ว่านโส้ ว่านยาน่าสนใจ ที่ อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร


ว่านยา คาถาโส้ เป็นชีวิตของคนชาติพันธุ์โส้ แห่งกุสุมาลย์

บ้านโพนแพง บ้านกุดฮู บ้านหนองหอย เป็นหมู่บ้าน ใน ต.โพธิไพศาล ขึ้นตรงกับ อบต.โพธิไพศาล อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร  เป็นถิ่นฐาน พื้นเพคนที่อพยพมากลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง เรียกว่า "โส้"...

โส้ คือกลุ่มน้อยเผ่าพันธุ์มอญ-เขมรกลุ่มหนึ่ง อาศัยอยู่ในหลายจังหวัดในภาคอีสานติดกับชายแดนลาว เทียบกับอีกหลายกลุ่ม ชาวโส้ยังคงเอกลักษณ์ของตนเองได้ดีไม่น้อย แม้ว่าส่วนใหญ่เริ่มจะถูกกลืนจากสังคมสมัยใหม่ไปแล้ว

อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร เป็นแหล่งหนึ่งที่มีพิพิธภัณฑ์ชาวโส้ ตั้งอยู่ในตัวอำเภอ แสดงเครื่องมือการทำมาหากิน อาวุธของชาวโส้ เป็นการสาธิต และแสดงกลุ่มชาติพันธุ์อีกกลุ่มทีมีความภาคภูมิใจกลุ่มของภาคอีสาน

บ้านโพนแพง เป็นหมู่บ้านที่มีผู้นำ(อดีตผู้ใหญ่บ้าน) ได้เรียนรู้โดยกระบวนการประชาพิจัย ค้นพบความรู้ ค้นพบรากเหง้า ในบ้านตนเอง ซึ่งเท่ากับตัวเอง ว่าตนเองเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งเหมือนกัน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่มีความหมายและคุณค่าต่อชีวิต และชุมชนมาตลอดรุ่นคน

พวกเขาได้แสดงให้เห็นว่า เขาไม่ได้ด้อยกว่าชาติพันธุ์อื่น เขามีความรู้ เรื่องการรักษาดูแลสุขภาพ เรื่องว่านยา  ซึ่งเก็บรวบรวมได้ไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ชนิด และเหย่า เป็นการดูแลคนป่วยด้วยพิธีกรรม เป็นเหมือนขวัญกำลังใจที่ทำให้คนเจ็บไข้ได้ป่วยมีอาการดีขึ้น

ปัจจุบัน "หมอเหย่า" ยังคงมีอยู่ คนที่เป็นปัจจุบันอยู่บ้าน กุดฮู เป็นทายาทหมอเหย่ารุ่นที่ ๓ ส่วนทายาทรุ่นที่ ๓ ยังไม่ได้รับการถ่ายทอด เรียกเป็น "ลูกแก้ว"

ส่วนพิธีการไหว้ผี ซึ่ง รายการพันแสงรุ้ง เคยมาถ่ายทำ แล้วนำไปออกอากาศทางไททีวี นั้นได้มาถ่ายทำที่บ้านหนองหอย หมู่บ้านที่ต่อจากบ้าน.โพนแพง และบ้านกุดฮู ไปอีกหมู่บ้าน ทำเรื่องพิธีไหว้หอผี ประจำกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่ง เป็น ผีมอ และหมอเหย่า ของชาวโส้ ละแวกนั้น

แม้ทุกหมู่บ้านจะยังไม่เชื่อมโยงความหมาย ของพิธีกรรมเหล่านี้ เข้าหากัน แต่ทุกหมู่บ้านยังมี ว่านยา คาถาโส้ เหมือนกัน ทุกคนไม่ค่อยมีโรคภัยไข้เจ็บอย่างหนัก ยกเว้นอุบัติเหตุที่ต้องไปโรงพยาบาล แต่ถ้าความเป็นอยู่ทั่วไป ก็อาศัยภูมิปัญญาดั้งเดิมที่เคยสืบทอดมาในการรักษาตัวเอง และครอบครัว อย่างไม่ต้องง้อ การแพทย์แผนปัจจุบัน

หมายเลขบันทึก: 407895เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2010 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับที่นำว่านยา คาถาโส้ มาเรียนรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท