แลหลังการนิเทศการศึกษา บนเส้นทางสายนิเทศของศาสตราจารย์กิตติคุณ ฐะปะนีย์ นาครทรรพ (ตอนจบ)


   หลังจากที่ท่าน ห.ศน.อาจารย์หม่อมหลวงบุญเหลือย้ายไปเป็นอาจารย์ที่ วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน เมื่อ พ.ศ.2502 หลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา ได้เข้ามาทำหน้าที่หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์เสียเอง เป็นเวลา 3 เดือน แล้วให้ ศึกษานิเทศก์ เลือก ห.ศน.กันเอง ใช้แบบการเลือก "คาร์ดินัล" โดยแจกกระดาษชิ้นเล็กๆให้ ศน.เขียนชื่อคนที่จะเลือก  ในที่สุดศาสตราจารย์กิตตคุณ ฐะปะนีย์ก็ได้รับเลือกเป็น ห.ศน. และทำหน้าที่นี้จนถึง พ.ศ.2516 จึงย้ายไปเป็นอาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปลี่ยนจากการทำงานพัฒนาครู ไปสู่การทำงานผลิตครู
   
       พ.ศ.2498-2510 ได้มีการย้ายหน่วยศึกษานิเทศก์ 4 ครั้ง ตอนที่ท่านเป็น ห.ศน.ใหม่ๆ หน่วย ศน.มาตั้งที่บริเวณสนามเสือป่า  และครั้งสุดท้ายก็ได้ย้ายไปอยู่ที่บริเวณโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ในสมัยท่านอธิบดีสนั่น  สุมิตร  ซึ่งหน่วยศน.ที่นี่มีความสมบูรณ์มาก มีทั้งสำนักงาน สถานที่อบรมครู และหอพักสำหรับครูที่เข้ามาอบรมอยู่ในอาคารหลังเดียวกัน
    

       ท่านบอกว่าที่ใช้หัวเรื่องบันทึกว่า "เส้นทางสายนิเทศ" นั้น เพราะผู้ที่เข้ามาเดินอยู่บนเส้นทางสายนิเทศแล้วก็จะต้องทำใจยอมรับสถานการณ์ที่ตนกำลังเผชิญอยู่  และต้องหาทางทำงานในหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบให้ได้ผลดีที่สุด  แม้งานบางอย่างจะเข้าลักษณะ "ปิดทองหลังพระ" เราก็ต้องเต็มใจทำ เพราะเรามีจุดหมายอยู่ที่ความเจริญของเด็กที่จะเติบโตเป็นพลเมืองดีของชาติต่อไปในภายภาคหน้า
    
     ศาสตราจารย์กิตติคุณ ฐะปะนีย์  ได้บันทึกในตอนท้ายที่เป็นคติเตือนใจสำหรับศึกษานิเทศก์ไว้ว่า
     "ในฐานะที่เคยเดินบนเส้นทางสายนี้มาก่อน  ขอเสนอ "ลายแทง" ในการทำงานดังนี้
     1.เตรียมตัวพร้อม  ในด้านต่างๆ เช่น สุขภาพกาย-ใจ  วิทยาการ  เอกสาร  อุปกรณ์
     2.ยอมรับฟัง  คำแนะนำ คำติชม วิพากษ์วิจารณ์ เพื่อปรับปรุงตนเอง
     3.ไม่ทิ้งหลัก  มีทั้งหลักวิชา หลักการ หลักธรรม หลักฐาน
     4.รักค้นคว้า  ค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ เพื่อให้ทันเหตุการณ์ ทันโลก ทันคน
     5.เอื้ออาทร  ต่อหมู่คณะ ต่อโรงเรียน ผู้บริหาร ครู นักเรียน และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับทุกฝ่ายเพื่อผลดีของงาน"

หมายเลขบันทึก: 406773เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2010 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ท่านอาจารย์ธเนศค่ะ

      ครูตาชอบ "ลายแทงการทำงาน" ค่ะ  ใช้ได้กับทุกงาน ทุกคน ทุกยุค ทุกสมัยเลยนะคะ โดยเฉพาะงานจัดการศึกษาเพื่อเด็กไทยค่ะ 


     "ในฐานะที่เคยเดินบนเส้นทางสายนี้มาก่อน  ขอเสนอ "ลายแทง" ในการทำงานดังนี้
     1.เตรียมตัวพร้อม  ในด้านต่างๆ เช่น สุขภาพกาย-ใจ  วิทยาการ  เอกสาร  อุปกรณ์
     2.ยอมรับฟัง  คำแนะนำ คำติชม วิพากษ์วิจารณ์ เพื่อปรับปรุงตนเอง
     3.ไม่ทิ้งหลัก  มีทั้งหลักวิชา หลักการ หลักธรรม หลักฐาน
     4.รักค้นคว้า  ค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ เพื่อให้ทันเหตุการณ์ ทันโลก ทันคน
     5.เอื้ออาทร  ต่อหมู่คณะ ต่อโรงเรียน ผู้บริหาร ครู นักเรียน และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับทุกฝ่ายเพื่อผลดีของงาน"

         วันนี้จัดโครงการสัมมนาวิชาการ  จะนำข้อคิดนี้แบ่งปันที่ประชุมค่ะ

  • ขอบพระคุณเรื่องเล่าที่ดีงามนะคะ 

ลายแทงนี้น่าจะทันสมัยและใช้ได้ในการพัฒนาตนเองทุกคนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท