ทฤษฏีบ่อเกิดความรู้ 3 ปฏิบัตินิยม (Pragmatism)


ทำแล้วจึงเกิดการเรียนรู้

ปฏิบัติ นิยม (Pragmatism)

ปฏิบัตินิยมเชื่อว่าความรู้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต  ความคิดเป็นเครื่องมือของการกระทำ  ความคิดที่เอาไปใช้ไม่ได้ก็เป็นสิ่งไร้ความหมายการรู้  การจำ  และจิตนาการก็คือ  การปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมของสิ่งที่มีชีวิตนั้นเองความคิดมิใช่เป็นเพียงสิ่งที่มีในจิต   หรือเป็นเพียงการถ่ายแบบความจริงเท่านั้น   แต่เป็นสิ่งที่มีพัฒนาการไปตามพัฒนาการของชีวิต   และเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับความเกี่ยวข้องกันของอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อม  สติปัญญาหรือความรู้เป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์บรรลุเป้าหมายของชีวิต  ปฏิบัตินิยมเห็นว่าในขณะที่เรายังไม่รู้โครงสร้างของมนัส  (ความคิด)  จึงควรยึดประสิทธิภาพในการปฏิบัติไปก่อน  นักปรัชญาปฏิบัตินิยมที่สำคัญมี  3  ท่าน  และทั้ง  3  ท่าน  เป็นชาวอเมริกัน  ซึ่งได้แก่

1.  ชาเลส  แซนเดอร์  เพิร์ส  (Charles  Sanders  Peirce)  เป็นนักปรัชญาปฏิบัตินิยมที่เชื่อว่าประสิทธิภาพเป็นตัวกำหนดความจิรง  เพิร์สได้กำหนดวิธีรู้ก่อนแล้วจึงจะรู้ว่าอะไรจริง  ซึ่งก็คือวิธีวิทยาศาสตร์นั้นเอง   นอกจากนี้เพิร์สได้เสนอทฤษฎีความหาย  (theory  of  sign)  และถือว่าทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีตรรกวิทยา (logic  theory)  ทฤษฎีนี้ถือว่าพฤติกรรมเป็นเพียงส่วนเสริมของความหมาย  คุณสมบัติต่าง ๆ อันเป็นวัตถุเป็นแก่นของความหมาย  และเห็นว่าควรมีภาษาที่เป็นมาตรฐานสำหรับมนุษย์ทุกคน

2.  วิลเลียม  เจมส์  (William  James)  เป็นนักปฎิบัตินิยมที่แท้จริงเจมส์  ถือว่ามนุษย์ควรยึดความคิดของตนเองในแง่ที่เห็นว่าจะมีประสิทธิภาพในทางปฏิบัติมากที่สุด  เขาจึงเป็นนักปฏิวัตินิยมที่แท้จริงในแง่นี้

3.  จอห์น  ดิวอี้  (John  Dewey)  เป็นนักปฏิบัตินิยมแบบอุปกรณ์นิยม (Instrumentalist)  เพราะสอนว่ามนัส (ความคิด)  ของมนุษย์ฉลาดขึ้นโดยการปฏิบัติ  จึงสรุปเป็นวิธีสอนว่าเรียนโดยการปฏิบัติ (learning  by  doing)  ดิวอี้ถือว่าความจริงอยู่ที่ประสิทธิภาพของการให้ปัญหาเป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีพดังนั้นต้องฝึก

นักปรัชญาปฏิบัตินิยมทั้งสามท่านก่อนมีทัศนะแตกต่างกันบ้าง  แต่หลักการใหญ่ ๆ นั้นไม่แตกต่างกัน  กล่าวคือ  ปฏิบัตินิยมมีทัศนะว่าโลกและสิ่งต่าง ๆ ในโลกเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง  ความรู้ได้มาจากประสบการณ์  ไม่ใช่สิ่งที่ไหลเข้ามาในทางจิตหรือเป็นสิ่งที่ธรรมชาติให้แก่จิต   แต่จิตของเราเป็นตัวดำเนินการในการรับรู้  การเข้าใจ  และการเชื่อ  ฯลฯ  เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 406718เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2010 20:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อาจารย์ครับ ชื่อ Charles อ่านว่า ชาลส์ ครับ ไม่ใช่ ชาเลส

สวัสดีครับอาจารย์ pragmatism ปรัชญาปฏิบัตินิยม

ส่วนใหญเป็นปรัชญาที่ใช้ใน อาชีวะศึกษาครับ

ส่วนใหญในประเทศไทยไม่ค่อยได้ใช้เพราะไม่ค่อยลงทุนครับ

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีดีครับผม

อาจารย์คะโครมันยองย้ายไปอยู่

Learners.in.thแล้วนะคะชื่อโครมันยองเหมือนเดิมคะ

อย่าลืมเข้าไปทักทายบ้างนะคะ

เข้ามาทักทายอาจารย์ยามดึก

ฝันดีนะคะ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท