ทางเลือก ทางรอด พืชผักสดส่งออกของไทย


ทางเลือกในการปลูกพืชผักให้สามารถส่งออกได้นั้นทำได้ไม่ยาก เพราะบ้านเมืองเราได้ชื่อว่ามีทรัพย์ในดิน มีสินในน้ำที่มากอยู่พอสมควร

มีข่าวในกรอบเล็กๆ ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม 2553 หน้า 9 ที่พูดถึงผลกระทบจากการส่งออกผักสดไปยังกลุ่มประเทศ อียู ซึ่งมีมาตรการเข้มงวดเป็นอย่างมากในการตรวจหาสารพิษตกค้างจากยาฆ่าแมลง โดยเฉพาะผักชี ใบกะเพรา ใบโหระพา ต้องตรวจเข้มที่ระดับ 20 % และเชื้อซาลโมเนลลา ในผักชี ใบกะเพรา สะระแหน่ โหระพา 10 % และยังคงมาตรการตรวจเข้มสารตกค้างในผักไทยระดับ 50 % ณ ด่านนำเข้าของประเทศสมาชิกอียู 3 รายการ ได้แก่ ถั่วฝักยาว ผักในตระกูลมะเขือ และผักในตระกูลกะหล่ำ เรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกผักไทยไปอียูเป็นอย่างมาก เพราะถ้าอียูจับได้ เขาก็จะสั่งห้ามน้ำเข้า

 

ปัญหาในเรื่องนี้ ถ้าได้ติดตามข่าวสารมาแต่แรกก็ไม่ประหลาดใจสักเท่าไร เพราะมีการประกาศและแจ้งเตือนมาหลายรอบ แต่เกษตรกรไทย หรือนโยบายการส่งเสริมจากภาครัฐก็ยังคงไม่สอดคล้องและสนับสนุนต่อการปฏิบัติ ของเกษตรกรให้มีความสามารถในการผลิตพืชผักอินทรีย์ หรืออย่างน้อยเป็นรูปแบบการทำเกษตรที่คงความสมดุลย์แก่กันในระบบนิเวศน์ใน เรื่อง ดิน น้ำ ธาตุอาหาร ตัวห้ำ ตัวเบียน มวลพิฆาต ฯลฯ หรือการทำเกษตรปลอดสารพิษ เพื่อที่จะได้ลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ย ยา และฮอร์โมน

 

ความ จริงเรามีทางเลือกในการปลูกพืชผักให้สามารถส่งออกได้นั้นทำได้ไม่ยาก เพราะบ้านเมืองเราได้ชื่อว่ามีทรัพย์ในดิน มีสินในน้ำที่มากอยู่พอสมควรแต่ต้องใช้อย่างเข้าใจและถูกวิธี  ถ้ารู้จักการทำเกษตรปลอดสารพิษเกษตรแบบผสมผสาน หรือเกษตรแบบสร้างความสมดุลย์ให้ธรรมชาติ โดยใช้เทคนิคการรักษาโครงสร้างดิน ปรับปรุงสภาพดินให้มีอินทรีย์วัตถุอยู่ตลอดเวลาเหมือนใบไม้ที่ผลัดเปลี่ยน เวียนวนกันร่วงหล่นในผืนป่า เพื่อที่จะได้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ช่วยในการพรวนดิน ป้องกันจุลินทรีย์ตัวร้ายที่จะเข้ามารุกรานทำลายพืช การเติมปุ๋ย N P K เพียงเล็กน้อยเพื่อเสริมให้พืชสร้างผลผลิตได้อย่างเพียงพอ การสร้างความภูมิต้านทานสร้างความแข็งแกร่งด้วยกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟ การใช้เชื้อจุลินทรีย์ หรือสารสกัดจากพืชสมุนไพร ปราบหนอน เชื้อรา ลดการการซื้อสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงก็จะทำให้ต้นทุนลด เพราะการทำเกษตรชีวภาพจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า  เพราะใช้ปัจจัยการผลิตโดยอิงอาศัยพื้นฐานจากธรรมชาติเป็นหลัก

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 405719เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2010 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท