เครือข่ายชุมชนลูกหลานฟันดี อำเภอสระใคร


สร้างความสัมพันธ์ปีที่ 3 เครือข่ายชุมชนลูกหลานฟันดี อำเภอสระใคร เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง

เมื่อ  8  กันยายน  2553  ที่ผ่านมา  จะสรุปความก้าวหน้า  จึงเชิญผู้นำชุมชนและตัวแทน อสม. ที่ร่วมโครงการเครือข่ายชุมชนลูกหลานฟันดี  อำเภอสระใคร  ปี 2553  ใน  3  ตำบล มาชุมนุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์  และวางแผนจัดตลาดนัดเครือข่ายชุมชนลูกหลานฟันดี  อำเภอสระใคร  ปีที่ 3

กล่าวทักทาย  ให้ผู้ร่วมประชุมแนะนำตัว  เขียนความคาดหวัง  สรุปเป็นแผนที่ความคิด  แล้วตั้งกติกาเล็กน้อย  จับคู่เล่าเรื่องความภาคภูมิใจ  ความประทับใจที่เคยทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพเด็กในชุมชน

จับกลุ่ม  8  คน  ผลัดกันเล่าเรื่องคู่ของตนให้กลุ่มฟัง  กลุ่มที่น้องเจี๊ยบ สสอ.สระใครเป็นผู้จดบันทึกครื้นเครงมาก  ส่วนกลุ่มพี่ต๋อมแต๋ม  หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลสระใครก็ไม่น้อยหน้า  เฮฮาปานกัน....อารายมันจะสนุกขนาดนั้น

กลุ่มน้องอ๊อบ   คอกช้าง  พูดไปเรื่อย ๆ ฟังไปตามสบาย  แต่ก็ตั้งใจฟังกันและกันเป็นอย่างดี  ใช่ไหมคะ...พี่เชอรี่  แม่เจียว  แม่อร  พ่อสุนันท์  พี่พิณ...  ส่วนกลุ่มน้องกุ้ง  พี่แดงและน้องเหมียว..แฮ่ ๆ ไม่มีภาพ

จากนั้น  ให้กลุ่มคัดเลือกเรื่องที่ชอบ  เล่าให้ทั้งห้องฟังกลุ่มละ  2  เรื่อง  พ่อยูร อสม.ใหม่แต่เป็นข้าราชการเก่าเล่าเรื่องของพ่อกำนันสมบุญอย่างออกรส  ส่วนพี่จำปีสลับเล่าเรื่องกับพี่สาคร  สาระเข้มข้นในบรรยากาศสบาย

มาช่วยกันทำบันได  5  ขั้น  ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ  ให้บรรลุเป้าหมายสุดท้าย

 

บันไดขั้นที่ 1

บันไดขั้นที่ 2

บันไดขั้นที่ 3

บันไดขั้นที่ 4

ขั้นที่ 5

1. เจ้าหน้าที่ออก

   ให้ความรู้ศูนย์

   พัฒนาเด็กเล็ก

2. อสม. ผู้นำมีการ

   วางแผนร่วมกัน

    อสม.วางแผน

   ร่วมกับพ่อแม่

3. ให้ความรู้แก่พ่อ

   แม่ในศูนย์พัฒนา

   เด็กเล็ก  โรงเรียน

4. หมอและอสม.

   แนะนำการแปรง

   ฟันให้ผู้ปกครอง

   เด็ก

5. พ่อ แม่ เป็น

    ตัวอย่างในการ

    แปรงฟันและ

   ด้านอื่น ๆ

 

1. ลดอาหาร

    เครื่องดื่ม

    หวาน หรือ

    ลดความหวาน

    ในอาหารและ

    เครื่องดื่ม

2. รับประทาน

   อาหารให้ครบ

   5 หมู่

   โดยเฉพาะ

   ผัก ผลไม้

3. หมอแนะนำ

    หญิงหลัง

    คลอด

 

1. แนะนำให้

   เด็กแปรงฟัน

   ทุกวัน

2. แนะนำลูก

   หมั่นแปรง

   ฟันทุกวัน

   หลังอาหาร

   เช้า เที่ยง เย็น

3. ดูแลลูก    

   เล่านิทานให้

   ลูกฟัง

4. หมอไปตรวจ

    ตามหมู่บ้าน

    และโรงเรียน

5. เด็กกินผลไม้

    ผักสด 

 

 

 

1. จัดให้คุณหมอ อสม.

    ผู้นำชุมชนมาประชุมจึงจะ

    สำเร็จ

2. ผู้ใหญ่บ้าน  ผู้นำชุมชน

    ประกาศทางหอกระจาย

    ข่าว  ประกาศให้แปรงฟัน

3. กิจกรรมรวมกลุ่ม  กล้า

    แสดงออก  มีการแปรงฟัน

    พ่อ แม่ แปรงฟันกับเด็ก

     เล่นเกมแข่งขัน

4. หมั่นแปรงฟันให้ลูก

    ทุกวัน

5. แปรงฟันก่อนนอน

6. แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง

7. เด็กแปรงฟันทุกวันหลัง

     อาหาร

8. ลดความหวานในอาหาร

     และลดเครื่องดื่ม

9. ประกวดสุขภาพฟัน  กีฬา

 

1. พ่อ แม่ เอาใจใส่

    ทุกด้าน

2. อยู่ในสิ่งแวดล้อม

    ที่ดี

3. สุขภาพเด็ก

   แข็งแรง

4. พัฒนาการ

   สมวัย ฟัน 

   แข็งแรง

5. ฉลาด  ขยันการ

    เรียน เชื่อฟังพ่อ   

    แม่ ครูอาจารย์

    รักษา

    ขนบธรรมเนียม

6. กิริยามารยาทดี

    งาม พูดจาไพเราะ 

7. ชุมชนสุขภาพ

    แข็งแรง

 

 

 

ตัวแทนแต่ละหมู่บ้านมาติดชื่อหมู่บ้านที่ขั้นบันได  ให้รู้ว่า ณ วันนี้เราอยู่ขั้นไหน  จะได้นำไปเตรียมปีหน้าจะต้องทำอะไรเพิ่มเติม  ทีมหมอก็จะได้วางแผนออกปฏิบัติการให้เหมาะกับแต่ละบ้าน  ปรากฏว่ามี  6 หมู่บ้านที่อยู่ขั้น 4 แล้ว  สามารถเป็นตัวอย่างให้เพื่อน ๆ ได้ คือ

1. บ้านไชยา  ต.สระใคร

2. บ้านสระใครใต้  ต.สระใคร

3. บ้านโนนสง่า  ต.สระใคร

4. บ้านใหม่เอราวัณ  ต.คอกช้าง

5. บ้านโนนเชียงคูณ  ต.คอกช้าง

6. บ้านโนนแดง  ต.บ้านฝาง

ซึ่งทิศทาง คือ บ้านที่มีจุดแข็ง  ทีมชุมชนเข้มแข็งดูแลช่องปากลูกหลานเองได้ดีแล้ว  ได้ร่วมกันคิดว่าน่าจะเพิ่มเรื่องพัฒนาสมอง  พัฒนาการด้านอารมณ์  สังคม  ในปี 2554  ต่อไป

จากนั้น จึงกำหนดวันที่  29  กันยายน  2553  เป็นวันจัดตลาดนัด  ที่ โรงเรียนสระใครไชยานุเคาะห์  ซึ่ง  6  หมู่บ้านนั้น  จะนำเรื่องราวดีดีที่หมู่บ้านตนเอง  มาเล่าสู่ผู้ร่วมงานชมและฟัง  วางแผนว่าจะมีผู้ปกครองและเด็กร่วมงานประมาณ  300  คน  จาก  27  หมู่บ้าน  กิจกรรมหลัก คือ  แข่งขันผู้เลี้ยงดูแปรงฟันให้ลูกหลาน  2  รุ่น  อายุ  1 - 3  และ  3 - 5  ปี  มีเวลาที่ทีมชุมชนจะไปคัดตัวแทนทีมของหมู่บ้าน  ส่งชื่อผู้เข้าแข่งขันล่วงหน้า  แต่ละรุ่นประกอบด้วยผู้เลี้ยงดูและลูกหลาน  3  คู่  คะแนนรวมหมู่บ้านใดมากที่สุด  ก็จะได้รับรางวัลที่ 1 - 10  ผู้เข้าแข่งขันทุกคู่  มีรางวัลชมเชยมอบให้

เข้าใจกันดีแล้ว  ก็แยกย้ายไปเตรียม  รวมทั้ง ทีมชุมชนและ อสม.ที่จะมาช่วยกันจัดตลาดนัด  ส่วนบรรยากาศตลาดนัดจะคึกคักแค่ไหน  ผู้คนล้นหลามเกิน  300  คน  การแสดงความสามารถ  พัฒนาการของเด็ก ๆ จะสดชื่นเพียงใด  การมอบรางวัลจะระทึกขนาดไหน....โปรดติดตามตอนต่อไป

ราตรีสวสัดิ์นะคะ

ธิรัมภา

หมายเลขบันทึก: 408240เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2010 03:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2012 09:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เป็นกิจกรรมที่เยี่ยมมากครับ

การมีส่วนร่วมนั้นโดดเด่นมากครับ

  • ยินดีที่ได้รู้จักนะคะท่าน ผอ.
  • ขอบคุณมากค่ะ....กำลังใจมาเต็มเปี่ยมเลย

วันที่  29  กันยายน  2553  ตลาดนัดเครือข่ายชุมชนลูกหลานฟันดี  อำเภอสระใคร  ปีที่  3  ณ โรงเรียนสระใครไชยานุเคราะห์

  • สวัสดีครับ
  • แวะมาชื่นชมกิจกรรมดีๆ เรื่องสุขภาพฟัน สำคัญจริงๆ เป็นสิ่งต้องดูแล
  • เห็นกิจกรรมเป็นขั้นเป็นตอน ง่ายแก่การเข้าใจ เริ่มจาก พูดจาทักทาย ขยายความคิด ต่อด้วยให้ความรู้ นำไปสู่การปฏิบัติ และวัดประเมินผล ขอให้เป็นชุมชนฟันสุขภาพดีครับ
  • สวัสดีค่ะ  Ico32  คุณชำนาญ  ชื่อคุ้นมากเลยค่ะ
  • ขอบคุณนะคะที่แวะมา
  • เหมือนประสบการณ์ตรงกัน...เลยดูง่ายใช่ไหมคะ ? 
  • ใช้เวลาเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ  สะสมประสบการณ์ไปวันละหน่อย  อะไรทำแล้วไม่ได้ผลก็วิเคราะห์หาสาเหตุ  เก็บไว้แก้ไขป้องกันในคราวหน้า  อะไรดีแล้วยิ่งหาปัจจัยเสริมให้ดียิ่ง ๆ 
  • ต่อยอดแตกกิ่งไปในที่ ๆ พร้อม  มีความสุขชื่นใจดีค่ะ  เวลาเห็นดอกออกผล
  • ชุมชนที่ฟันยังไม่ดี...ก็ทำเรื่องฟัน
  • ชุมชนไหนฟันเข้มแข็งแล้ว  ก็เชื่อมกับเรื่องสมอง  พัฒนาการค่ะ  ทีมพร้อมแล้ว
  • ขอบคุณมากค่ะสำหรับกำลังใจ

แวะมาเยี่ยมและให้กำลังใจครับ

เพิ่งรู้ว่าตารางที่พี่อ้อเอาไปโชว์ที่โคราช ได้มาจากการประชุมนี้นี่เอง

ขอบคุณที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้น้องๆได้เดินตามครับ

หมอไตร

  • ขอบคุณนะคะที่มาเยี่ยม
  • และขอบคุณมาก ๆ ที่มาเป็นกรรมการ (เสื้อสีม่วง) ให้คะแนนผู้เลี้ยงดูแปรงฟันให้เด็ก  ในงานตลาดนัดเครือข่ายชุมชนลูกหลานฟันดี ปีที่ 3  ของอำเภอสระใคร
  • มิใช่แค่เดินตาม  จากการเข้าเครือข่ายด้วยกัน  เป็นการเรียนลัด  ฉะนั้น  จะเดิน  วื่งแซงหรือก้าวกระโดดก็ได้นะคะ
  • ตารางบันได  5  ขั้น  พี่พวงทองบอกว่าเป็นการประเมินผลแบบมีส่วนร่วม  พี่คิดว่าพอจะเป็นการประเมินผลร่วมระหว่างทีมสุขภาพและทีมชุมชนได้  แม้ขั้นตอนการทำอาจไม่วิชาการเป๊ะแบบ  EE  (Empowerment Evaluation)  แต่พี่มีความเข้าใจ  สบายใจ  และมีความสุขกับสิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้...เพียงเท่านี้  โดยไม่บังคับและบีบเค้นหัวสมองผู้ร่วมปฏิบัติการ 
  • ทุกเครื่องมือล่ะค่ะ  พอมาถึงมือพี่  มาถึงทีมที่อำเภอสระใครนี่  พี่วิเคราะห์ความเหมาะสม  ใส่คำว่าประยุกต์หน้าเครื่องมือเสมอ  แล้ววิธีการก็จะเป็นในแบบของสระใคร 
  • เช่นเดียวกัน  ใครจะเอาไปปรับใช้  ต้องมองลึกถึงความคิด  แนวคิดเบื้องหลังการทำงาน  รู้เงื่อนไขใดที่จะใช้ได้  ปัจจัยใดที่ต้องหลีกเลี่ยง  ที่สำคัญ....รู้จักตนเอง  ทีมตนเอง  องค์การที่ตนสังกัด  ชุมชนที่ตนเองอยู่และใช้ชีวิต  เมื่อนั้น  การออกแบบงานใด ๆ ก็จะเหมาะสม  เหมือนตัดเสื้อโดยดีไซเนอร์เฉพาะไงคะ  ค่อย ๆ เรียน ค่อย ๆ รู้  ผลลัพธ์ก็บรรลุด้วยความสวยงาม....ชื่นใจ
  • คราวต่อไปที่มีวงแลกเปลี่ยน....พี่คงมีโอกาสชื่นชมผลงานอำเภอสังคมบ้างนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท