การศึกษาตลอดชีวิต ของ บิล เกต เจ้าพ่อไมโครซอฟท์ และ สตีฟ จอฟ เจ้าพ่อแอ๊ปเปิล


บิล เกต และ สตีฟ จ๊อฟ ผู้สร้างผลงานจากการเรียนรู้ตลอดชีวิต

การศึกษาตลอดชีวิต ในความหมายตรงตัวคือ life long learning
หรืออีกความหมายหนึ่ง คือ post education เป็นการศึกษาที่สร้าง
สถาปนาให้ผู้เรียนเป็น subject มีเป้าหมายเพื่อคุณภาพชีวิต
ไม่ใช่การรับรองใด ๆ ทั้งสิ้น  และไม่ได้มีความหมายว่าเป็นการจัดการศึกษา
แต่เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนตะหนักเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ไม่มีสถาบัน
สถาบันอยู่ในอยาตนะของเรา ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ด้วยการพึ่งตนเอง
ไม่ต้องสร้างอาคาร ไม่ต้องใช้งบประมาณมาก ไ่ม่้ต้องใช้เทคโนโลยีอะไรมาก
ที่สำคัญที่สุด คือ การใช้ใจที่มุ่งมั่นต้องการเีรียนรู้ ความต้องการเรียนรู้นั้น
แสดงออกมาทางการตั้งคำถาม และแสวงหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ที่มากมาย
อนันตกาลบนพื้นภิภพนี้ อย่างไม่มีวันจบ

วันนี้จะมาศึกษาการศึกษาตลอดชีวิต ฝั่งของตะวันตกบ้าง มีตัวอย่างเด่น ๆ ของ
post education ก็คือเจ้าพ่อไมโครซอฟท์ ผู้คิดระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยม
และผู้คนทั้งโลกรู้จักดี เป็นเศรษฐีเพราะการคิดค้นต่อยอดหลัง post education
ทุกคนคงทราบดีว่า เขาลาออกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย
อันดับหนึ่งของอเมริกา และถือว่าเป็นอันดับหนึ่งของโลก บุคลากรที่จบจาก
มหาวิทยาลัยนี้ ล้วนแต่มีอิทธิพลในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก  การลาออกจาก
มหาวิทยาลัยของเขา ด้วยการศึกษาค้นคว้าในแนวทางของเขา วุฒิการศึกษา
ของเขาจริง ๆ ก็ มัธยมศึกษาตอนปลาย  ผลแห่งการค้นคว้าของเขาอยู่ที่ระบบ
ปฏิบัติการอันเป็นที่นิยมใช้ จากการขายผลิตภัณฑ์ทำให้เป็นมหาเศรษฐีของโลก
ภายหลัง ฮาร์วาร์ด จึงให้ปริญญาเอก กิติมศักดิ์แก่เขาผู้ปฏิเสธมหาวิทยาลัย
จึงสรุปได้เต็มปากเต็มคำว่า บิล เกตส์ เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นผู้สร้าง
สรรค์คุณภาพชีวิตของตนเอง และสังคม หลังจากที่เขารวยมากแล้วก็สร้างมูลนิธิ
เพื่อแบ่งปันความร่ำรวยคืนสู่สังคม

ต่อมา สตีฟ จอฟท์ เจ้าของระบบปฏิบัติการอีกระบบปฏิบัติการ มีวุฒิการศึกษา
แค่มัธยมศึกษาตอนปลาย หลังจากลาออกจากมหาวิทยาลัยรีด (reed college)
หลังจากนั้นก็ไปสร้างคลับคอมพิวเตอร์ที่บ้าน ก่อนที่จะไปก่่อตั้งบริษัทแอปเปิล
และเป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นคู่แข่งของไมโครซอฟท์ แสดงให้เห็นถึงการสร้างใหม่
ในงานสร้างสรรค์ของเขา เช่นเดียวกับบิล เกต คือมี post education เช่นเดียวกัน
ในงานทั้งสองคนที่เรียกว่า constructivism สร้างคุณภาพชีวิตให้ตนเองและสังคม
ไปในขณะเดียวกัน เขาให้ credit การศึกษาจากมหาวิทยาลัยรีด แค่แนวคิดในการ
สร้างฟอนท์ของระบบปฏิบัติการของเขาเท่านั้น

ดังนั้น post education ของทั้่งสองคนผู้ก่อสร้างผลงานด้วยวิธี constructivism
ด้วยการตั้งคำถามและสร้างองค์ความรู้ใหม่ ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ คำตอบใหม่ ๆ
ให้กับเทคโนโลยี และเป็นตัวอย่างคลาสสิคของการศึกษาตลอดชีวิตโดยแท้ 

หมายเลขบันทึก: 407232เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2010 07:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ

  • ขอบคุณในมิตรภาพ จากกัลยาณมิตร G2K
  • โชคดีมีสุขนะครับ

ขออนุญาตแบ่งปันความคิดเห็นนะครับ

แนวทางการศึกษาโดยการพึ่งพาตนเอง สำคัญที่สุดก็น่าจะอยู่ตรงที่การค้นพบตนเอง ค้นพบจุดยืน ความเหมาะสมในสิ่งที่เขาได้ทำ เจ้าตัวเขาอาจจะไม่ได้คิดถึงตรงนี้ แต่สิ่งที่เขาทำมันสามารถสร้างและตอบสนองสิ่งที่เขาต้องการได้ จากนั้นก็มีการต่อยอดองค์ความรู้และบูรณาการต่อๆไป จนเกิดเป็นสัมมาอาชีพที่เลี้ยงตนเองได้ และจุดดีอีกอย่างหนึ่งคือ เมื่อขึ้นสู่จุดสูงสุดเขามีความตระหนักที่จะเอื้อเฟื้อกลับคืนสู่สังคม ต่อผู้ด้อยโอกาส

คนตะวันตกเขาอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับค่านิยมในใบปริญญาเป็นสำคัญ ซึ่งตรงกันข้ามกับบ้านเราหากมีโอกาสได้เข้าไปเรียนแล้วเรียนไม่จบ ไม่มีหลักฐานแนบประกอบการสมัครงาน ถ้าคุณพ่อ-คุณแม่ไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการ ไม่ได้เป็นนักธุรกิจ หรือเส้นไม่ใหญ่พอ ก็คงไม่มีโอกาสได้เกิดในที่ดีๆแน่นอน

ขอบคุณที่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท