ปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น :หลักการซักประวัติในกลุ่มผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้อง


สำหรับนักศึกษาปี 4 ที่ฝึกปฏิบัติวิชารักษาโรคเบื้องต้น

       จากการที่ได้นิเทศนักศึกษาปี 4 พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ทำการซักข้อมูลไม่ละเอียดและยังไม่มีความชัดเจนเพียงพอ และอาการส่วนใหญ่ที่พบจะมาด้วยอาการปวดท้อง 

      จึงได้เขียนแนวทางในการซักประวัติอาการปวดท้อง มาให้นักศึกษาได้อ่านเป็นแนวทางในการซักประวัติ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

แนวทางการซักประวัติในกลุ่มผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้อง 

ปวดท้อง  (Abdominal pain)

                อาการปวดท้องเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จากหลายๆระบบ เช่น

  1.  ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ กระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ ตับอ่อน ม้าม ถุงน้ำดี
  2. ระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ
  3. ระบบสืบพันธ์ ได้แก่ ต่อมลูกหมาก มดลูก รังไข่ ท่อนำไข่
  4. ภาวะอื่นๆ ได้แก่ ไข้เลือดออก มาลาเรีย ไทฟอยด์

การซักประวัติอาการปวดท้อง ต้องซักถามให้ครบถ้วน ดังนี้

  1. ลักษณะ (Character) ปวดอย่างไร ตื้อๆหรือจี๊ดๆหรืออย่าง colic
  2. ความรุนแรง (Severity) ปวดมากน้อยแค่ไหน
  3. ตำแหน่ง (Situation) ที่ๆปวดลึก หรือตื้น
  4. ปวดอยู่กับที่ (localization)ปวดจุดเล็กๆจุดเดียวหรือจุดใหญ่
  5. อาการปวดร้าว(paths of reference) ปวดร้าวไปไหนบ้าง
  6. ระย ะเวลาที่ปวด(Duration)ปวดบ่อยแค่ไหน
  7. ความบ่อยของอาการปวด(Frequency)
  8. ปวดเวลาไหน เป็นพิเศษหรือเปล่า (Special time of cccurrence)
  9. อะไรทำให้อาการปวดเกิดขึ้น(Aggravating factors)
  10. อะไรทำให้อาการปวดหาย(relieving factors)
  11. มีอาการอะไรเกิดร่วมกับอาการปวดบ้าง(Associating symptoms)เช่นอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ ไข้ ประจำเดือนมาหรือไม่ ตกขาว ดีซ่าน ท้องเสีย ท้องแน่น ท้องอืด มีเสียงในท้องมากขึ้น มีน้ำลายไหล เหงื่อออก หน้าซีดจะเป็นลม หรือมีอาการทางปัสสาวะเช่น ถ้ามีผู้ป่วยปวดท้อง ควรถามถึงอาการปัสสาวะ และการขับถ่ายอุจจาระ เพราะอาจจะบอกได้ทันทีเลยว่าเป็นโรค  “ท้องเสีย”  หรือโรคทาง “ระบบทางเดินปัสสาวะ”

การซักประวัติ อีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กัน ใช้วิธี L O D C R A F P  สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่  http://gotoknow.org/blog/practice/394330

ตัวอย่าง การซักประวัติผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้อง ใช้วิธี L O D C R A F P

 

  • LOCATION ตำแหน่งที่ปวด ตื้น ลึก

  • ONSET(Mode of Onset) ลักษณะของการเกิดอาการเมื่อเริ่มเป็น

  • DURATION ระยะเวลาที่เกิดอาการ

  • CHARACTERISTICS ลักษณะของอาการ

                   -  QUALITY  ปวดจี๊ดๆ ปวดแน่น ปวดบีบๆ เป็นพักๆ

                   -  QUANTITY ความย่อยของอาการปวด

  • RADIATION ปวดร้าวไปที่ไหน

  • ASSOCIATED SYMPTOMS อาการอื่นๆร่วมด้วยไหมเช่น คลื่นไส้ อาเจียน ไข้ ปวดหัว เหงื่อแตก หน้าซีด จะเป็นลม อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะแสบขัด ตกขาว ประจำเดือนผิดปกติ

  • FACTORS ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเป็น

                  -  PRECIPITATING FACTOR ปวดมากเวลาไหนเป็นพิเศษ

                  -  AGGRAVAING  FACTOR

                  -  RELIEVING FACTOR อะไรทำให้ดีขึ้น

  • PROGRESSION การดำเนินการของอาการปวด ได้ไปรักษาที่ไหนมาก่อนไหม ปวดมากขึ้น น้อยลงอย่างไร

 

      เมื่อนักศึกษาได้อ่าน และทำความเข้าใจ นักศึกษาจะสามารถซักประวัติได้ครบถ้วน

     อาจารย์เป็นกำลังใจให้นักศึกษาทุกคน ในการทำ case study สู้ สู้ 

หมายเลขบันทึก: 407105เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2010 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท