Diagnosis Related Groups (DRG)


DRGs

DRGs  เป็นระบบแบ่งกลุ่มผู้ป่วยอย่างหนึ่ง (Patient  Classification System) ที่อาศัยข้อมูลไม่มากนักมาจัดกลุ่มผู้ป่วยเพื่อบอกว่า  ผู้ป่วยในกลุ่มเดียวกันจะใช้เวลานอนในโรงพยาบาลใกล้เคียงกันและสิ้นเปลืองค่ารักษาใกล้เคียงกัน (resource use)

 

DRGs ทำงานโดยอาศัยการจัดกลุ่มรหัส ICD-10 และ ICD-9-CM ที่มีมากกว่า 10,000 รายการให้อยู่ในกลุ่มที่สามารถจัดการได้เหลือ 500+ กลุ่ม

 

ความเป็นมา : ถูกคิดค้นที่อเมริกา ประมาณ ปี ค.ศ. 1970 มีการทดลองใช้ครั้งแรก เพื่อใช้คิดค่าใช้จ่ายให้แก่โรคพยาบาลที่ให้การรักษาแก่ผู้สูงอายุในโครงการสวัสดิการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุ nการนำมาใช้ในประเทศไทย เริ่มต้นเป็นโครงการวิจัย โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2536

 

แนวคิด :  แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขที่ต้องการหาฟังก์ชั่น ของการผลิต (Production Function) ที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล nแนวความคิดทางวิศวกรรมที่ผลักดันให้ค้นหาวิธีวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรของหน่วยงานในระดับจุลภาคและนำมาสู่การแบ่งกลุ่มผู้ป่วย

 

ประโยชน์ที่จะได้รับ : 

 

  • ใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการจัดบริการให้ต้นทุนที่ต่ำที่สุดแต่คุณภาพมาตรฐานใกล้เคียงกัน
  • โรงพยาบาลสามารถใช้กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมในการปรับปรุง
    ประสิทธิภาพในเรื่อง การบริหารจัดการ และการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด เช่น
  • การทบทวนการใช้เตียงและการใช้ห้องผ่าตัดอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การปรับปรุงระบบงานต่าง ๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายภายในโรงพยาบาลเอง เพื่อลดต้นทุนต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น

ประโยชน์ในด้านการบริหาร :

 

 

  • ข้อมูลวินิจฉัยโรคร่วมสามารถคาดการณ์ความจำเป็นด้านการ จัดบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่จะเป็น ซึ่งผู้บริหารสาธารณสุขระดับสูง สามารถใช้ประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณทั้งในระดับส่วนกลางและภูมิภาค
  • นำข้อมูลมาช่วยการพัฒนาระบบประกันสุขภาพ คือ การทำให้ประชาชนไทยทุกคนสามารถเข้าถึง บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพได้มาตรฐานอย่างเสมอภาคกัน และขณะเดียวกันก็สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ในภาพรวมของประเทศได้มาตรฐานอย่างเสมอภาคกัน และในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในด้านสุขภาพ ในภาพรวมของประเทศได้nข้อมูลวินิจฉัยโรคร่วมสามารถคาดการณ์ความจำเป็นด้านการ จัดบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่จะเป็น ซึ่งผู้บริหารสาธารณสุขระดับสูง สามารถใช้ประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณทั้งในระดับส่วนกลางและภูมิภาค
  • นำข้อมูลมาช่วยการพัฒนาระบบประกันสุขภาพ คือ การทำให้ประชาชนไทยทุกคนสามารถเข้าถึง บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพได้มาตรฐานอย่างเสมอภาคกัน และขณะเดียวกันก็สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ในภาพรวมของประเทศได้มาตรฐานอย่างเสมอภาคกัน และในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในด้านสุขภาพ ในภาพรวมของประเทศได้

ประโยชน์ต่อประชาชน :

 

  • การนำ กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมมาใช้ในระบบงานสาธารณสุขจะทำให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาพยาบาลของตนเองและญาติได้ดีขึ้นรวมทั้งวางแผนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพกรณีที่ต้องการจ่ายเงินเอง รวมทั้งการซื้อประกันสุขภาพจากระบบต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กรวิชาชีพ

 

  • nการนำกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมมาใช้จะกระตุ้นให้องค์กรวิชาชีพต่าง ๆ มีการพัฒนามาตรฐาน ด้านการรักษาพยาบาลที่มีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น และทำให้การบริการเน้นที่ ผู้ป่วย (Patient Focus) มากขึ้น

คุณสมบัติสำคัญของ DRGs :

 

  • ใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วในระบบ (ICD-10/ICD-9-CM)
  • มีความคล้ายคลึงด้านต้นทุนในการรักษา
  • มีความคล้ายคลึงกันในทางคลินิก nฐานข้อมูลถูกปรับให้เป็นปัจจุบันทุกปี
  • มีใช้กันอย่างแพร่หลาย

องค์ประกอบของ DRGs :

 

  • ความหนักเบาของความเจ็บป่วย
  • การทำนายผลการรักษา
  • ความยากง่ายของการรักษา
  • ความจำเป็นในการผ่าตัดรักษา
  • ความต้องการใช้ทรัพยากรของโรงพยาบาล

ประโยชน์ทางตรง :

 

  • การจ่ายเงินกรณีค่ารักษาราคาสูง
  • การทบทวนคุณภาพ ข้อมูล และการรักษาพยาบาล
  • การจัดสูตรจัดสรรงบประมาณ

ประโยชน์ระยะยาว :

 

  • การประเมินความเป็นธรรมของการรับบริการ
  • ตรวจสอบการข้ามเขตรับบริการ
  • เครื่องมือของการปฏิรูปการจ่ายเงิน ระบบหลักประกันถ้วนหน้า

ข้อควรระวังก่อนนำไปใช้ประโยชน์ :

 

  • ความถูกต้องของข้อมูล
  • ความครบถ้วนของข้อมูล
  • ข้อมูลต้นทุน
  • ทฤษฎีพื้นฐานของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม

ผลกระทบของ DRG  (ด้านดี) :

 

  • สามารถคุมค่าใช้จ่ายได้ (Cost containment) สามารถบอกผู้ป่วยได้ว่าจะรักษาตัวในโรงพยาบาลนานประมาณเท่าใด
  • กระตุ้นประสิทธิภาพของร.พ. เช่น การใช้เตียง, การใช้ห้องผ่าตัด, การรับและจำหน่ายผู้ป่วย
  • ปรับระบบข้อมูลดีขึ้น โดยเฉพาะ  Medical record

ผลกระทบของ DRG  (ด้านลบ) :

 

  • เกิดการเบี่ยงเบนต้นทุน (Cost shifting)  หากทราบต้นทุนมาตรฐานอาจทำให้ รพ. มีการเบียงเบนต้นทุนให้มากขึ้นหรือลดลง
  • การกลับเข้านอน ร.พ. สูงขึ้น (Readmission)  ในกรณีที่ผู้ป่วยนอนเกินวันนอนมาตรฐาน แพทย์อาจสั่งจำหน่ายผู้ป่วยเร็วกว่าปกติ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการรักษาที่ลดลง 
  •  ข้อมูลเบี่ยงเบน (DRG creep) มีการแก้ไขข้อมูล เพื่อให้เข้ากลุ่ม Drgs

 

 

บทความต่อไปจะกล่าวถึง ชุดข้อมูลมาตราฐาน 12 แฟ้ม

 

อ้างอิงจาก  ภก.ชัยพร สุรเตมีย์กุล วันที่ 16 เมษายน 2548

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #drgs
หมายเลขบันทึก: 406796เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2010 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท