เรื่อง ถ้า “ลูกตาย” คุณคิดว่า คุณจะมีทัศนคติ มุมมองเช่นไร ต่อการตายของลูก


มันเป็นของเวร เป็นของกรรม ของประเทศชาติ ของสังคมไทย

เรื่อง ถ้า “ลูกตาย” คุณคิดว่า คุณจะมีทัศนคติ มุมมองเช่นไร ต่อการตายของลูก

        การสูญเสียใดเล่า การเสียใจอะไรเล่า ที่สามารถทำให้ตัวเราเอง รู้สึกเสียใจ ทรมารหัวใจ ปวดหัวใจ โศกเศร้า สะเทือนใจ ได้มากที่สุดในชีวิต ใช้บ้านถูกไฟไหม้หรือเปล่า รถหายหรอ หรือ ว่าอกหัก รักคุด สอบตก ตกงาน  เปล่าเลย การสูญเสีย เสียใจกับเรื่องเล่านี้ ว่าอาจคิดได้เสียแล้วเสียไป หาเอาใหม่ สร้างกำลังใจ กันใหม่ได้

        จากประสบการณ์ชีวิต ประสบการณ์การทำงาน การสูญเสีย ของคนปกติ ของวิญญูชนโดยทั้วไป คงไม่มีการสูญเสียได้ ที่ทำให้รู้สึกเสียใจ โศกเศร้า เป็นทุกข์ ทรมารใจ เท่ากับการ สูญเสียชีวิต หรือ การตายของคนที่เรารัก  เป็นคนในครอบครับ เช่น พ่อแม่ ญาติ ผู้ใหญ่ที่สนิท ชิดใกล้กัน เมื่อท่านต้องสูญเสียชีวิต จากเราไป คงทำให้ระลึกถึงบุญคุณ ความรักความผูกพัน ที่ท่านได้เลี้ยงดูมา สั่งสอนมา เมื่อครั้งในวัยเด็ก

        แต่ถ้าต้องเป็นการสูญเสียลูกๆไป ก่อนละ มันคงทำให้รู้สึก หมดหวัง สูญสินความฝัน สินหวัง ที่มีต่อลูกๆต่ออนาคต อาจทำให้รู้สึกอนาคตว่างเปล่า หมดกำลังใจ โทษตัวเองที่ดูแลลูกไม่ดี หรือ เห็นใจ สงสารลูกๆที่มีเวลาใช้ชีวิตน้อย ที่ต้องสูญเสียชีวิต ไปก่อน ตัวผู้ปกครองเอง

       บทความนี้ อยากแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ จากการทำงาน เป็นข้อสังเกตุที่พบ เป็นมุมมองทัศนคติ ของตัวเอง ซึ่งอาจไม่ถูกต้องทั้งหมด เป็นเรื่องของ มุมมอง ทัศนคติของผู้ปกครอง ต่อการตาย ของลูกๆ ไม่ว่า หญิง หรือ ชาย จากสาเหตุภายนอก ที่ไม่ใช้โรค เช่น จมน้ำ อุบัติเหตุจราจร ทะเลาะวิวาท ของเล่น หรือ เมล็ดผลไม้ ติดค่อ ตกจากที่สูง และอื่น ๆ ที่ทำให้เสียชีวิต ที่ไม่ใช่เกิดจากโรค

       พบว่า การสูญเสียชีวิตของลูกๆ ของเด็กในลักษณะดังกล่าว มีผู้ปกครอง ที่มีค่านิยม ทางความคิด ทางความเชื่อ ที่ไม่น่าถูกต้อง ควรปรับแต่ง ความคิด ความเข้าใจ ต่อการสูญเสีย ลูกๆ ให้ถูกเหมาะสม ให้เป็นอุทาหรณ์ เป็นบทเรียน  ที่มีคุณค่า ต่อครอบครัว ต่อเพื่อนบ้าน ต่อชุมชน ต่อสังคม ต่อไป

       จากประสบการณ์ทำงานเก็บข้อมูลการเสียชีวิตของเด็ก จากสาเหตุภายนอก ซึ่ง ได้ลงไปเก็บข้อมูลพูดคุยกับผู้ปกครอง ถึงลักษณะการเสียชีวิตของเด็ก ร้อยกว่าราย ได้พบว่า ผู้ปกครอง มีทัศนคติ ความเชื่อ ต่อการตาย ของลูกๆ ของเด็ก ที่พบว่าไม่เหมาะสม ซึ่งแน่นอนผู้ปกครองของเด็กที่เสียชีวิต ทุกๆคน มีความเสียใจ โศกเศร้า ทุกข์ใจ ที่คงไม่มีอะไรไปวัดได้ ไปบอกได้ว่า ผู้ปกครองท่านไหน เสียใจเป็นทุกข์ มากน้อยกว่ากันได้

        แต่ถ้าให้แบ่งแยกออกในเรื่อง ทัศนคติ มุมมอง ลักษณะความรู้สึก ที่ผู้ปกครอง อธิบายต่อการเสียชีวิตของลูกๆ พบว่าสามารถแบ่งออกมา ได้ 3 ลักษณะ ใหญ่ๆ และ ถ้านำคิดประมาณเป็นเปอร์เซนต์จากข้อมูลที่เก็บจากผู้ปกครองทั้งหมดร้อยกว่าราย แยกทั้ง 3 ลักษณะได้ดังนี้          

        ลักษณะที่ 1 มีผู้ปกครอง ที่มีความรู้สึกมีลักษณะการอธิบาย สาเหตุที่ลูกตัวเองเสียชีวิต เพราะ ทำบุญมาเพียงแค่นี้ หมดเวรหมดกรรม โทษ เวรกรรม มีผีมาเอาไป เป็นการอธิบายแสดงความรู้สึก ไปในทางความเชื่อทางศาสนา มีประมาณ 60 % ซึ่งไปสอดคล้องกับโฆษณาที่ออกฉายผ่านทางโทรทัศน์เร็วๆนี้ เป็นเรื่องของเด็กวัยรุ่น 2 คน ที่ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ไม่สวมหมวกกันน็อค และได้ประสบอุบัติเหตุ และได้มีการพูดออกมาว่า อุติเหตุอย่าโทษกรรม อุบัติเหตุไม่ใช่เรื่องเวรกรรม พูดประมาณนี้

         ลักษณะที่ 2 มีผู้ปกครองที่มีความรู้สึกมีลักษณะการอธิบาย สาเหตุที่ลูกตัวเองเสียชีวิต เพราะ เป็นเหตุสุดวิสัย คาดไม่ถึง เป็นเรื่องบังเอิน ไม่คิดว่าลูกจะตายจากสาเหตุนี้ได้ โทษดวงชะตาไม่ดี  มีประมาณ 20 %

         ลักษณะที่ 3 มีผู้ปกครอง ที่มีความรู้สึกมีลักษณะการอธิบาย สาเหตุที่ลูกตัวเองเสียชีวิต เพราะ ความประมาท เคยเตือนลูก หรือ เคยบอกคนดูแลแล้ว ระมัดระวังแล้ว เป็นความผิดของตัวเอง สามารถอธิบาย วิเคราะห์ อธิบายสาเหตุการเสียชีวิตของลูกได้ว่า มีจุดอ่อน ความผิดพาด เกิดจากอะไร มีประมาณ 20 %

          ถ้าสรุปออกมาตามลักษณะที่แบ่งแยกไว้ การเสียชีวิตของเด็กคนหนึ่ง มีผู้ปกครองถึง 60 % ที่มีทัศนคติต่อสาเหตุการเสียชีวิตของลูกเป็น เรื่องเวรกรรม ถ้ามาร่วมกับ 20% ของผู้ปกครองที่มีทัศนคติ ต่อการเสียชีวิตของลูก เป็นเรื่องของเหตุสุดวิสัย คาดไม่ถึง เป็นเรื่องบังเอิน ไม่คิดว่าลูกจะตายจากสาเหตุนี้ได้

           ซึ่งถ้าร่วมทั้ง 2 กรณี มีถึง 80 % ที่ผู้ปกครอง มีทัศนคติ ที่ส่วนตัวมองว่าเป็นแนวคิด แนวความเชื่อ ทัศนคติ ที่ ไม่ควรคิดเชื่อเช่นนี้ มันไม่เกิดประโยชน์ต่อส่วนร่วม ต่อสังคม มันเป็นการคิดแบบทำใจ เข้าใจสถานการณ์ อธิบายเหตุการณ์ ที่ลูกๆของตัวเองต้องมาเสียชีวิต มันง่ายในการอธิบายไป

           ซึ่งผู้ปกครองกลุ่มนี้ มีลักษณะศึกษาหาความรู้ในการเลี้ยงดูลูกส่วนใหญ่ จาก ญาติพี่น้อง จากเพื่อนบ้านใกล้เคียง ที่อยู่ในระแวก อยู่ในชุมชนเดียวกัน

           ส่วนอีก 20 % ของผู้ปกครอง ที่สามารถอธิบายถึงสาเหตุ การเสียชีวิตของลูกอย่างมีเหตุผล อย่างที่บอกว่าระมัดระวังแล้ว หรือ เตือนลูกและคนดูแลไว้แล้ว รู้ว่าความผิดพาดอยู่ที่ตรงไหน จุดอ่อนอยู่ตรงไหน

            ผู้ปกครองกลุ่มนี้ มีลักษณะการศึกษาหาความรู้ในการเลี้ยงดูลูก จากหนังสือเด็ก ต่างๆ จากคุณหมอ จากอินเตอร์เน็ต และอื่นอยู่ประจำ เพิ่มเติม จาก ญาติพี่น้อง คนในระแวกบ้านในชุมชน

             ทำให้มีความคิดรู้สึกว่า จากการเก็บข้อมูลการเสียชีวิตของเด็กมาร้อยกว่าราย มีผู้ปกครองถึง      80 % ที่มีทัศนคติ ความเชื่อ ต่อการเสียชีวิตของลูก ที่เป็นเรื่องของ เวรกรรม บุญแต่ชาติก่อน หรือ เหตุสุดวิสัย บังเอิน ดวงไม่ดี คาดไม่ถึงว่าลูกจะมาเสียชีวิต จากเหตุการณ์อย่างนี้ได้ เหตุผลทั้งหมดนี้ มันเป็นการมีทัศนคติ การอธิบายแสดงความรู้สึก ให้เหตุผลต่อคนอื่นให้ได้รับรู้ถึงการเสียชีวิตของเด็กของลูก ที่ไม่น่าจะใช่การอธิบายที่ควรจะเป็น และได้ประโยชน์น้อย ไม่ได้บทเรียน เป็นอุทาหรณ์ ที่ดีต่อ สังคม ชุมชน ต่อเด็กรุ่นหลังต่อไป

             ซึ่งมันสะท้อนถึงการดำเนินชีวิตของเด็กคนหนึ่ง ที่ไม่ได้มีคุณค่า ไม่ได้มีประโยชน์อะไร ทั้งก่อน และ หลังการเสียชีวิตของเด็กนั้นเลย ก่อนการเสียชีวิตของเด็กคนนั้น คือ ผู้ปกครองมีทัศนคติและมีพฤติกรรม ในการเลี้ยงดูเด็ก คงเหมือนปล่อยไปตามธรรมชาติ ตามเวรตามกรรม โชคชะตา เหตุสุดวิสัย เรื่องบังเอิน เรื่องที่คาดไม่ถึง มากไปหรือเปล่า เพราะ สาเหตุการเสียชีวิตต่างๆนั้น เช่น  การจมน้ำของเด็กลักษณะต่างๆ การเสียชีวิตของเด็กจากอุบัติเหตุจราจร ทั้งจาก รถมอเตอร์ไซค์ จากรถยนต์ ในลักษณะต่างๆ การตกจากที่สูง ขาดอากาศจากสิ่งของ ของเล่น ติดคอ ไฟไหม้ และอื่นๆ

              ซึ่งถ้าผู้ปกครองของเด็กที่เสียชีวิตนั้น ได้ศึกษาก่อนถึงเรื่องความปลอดภัยในแต่ช่วงระยะเวลาอายุของเด็ก คงสามารถป้องกันระวังในเบื้องต้น ก่อนการเสียชีวิตได้ เพราะการเสียชีวิต ในลักษณะที่กล่าวมา เป็นลักษณะการเสียชีวิต ของเด็ก ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ซ้ำๆซากๆ เป็นลักษณะการเสียชีวิตรูปแบบเดิมๆ มันเป็นเรื่องที่น่าเสียใจ ที่ต้องพบการเสียชีวิตของเด็ก ในลักษณะเดิมๆ เป็นประจำ

             หรือหลังจากที่เด็กเสียชีวิตแล้ว ผู้ปกครองของเด็กที่เสียชีวิต มีทัศนคติ โทษคิดไปที่ เป็นเรื่องเวรกรรม ตามเวรตามกรรม ทำบุญมาแค่นี้ สุดวิสัย บังเอิน คาดไม่ถึง ดวงไม่ดี ถ้าผู้ปกครองเชื่อคิดอย่างนี้ มันคงเป็น บทเรียน เป็นตัวอย่างการเสียชีวิตที่ไม่ดี ไม่มีประโยชน์ กับผู้ปกครองท่านอื่นๆ ต่อชุมชน ต่อสังคม เพราะ สังคม ชุมชน ไม่ควรปล่อยให้เด็กต้องมาเสียชีวิต ในลักษณะเดิมๆ ซ้ำๆซากๆ โดยไม่คิดป้องกันแกไข้ ไม่นำมาเป็นบทเรียน ไม่นำมาเป็นอุทาหรณ์ ให้คนที่จะเป็น พ่อแม่คนในอนาคตได้ศึกษาและป้องกัน ก่อนที่จะต้อง โศกเศร้า เสียใจ ทุกข์ใจ จากการจากไปของลูกๆ

              เพราะถึงแม้จะมีผู้ปกครองที่ลูกเสียชีวิตถึง 20 % ที่อธิบายสาเหตุการเสียชีวิตของลูกได้อย่างดี มีการศึกษาป้องกัน ระมัดระวัง ตักเตือน แล้ว แต่ลูกๆยังสามารถสูญเสียชีวิตจากไปได้ จึงมีมุมมองว่าเป็นเรื่องที่น่ากลัว ที่ถ้ามีผู้ปกครองของเด็กที่เสียชีวิต ที่ตัวเองประมาณไว้ถึง 80% ที่มองการเสียชีวิตของเด็กเป็น เรื่องของเวรกรรม ทำบุญมาแค่นี้ เป็นเหตุบังเอิน สุดวิสัย คาดไม่ถึง เพราะ มันอาจเป็นทัศนคติ ที่สะท้อนไปถึงสังคม สะท้อนไปถึงระดับประเทศได้ ที่ว่าสังคมไทยบ้านเราผู้ปกครองมีทัศนคติ ต่อการเสียชีวิตของลูกของเด็กเป็นอย่างนี้ ปล่อยให้เด็กเติบโตตามธรรมชาติ ตามเวรตามกรรม และ เมื่อมีเด็กในครอบครัว มีลูก มีหลานเสียชีวิต ยังเป็นที่เข้าใจได้ว่า เป็นเรื่องของเวรกรรม เด็กทำบุญมาแค่นี้ สุดวิสัยที่จะช่วยได้

               และมันคงจะเป็นการสะท้อนด้วยว่า คงต้องมีเด็กที่ต้องเสียชีวิตจากสาเหตุภายนอก เช่นนี้ ซ้ำๆซากๆ จากการเสียชีวิตลักษณะเดิมๆ เป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องยอมรับได้  ซึ่งในแต่ละปีของประเทศไทยนั้น มีเด็กที่เสียชีวิตจากสาเหตุภายนอก จมน้ำ จราจร ทะเลาะวิวาท ของเล่นติดคอ ไฟไหม้ ตกจากที่สูงและอื่นๆ จากสาเหตุนำการเสียชีวิตที่ไม่ใช่โรค ร่วมๆกันแล้วหลายพันคน หรือ เราควรต้องมีทัศนคติ มีแนวคิด ความเชื่อว่า มันเป็นของเวร เป็นของกรรม ของประเทศชาติ ของสังคมไทย

วาทะสอนชีวิต ปรัชญาจีน จาก http://www.baanjomyut.com

“ความหิวแก้ด้วยอาหาร ความเขลาแก้ด้วยการศึกษา” “ ถ้าไม่ศึกษาเพิ่มเติมขึ้นทุกๆ วัน ก็จะล้าหลังลงทุกๆ วัน” “การศึกษาเปรียบเสมือนพายเรือทวนน้ำ ถ้าไม่รุดหน้าก็ถอยหลัง” “เลี้ยงลูกชายโดยไม่ให้การศึกษา ก็เหมือนเลี้ยงลา เลี้ยงลูกสาวโดยไม่ให้การศึกษา ก็เหมือนเลี้ยงหมู”

กลาง  ธรรมชาติ

  3 พ.ย. 2553

หมายเลขบันทึก: 406376เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2010 00:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท