กฏหมายอิสลาม ตอน ๒


คุณค่าองค์ประกอบหลัก 5 ประการ ในศาสนาอิสลาม

บทที่  2

คุณค่าองค์ประกอบหลัก  5  ประการ  ในศาสนาอิสลาม

ศาสนาอิสลาม  มีองค์ประกอบหลัก  5  ประการ                  ในภาษาอาหรับเรียกว่า   “أَرْكَانُ الإِسْلاَمِ”    ได้แก่

                (1)  การปฏิญาณตน  (اَلشَّهَادَةُ)

                (2)  การละหมาดฟัรฺฎ  5  เวลา

                (3)  การจ่ายซะกาฮฺ

                (4)  การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน

                (5)  การประกอบพิธีหัจญ์ ณ  บัยติลลาฮฺ อัล-หะรอม

                (หลักฐาน)  รายงานจากอบี  อับดิรฺเราะหฺมาน  อับดิลลาฮฺ  อิบนิ  อุมัร  อิบนิ  อัล-ค็อฏฏอบ  ว่า  :  ฉันเคยได้ยินรสูลุลลอฮฺ  ( )  กล่าวว่า  :

"بُنِيَ الإِسْلاَمُ عَلى خَمْسٍ  :  شَهَادَةِ أَنْ لاَ إِلهَ إِلاَّ الله وَأَنَّ مُحَمَّدًارَسُوْلُ اللهِ ،

وإقَامِ الصَّلاَةِ و إيْتَاءِ الزَّكَاةِ  ،  و حَجِّ الْبَيتِ  ،  وَصَوْمِ رَمَضَانَ"

رَواه البُخارِيّ ومُسْلِم

 

“อัล-อิสลามตั้งอยู่บนองค์ประกอบหลัก  5  ประการ  :  (คือ)  การปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าองค์ใดที่ถูกเคารพสักการะโดยเที่ยงแท้นอกจากอัลลอฮฺ  และแท้จริงมุฮัมมัดคือรสูลของอัลลอฮฺ  การดำรงละหมาด  การจ่ายซะกาฮฺ  การประกอบพิธีหัจญ์  ณ  บัยติลลาฮฺ อัล-หะรอม และการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน”  (รายงานโดย  บุคอรีและมุสลิม)

 

องค์ประกอบหลักทั้ง  5  ประการมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  ผู้ใดปฏิบัติทั้ง  5  ประการอย่างครบถ้วนสมบูรณ์  ผู้นั้นคือมุสลิมผู้มีศรัทธาที่สมบูรณ์  และผู้ใดละทิ้งทั้ง  5  ประการ  ผู้นั้นถือเป็นผู้ปฏิเสธ  (كَافِرٌ)  โดยเด็ดขาด  และผู้ใดปฏิเสธประการหนึ่งจาก  5  ประการนั้น  ผู้นั้นมิใช่มุสลิมโดยมติเห็นพ้อง  (اَلإِجْمَاعُ)  และผู้ใดมีความเชื่อในองค์ประกอบหลักทั้ง  5  ประการ  แต่ละเลยประการหนึ่งนอกเหนือจากการปฏิญาณตน  (اَلشَّهَادَةُ) โดยเกียจคร้าน   ผู้นั้นถือเป็นผู้ฝ่าฝืน  (فَاسِقٌ) และผู้ปฏิบัติเพียงรูปภายนอกและยืนยันด้วยลิ้นของตนโดยการเสแสร้ง  ผู้นั้นถือเป็นผู้กลับกลอก  (مُنَافِقُ)   

องค์ประกอบหลักของศาสนาอิสลาม  แบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ

                            (1)  วจีกรรม  (قَوْلِيَّةٌ)  คือการปฏิญาณตนด้วย  2  ประโยคนั้น

                            (2)  พฤติกรรม  (عَمَلِيَّةٌ)  คือองค์ประกอบหลักจากประการที่เหลือ  ซึ่งแบ่งเป็น  3  ลักษณะ คือ

                                                -  ทางร่างกาย بَدَنِيَّةٌ))  คือการละหมาดและการถือศีลอด

                                                - ทางทรัพย์สิน  (مَالِيَّةٌ)  คือการจ่ายซะกาฮฺ

                                                                        - ทางร่างกายและทรัพย์สิน  بَدَنِيَّةٌوَمَالِيَّةٌ))  คือการประกอบพิธีหัจญ์  และการตั้งเจตนา (اَلنِّيَّةُ)  ถือเป็นเงื่อนไขในทุกประการ 

 

คุณค่าของการปฏิญาณตน 

การปฏิญาณตน   เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดขององค์ประกอบหลักในศาสนาอิสลามกล่าวคือ  บุคคลจะไม่เข้าสู่สิ่งหนึ่งสิ่งใดจากหลักนิติธรรมอิสลาม  (จะไม่ถือว่าผู้นั้นเป็นมุสลิม)  นอกจากต้องมีการปฏิญาณตนเสียก่อน  และบุคคลจะไม่ออกจากศาสนา  (مُرْتَدٌّ)  นอกจากด้วยการกระทำสิ่งที่ขัดแย้งกับนัยของ  2  ประโยคที่ถูกกล่าวในการปฏิญาณตน  ด้วยเหตุนี้  นบีมุฮัมมัด  ( )  จึงไม่ได้เรียกร้องสู่สิ่งใดก่อนการปฏิญาณตน  และอัลลอฮฺจะไม่ทรงตอบรับการกระทำของผู้หนึ่งผู้ใดที่ไม่มีการปฏิญาณตน  และการกล่าวปฏิญาณด้วยประโยคที่ว่า  لاَ إلهَ اِلاَّالله” เป็นการให้เอกภาพต่อพระผู้ทรงได้รับการเคารพสักการะโดยเที่ยงแท้  ทรงเอกะ และไม่มีภาคีใดๆสำหรับพระองค์  ในการกล่าวประโยค ที่ว่า  "مُحَمَّدٌرَسُوْلُ اللهِ"    เป็นการยอมรับในความเป็นหนึ่งเดียวของวิถีทางที่จะนำสู่การรู้จักอัลลอฮฺ    และแนวทางในการเคารพสักการะต่อพระองค์ 

 

ฮิกมะฮฺของการปฏิญาณตน มีดังนี้

                                        - เป็นหนทางแห่งความผาสุกทั้งในโลกนี้และโลกหน้า  การเคร่งครัดในการปฏิบัติตามนัยของประโยคทั้งสองคือ  ความรอดพ้นจากนรกภูมิ  และการได้รับสรวงสวรรค์เป็นสิ่งตอบแทน 

                                        - เป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ที่สุดซึ่งอัลลอฮฺ  ทรงประทานแก่มวลบ่าวของพระองค์

                                        - เป็นบทรำลึกถึงอัลลอฮฺ  ที่ประเสริฐสุดอีกทั้งเป็นสิ่งที่ทำให้ตาชั่งแห่งคุณงามความดีมีน้ำหนักมากที่สุด 

นักวิชาการได้ระบุถึงเงื่อนไขในการเกิดคุณค่าของการกล่าวคำปฏิญาณตน มีดังต่อไปนี้

                                        (1)           มีความตระหนักรู้ถึงจุดมุ่งหมายและนัยของประโยคทั้งสอง  (اَلْعِلْمُ)

                                        (2)           มีความมั่นใจ  (اَلْيَقِيْنُ)  ไม่สงสัยคลางแคลง

                                        (3)           ยอมรับโดยดุษฎี  (اَلْقَبُوْلُ)

                                        (4)           น้อมนำปฏิบัติตาม  (اَلإِنْقِيًادُ)

                                        (5)           มีความสัตย์  اَلصِّدْقُ))

                                        (6)           มีความบริสุทธิ์ใจ  (اَلإِخْلاَصُ)

                                        (7)           มีความรัก  (اَلْمَحَبَّةُ)  ในประโยคทั้งสองนั้น   

คุณค่าของการละหมาด  (اَلصَّلاَةُ)

                การละหมาด    ถือเป็นการประกอบศาสนกิจที่สำคัญที่สุดสำหรับชาวมุสลิม  ในแต่ละวันชาวมุสลิมต้องปฏิบัติละหมาด  5  เวลา ซึ่งเรียกว่า ละหมาดฟัรฺฎุ ได้แก่   อัศ-ศุบฺห  อัซ-ซุฮฺร อัล-อัศรฺ อัล-มัฆริบ  และอัล-อิชาอฺ  การละหมาดถือเป็นเสาหลักของศาสนา  เป็นเครื่องหมายของผู้ศรัทธา  ผู้ใดละทิ้งการละหมาดโดยปฏิเสธถึงความจำเป็นของการละหมาด หรือดูถูกดูแคลนการละหมาด  ผู้นั้นถือเป็นผู้ปฏิเสธที่สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม  (مُرْتَدٌّ)  โดยผู้ปกครองของรัฐมุสลิมต้องสั่งใช้ให้ผู้นั้นสำนึกผิดและกลับเนื้อกลับตัว  تَوْبَةٌ)) ถ้าหากผู้นั้นขัดขืนและไม่ยอมสำนึกผิดย่อมมีโทษถึงขั้นประหารชีวิต  (ในกรณีที่ผู้นั้นอยู่ในประเทศมุสลิมและมีการบังคับใช้กฎหมายอิสลาม)  โดยถือว่าผู้นั้นเป็นผู้สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม  ไม่อนุญาตให้จัดการศพของเขาเช่นเดียวกับมุสลิม  และไม่อนุญาตให้ฝังศพของเขาในสุสานของชาวมุสลิม

          ส่วนผู้ใดละทิ้งการละหมาดเนื่องจากเกียจคร้านโดยเชื่อว่าการละหมาดนั้นเป็นภารกิจจำเป็น  ผู้นั้นจะต้องถูกบังคับจากผู้ปกครองของรัฐมุสลิมให้ทำการชดใช้การละหมาด (قَضَاءٌ) และสำนึกผิดจากกรณีฝ่าฝืนดังกล่าว  แต่ถ้าผู้นั้นไม่ชดใช้การละหมาดก็ให้ประหารชีวิตผู้นั้นเสียโดยถือเป็นโทษในลักษณะอาญา  (اَلْحَدُّ)  เนื่องจากเป็นการละทิ้งสิ่งที่เป็นภารกิจจำเป็น  (فَرْضٌ)  และถือว่าเขาผู้นั้นเป็นมุสลิมผู้ฝ่าฝืน  (فَاسِقٌ)  มิใช่ผู้สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม    โดยปฏิบัติกับศพของเขาเช่นเดียวกับมุสลิม

 

ฮิกมะฮฺของการละหมาด มีดังนี้

                        (1)        การละหมาดเป็นการชำระและขัดเกลาจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์

                        (2)        การละหมาดทำให้บ่าวผู้ภักดีมีความพร้อมสำหรับการเข้าเฝ้าอัลลอฮฺ ในโลกดุนยา  และได้ใกล้ชิดกับพระองค์ในโลกอาคิเราะฮฺ

                      (3)        การรักษาละหมาดอย่างเคร่งครัดและปฏิบัติอย่างครบถ้วนสมบูรณ์จะเป็นสิ่งที่หักห้ามผู้ปฏิบัติละหมาดจากสิ่งน่ารังเกียจทั้งหลาย  ตลอดจนสิ่งที่ผิดต่อหลักศีลธรรมอันดีงาม

                        (4)         การละหมาดคือเสาหลักของศาสนา และเป็นสิ่งที่แบ่งแยกระหว่างผู้ศรัทธากับ ผู้ปฏิเสธ

                        (5)        การละหมาดครบ  5  เวลาเป็นสิ่งที่ชำระให้ผู้ปฏิบัติละหมาดสะอาดบริสุทธิ์จากบาปเล็กทั้งหลาย ตราบใดที่ผู้ปฏิบัติละหมาดนั้นมิได้กระทำบาปใหญ่ 

 

คุณค่าของการจ่ายซะกาฮฺ

การจ่ายซะกาฮฺถือเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของศาสนาซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเป็นสิ่งวาญิบ  ผู้ใดปฏิเสธการเป็นวาญิบของการจ่ายซะกาฮฺ ผู้นั้นสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม และต้องได้รับโทษประหารชีวิต ยกเว้นกรณีที่ผู้นั้นเพิ่งเข้ารับอิสลาม  ส่วนผู้ที่ปฏิเสธการจ่ายซะกาฮฺในขณะที่มีความเชื่อว่าการจ่ายซะกาฮฺเป็นสิ่งวาญิบ  ผู้นั้นมีบาปและถือเป็นผู้ฝ่าฝืน    ผู้ปกครองของรัฐมุสลิมจะต้องบังคับเอาทรัพย์ซะกาฮฺจากผู้นั้น  และหากกลุ่มชนหนึ่งปฏิเสธที่จะจ่ายซะกาฮฺในขณะที่มีความเชื่อว่าการจ่ายซะกาฮฺเป็นสิ่งวาญิบโดยกลุ่มชนนั้นมีกองกำลังติดอาวุธ ให้ผู้ปกครองของรัฐมุสลิมทำการสู้รบกับพวกเขาจนกว่าจะยอมจ่ายซะกาฮฺ 

 

ฮิกมะฮฺของการจ่ายซะกาฮฺ  มีดังนี้

(1)     เป็นสิ่งที่ชำระให้ผู้จ่ายซะกาฮฺสะอาดหมดจดจากบาปโดยเฉพาะบาปที่เกิดจากความตระหนี่ถี่เหนียว

(2)    เป็นการฝึกให้มุสลิมมีจริยธรรมในการเสียสละและการเป็นผู้ให้ ตลอดจนเป็นการรักษาหัวใจให้พ้นจากการหลงดุนยา

(3)    เป็นการแสดงออกถึงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของอัลลอฮฺ  (  ) ที่มีต่อบ่าวและยกระดับจิตวิญญาณของผู้จ่ายซะกาฮฺให้สูงส่ง

(4)    เป็นการลดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยและนำมาซึ่งความรัก ความผูกผันระหว่างกลุ่มชนทั้งสอง  อีกทั้งยังเป็นการชำระให้ทรัพย์สินมีความบริสุทธิ์และทำให้ทรัพย์สินนั้นมีความจำเริญและเพิ่มพูน

(5)     เป็นการทำให้มีการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจและเป็นการประกันสังคม 

 

คุณค่าของการถือศีลอด  (اَلصَّوْمُ)

การถือศีลอด    ในเดือนเราะมะฎอนเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของศาสนาอิสลาม  ผู้ใดปฏิเสธการเป็นวาญิบของการถือศีลอด  ผู้นั้นเป็นผู้ปฏิเสธ  กล่าวคือ  ผู้นั้นจะได้รับการปฏิบัติเยี่ยงผู้สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม    โดยจะถูกเรียกร้องให้มีการสำนึกผิด    ถ้าหากผู้นั้นยังคงยืนกรานต้องถูกประหารชีวิตตามกฎหมายลักษณะอาญา ทั้งนี้ในกรณีที่ผู้นั้นมิใช่ผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามหรือ เติบโตในสถานที่ห่างไกลจากบรรดาผู้รู้ทางศาสนา  ส่วนผู้ใดละทิ้งการถือศีลอดโดยไม่มีอุปสรรคที่ศาสนาผ่อนผันและมิได้ปฏิเสธการเป็นวาญิบของการถือศีลอด  ผู้นั้นเป็นผู้ฝ่าฝืน    มิใช่เป็นผู้ปฏิเสธ    และผู้ปกครองรัฐมุสลิมต้องคุมขังผู้นั้นและห้ามมิให้ผู้นั้นได้รับอาหารและเครื่องดื่มในช่วงเวลากลางวัน  เพื่อให้มีการถือศีลอดเกิดขึ้นกับผู้นั้น  ถึงแม้จะเป็นเพียงรูปลักษณ์ภายนอกก็ตาม 

 

 

 

 ฮิกมะฮฺของการถือศีลอด    มีดังนี้

(1)  การถือศีลอดตามกฎเกณฑ์ที่ศาสนากำหนดไว้จะปลุกจิตสำนึกของผู้ศรัทธาให้รับรู้ถึงการสอดส่องดูแลของอัลลอฮฺ    และเตือนให้ผู้ศรัทธาตระหนักอยู่เสมอว่าตนเป็นบ่าวผู้ยอมจำนนต่อคำบัญชาและพระประสงค์ของพระองค์

(2)  การถือศีลอดเป็นการยกระดับจิตวิญญาณให้มีความสูงส่งและเป็นการฝึกให้มีความเคยชินต่อความอดทนอดกลั้นต่ออารมณ์ใฝ่ต่ำ

(3)  เป็นการกระทำให้ผู้ถือศีลอดรับรู้ถึงคุณค่าของความโปรดปรานที่อัลลอฮฺ  ( )  ทรงประทานให้  โดยบุคคลจะรู้ถึงคุณค่าของความอิ่มที่เกิดจากการรับประทานอาหารหรือการดื่มน้ำก็ต่อเมื่อเขามีความหิวโหยและกระหาย  อีกทั้งยังทำให้บุคคลรับรู้ถึงความลำบากของผู้ขัดสนที่ต้องประสบกับความหิวโหยอยู่เสมอ  อันนำไปสู่ความเมตตาสงสารแก่พวกเขาเหล่านั้น

(4)  มีข้อมูลทางการแพทย์และงานวิจัยทางวิชาการได้ยืนยันถึงคุณประโยชน์ของการอดอาหารและช่วงเวลาที่บุคคลประพฤติดีจนติดเป็นนิสัย   ดังนั้นการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนจึงเป็นกิจกรรมที่มีส่วนสำคัญต่อการสร้างสุขภาพพลานามัยและเสริมคุณลักษณะที่ดีแก่ผู้ถือศีลอด 

 

คุณค่าของการประกอบพิธีหัจฺญ์

               การประกอบพิธีหัจญ์สำหรับผู้ที่มีความสามารถและมีคุณสมบัติครบถ้วนตามศาสนบัญญัติถือเป็นวาญิบตามมติเห็นพ้องของประชาชาติมุสลิมและถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักของศาสนาอิสลาม  ผู้ใดปฏิเสธความเป็นการเป็นวาญิบของการประกอบพิธีหัจญ์ผู้นั้นสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม   ทั้งนี้เนื่องจากผู้นั้นได้ปฏิเสธสิ่งที่ได้รับการยืนยันเอาไว้อย่างเด็ดขาดในอัล-กุรฺอาน อัส-สุนนะฮฺ และอิจฺญมาอฺ  

 

ฮิกมะฮฺของการประกอบพิธีหัจญ์ มีดังนี้

(1)     ทุกขั้นตอนของการประกอบพิธีหัจญ์เป็นการแสดงออกถึงความเป็นบ่าวผู้นอบน้อม และให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺในการอิบาดะฮฺต่อพระองค์เพียงองค์เดียว

(2)    การเดินทางสู่บัยติลลาฮฺ  อัล-หะรอม และการประกอบพิธีกรรมตามที่ศาสนาบัญญัติไว้ในพิธีหัจญ์เป็นสิ่งที่มีรูปลักษณ์ในเชิงปริศนาธรรมสำหรับโลกหน้าและชีวิตหลังความตาย  ซึ่งรูปลักษณ์ดังกล่าวมีเป้าหมายให้ผู้ประกอบพิธีหัจญ์ได้รำลึกถึงบั้นปลายของชีวิต  การห่างไกลจากความเพลิดเพลินในชีวิตที่สุขสบาย        และเตรียมพร้อมสำหรับชีวิตอันเป็นนิรันดร์ในโลกหน้า

(3)    ในการเดินทางของผู้ประกอบพิธีหัจญ์เป็นการเปิดโลกทัศน์และความคิดให้กว้างไกล  และเป็นการฝึกให้มีความอดทนอดกลั้นต่อความลำบากในการดำเนินชีวิต

(4)    การประกอบพิธีหัจญ์เป็นโอกาสสำคัญที่มุสลิมทั่วโลกจะได้มาพบปะและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันโดยไม่มีการแบ่งแยกชาติพันธุ์ สีผิวและภาษา  ตลอดจนเป็นการร่วมชุมนุมของมนุษยชาติซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นสากลของหลักคำสอนอิสลามที่มีความเป็นภราดรภาพและความเสมอภาคอย่างเป็นรูปธรรม 

 

 

กิจกรรมท้ายบท

1.  แบ่งกลุ่มเพื่อระดมความคิดและนำเสนอ หัวข้อ “ องค์ประกอบหลัก  5  ประการในศาสนาอิสลาม” 

2.  อภิปรายประเด็นดังต่อไปนี้

2.1  กรณีของมุสลิมบางคนที่ไม่ให้ความสำคัญต่อการละหมาด  5  เวลาแต่เน้นเฉพาะเรื่องการถือศีลอดในเดือนรอมาฎอน

2.2  ทำไมในสังคมมุสลิมจึงไม่มีระบบการจัดเก็บและแจกจ่ายซะกาฮฺที่เป็นกิจจะลักษณะ  (เหตุผลและแนวทางที่เป็นไปได้) 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 406957เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2010 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
นายณัฐดนัย มังกะลัง เลขที่7 นายพัชรพล นิภา เลขที่8 น.ส.แพรวโพยม วริศราภูริชา เลขที่12 น.ส.นัสรีน หวังมานะ เลขที่29

เพราะ การละหมาดไม่มีใครรู้ว่าเราละหมาดครบหรือไม่ครบ แต่การถือศีลอดบางคนไม่ได้บวชแต่ที่บวชเพราะว่า อยากให้คนอื่นเห็นและชื่นชม และกลัวการโดนวิจารณ์ แต่การถือศีลอดครบนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี :)

ร๊อบใบ มัยหมาด เลขที่23 ,ชรินทร์ฤทธิ์ ช่างเรือ เลขที่ 10, ฮาริส หมาดหนุุด เลขที่ 27 ,อริสรา ประทาน เลขที่ 14

กฏหมายอิสลาม ตอน ๒

-เป็นเพราะการละทิ้งการละหมาดเนื่องจากเกียจคร้าน

-เป็นเพราะการทำงานเลยไม่ว่างที่จะทำการละหมาด

-ไม่เอาใจใส่ในการละหมาด

-ไม่เคร่งครัดในศาสนา

สิริกัญญา หญ้าปรัง เลขที่ 27 มาเรียม อัลรุไดนี เลขที่16 ฟารีดา หะยีอาลี เลขที่ 31 ปรียาพร วงมะเซาะ

บทที่ 2 กฎหมายอิสลาม

ทำไมบางคนถือศิลอดครบ แต่ละหมาดไม่ครบ 5เวลา

- เพราะการละหมาดต้องปฏิบัติทุกวัน แต่ถือศิลอดแค่ครั้งละปีจึงทำให้ละหมาดไม่ครบ

- บางคนถือศิลอดแล้วทำงานไปด้วยทำให้ไม่มีเวลาละหมาด

- เพราะความขี้เกียจ

- ความอ่อนแอในจิตใจ

- อิหม่านไม่เข้มแข็งพอ

ม. 5/1

นายณัฐดนัย มังกะลัง นายนิติพร วราชิต

เพราะไม่มีอิหม่านหรืออีหม่านไม่เข้มแข็ง บางที่ทำงานจนไม่มีเวลาทำงาน หรือบางที่ก็เกิดจากความเกียจคร้าน

ณัฐธิดา สมานแก้ว ชนกานต์ ชูเลิศ อามีน หมาดสกุล ฟูรกรณ์ เจ๊ะแม ม.5/1 เลขที่ 29,3,25,22

เพราะ

- อิหม่านไม่เข้มแข็งพอ

-เพราะความขี้เกียจ

- ความอ่อนแอในจิตใจ

-ไม่สบายร่างกายอ่อนแอ

-ทำงานจนไม่สนใจเวลาละหมาด

นิติพร วราชิต ม.5/1 เลขทื่ 18 นายณัฐดนัย มังกะลัง ม.5/1 เลขที่ 7 นาย พัชรพล นิภา เลขที่ 8

เพราะ

- อิหม่านไม่เข้มแข็งพอ

-เพราะความขี้เกียจ

- ความอ่อนแอในจิตใจ

-ไม่สบายร่างกายอ่อนแอ

-ทำงานจนไม่สนใจเวลาละหมาด

นาย พีระพงศ์ อบทอง เลขที่ 20 นส.อริสรา ประทาน เลขที่ 14 นาย นพดล หมัดอาดัม เลขที่ 17 นาย อัชอารีย์ บิลละเตะ เลขที่ 24

เพราะ

- อิหม่านไม่เข้มแข็งพอ

-เพราะความขี้เกียจ

- ความอ่อนแอในจิตใจ

-ไม่สบายร่างกายอ่อนแอ

-ทำงานจนไม่สนใจเวลาละหมาด

นาย พีระพงศ์ อบทอง เลขที่ 20 นส.อริสรา ประทาน เลขที่ 14 นาย นพดล หมัดอาดัม เลขที่ 17 นาย อัชอารีย์ บิลละเตะ เลขที่ 24 ม 5/1

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท