การ เรียนรู้ KM (17 พฤศจิกายน 2553)


หลังจากที่ห่างหายไปหลายวัน เนื่องจากภารกิจที่ค่อนข้างจะรัดตัว วันนี้ก็กลับมาอีกครั้งพร้อมกับการเตรียมตัวในการพรีเซนต์  ซึ่งอาจารย์ให้รวมกลุ่ม 9, 10, 11  แล้วให้ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันภายในกลุ่ม  โดยเลือกประเด็น G6: ว่าด้วยกฏหมายไทยปัจจุบันกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำการศึกษาวิเคราะห์ร่วมกัน ดังนี้

1. จุดแข็ง (Strength)
2. จุดอ่อน (Weakness)
3. ข้อพิจารณาและข้อเสนอแนะ 

ทั้ง 3 กลุ่ม  ได้ร่วมหารือไปตามประเด็นที่อาจารย์แจกให้ตามเอกสาร  และตามความรู้สึกประกอบการตัดสินใจด้วย  ซึ่งสรุปใจความได้ว่า

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง  ประกอบด้วย
1. รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
2. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์  พ.ศ. 2537
3. พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2546
4. พระราชบัญญัติคุ้มครองความลับทางการค้า พ.ศ. 2545
5. พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546
6. พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2552
7. พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542

จุดแข็ง (Strength)
        จากการไม่ครอบคลุมของกฏหมายที่ไม่สามารถจดทะเบียนได้  ทำให้ภูมิปัญญาไม่รั่วไหล

จุดอ่อน  (Weakness)
- กฏหมายไม่ครอบคลุมและไม่เป็นการเฉพาะเรื่อง
- ชุมชนไม่ประสงค์จะเปิดเผยข้อมูล
- คนในท้องถิ่นขาดความรู้ความเข้าใจในการจดทะเบียน
- กฏหมายที่บังคับใช้อยู่เอื้อแต่ประโยชน์ส่วนตน  ไม่เอื้อต่ประโยชน์ส่วนรวม
- มีข้อจำกัดในการสนับสนุนการวิจัยภูมิปัญญาท้องถิ่นภายในประเทศ
- กฏหมายมิได้หมายความถึงความต้องการที่จะให้คนในท้องถิ่นได้รับประโยชน์อย่างเป็นธรรม

ประเด็นที่น่าสนใจ
     ไม่มีกฏหมายเฉพาะ

ข้อเสนอแนะในทางกฏหมาย

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 408854เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2010 18:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราแวะมาเยี่ยนเยียน คุณ nong สบายดีนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                   เป็นตัวแทนความระลึกถึงค่ะ

สบายดีค่ะ คุณบุษรา

เข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท