น ค่ะ

^_^

ท่านไปเชียงคาน เลยนำของฝากเชียงรายมาแจม ครับ

ขอบคุณมากๆครับคุณมะปรางเปรี้ยว...จะได้ไปบอกลูกศิษย์ครับ...

หิวเลยครับ..

ขอบพระคุณท่านอาจารย์ JJ ที่แวะมาครับ..

  • ถ้าทางสั้นแต่มีสิ่งน่าสนใจ เช่น ถ่ายรูป หรือ มีคนคอยอธิบายว่าทางสั้นนั้นมีอะไรดีที่น่าสนใจ ชาวบ้านเค้าอยู่กันยังไง
  • เอ แล้ว เพลินวาน อยู่ไหนคะ 

ทุกวันนี้เชียงคานเปลี่ยนไปเยอะครับ ไม่เหลือเค้าความเป็นเชียงคานที่ผมรู้จักในฐานะคนเมืองเลยอีกแล้ว เพราะพยายามทำให้เหมือน อ.ปาย แม่ฮ่องสอน ที่ตอบสนองกลุ่มลูกค้าวัยรุ่น วัตถุนิยม เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งตอนนี้ธรรมชาติของความเป็น "ปาย" ดั้งเดิม ก็เปลี่ยนไปมากไม่เหลือเค้าแล้ว ความคิดผมคิดว่าน่าจะขายความเป็นเชียงคานแท้ๆ ในเรื่องของธรรมชาติ ศิลปะวัฒนธรรม วิถีชิวิต มากกว่าครับ

ขอบคุณมากครับคสำหรับความเห็น พี่ใบบุญ

ตอบคุณไทลย-บ้านแฮ่

เรื่องนี้น่าขยายผลและคิดต่อนะครับ

สวัสดีค่ะ

อยากเห็นสภาพเดิม วัฒนธรรมเดิม  แต่หลายแห่งพลิกฟื้นได้มีร่องรอยและรูปแบบ แต่ในทางกลับคือโอกาสของการฉกฉวย ตื้อขายของไม่มีคุณภาพ และราคาแพงเกินควรค่ะ

ขอเชิญอาจารย์ไปร่วมให้กำลังใจเพื่อค่ะ

http://gotoknow.org/blog/krukim/410194

ได้เลยครับ ผมจะเจาะประเด็นที่เป็นความท้าทายของเชียงคาน ต่อครับ..

ผมอยากเห็นอะไรดีๆ เหมือนกันครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท