ตัวอย่าง K เพื่อพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร (3) Best Practice จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


KM ต้องใช้อย่างมีปัญญา มีใจ และมีการปฏฺบัติ

เรื่อง กระบวนการขับเคลื่อนการจัดการความรู้
ของสำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปี 2553

**************

    การขับเคลื่อนการจัดการความรู้ ของสำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีวัตถุประสงค์ในการจัดการความรู้ จัดการสื่อ และวิธีการดำเนินงาน ประโยชน์เพื่อพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร  ความเป็นมาในการดำเนินงานเริ่มจากปี 2549 มีนโยบายของสำนักงานเกษตรจังหวัดดำเนินงานจัดการความรู้ ต่อมาปี 2550 ดำเนินการจัดตลาดนัดความรู้ และในปี 2553 ดำเนินการจัดการความรู้ในโครงการหลักของกรมส่งเสริมการเกษตรจำนวน 3 โครงการ และมีการจัดประกวด ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน 2) โครงการศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียง และ 3) โครงการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน  

   กระบวนการดำเนินงาน จัดการความรู้มี 6 ขั้นตอน คือ 1) กำหนดตรวจสอบ 2) จัดเวทีถอดบทเรียน 3) จัดหมวดหมู่ 4) ตรวจสอบเทียบเคียงกับตำรา  5) เผยแพร่องค์ความรู้ในมุม KM และ website และ 6) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการดำเนินงาน พบว่า ในการพัฒนาคน สามารถสร้างความมั่นใจให้คนทำงาน ส่วนการพัฒนางานช่วยให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ข้อคิดจากการดำเนินงาน การทำ KM ต้องมีปัญญา มีใจ และลงมือทำ.

 

น้ำฝน  ชีรนานนท์ : ผู้เรียบเรียง

15 กันยายน 2553

หมายเลขบันทึก: 408478เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2010 13:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 11:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท