ส้วมแบบพกพา หมออนามัย gotoknow


ส้วมแบบพกพา

นวัตกรรม"ส้วมแบบพกพา" (อานนท์ ภาคมาลี)

ขณะนี้มีพื้นที่หลายจังหวัดในประเทศไทยได้เกิดวิกฤตน้ำท่วมแบบเฉียบพลัน ประชาชนหลายพื้นที่ ไม่ได้เตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์นี้ ทำให้ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือนที่พัง น้ำท่วมขัง การขาดแคลนเครื่องอุปโภค บริโภค เวชภัณฑ์ทั้งหลาย การขาดแคลนสิ่งต่าง ๆ อาจจะไม่เท่ากับการขาดแคลนห้องส้วม บางบ้านห้องส้วมสามารถใช้งานได้แต่บางบ้านน้ำท่วมห้องส้วม จึงไม่สามารถหาที่ขับถ่ายได้ ซึ่งลำบากเป็นอย่างมากสำหรับเด็ก ผู้ป่วย คนพิการ หรือคนชรา ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จึงจำเป็นต้องหาห้องส้วมเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับคนเหล่านี้ และต้องถูกสุขลักษณะป้องกันเชื้อโรคที่อาจเป็นอันตรายต่อตัวบุคคลได้ ดังนั้น ห้องส้วมที่เราจะกล่าวถึงนี้ คือ "ส้วมแบบพกพา"(อานนท์ ภาคมาลี) หรือจะเรียกว่า"ส้วมเคลื่อนที่" ก็ได้ เราสามารถใช้ประโยชน์และมีวิธีการประดิษฐ์แบบง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งอุปกรณ์ที่เราจะต้องเตรียม มีดังนี้

1.ถังสีน้ำพลาสติกเปล่า ขนาด 20 ลิตร จำนวน 1 ใบ ราคาประมาณ 30-50 บาท

2.ฝาชักโครก จำนวน 1 ชุด ราคาประมาณ 200-300 บาทขึ้นไป (หาขนาดที่พอดีกับถัง)

3.ถุงดำ ขนาดพอเหมาะสำหรับใส่ถัง

4.ท่อ PVC ขนาด 1 นิ้วครึ่งหรือขนาด 2 นิ้ว และข้อต่อหรือสายยาง ขนาดใดก็ได้ตามความต้องการของผู้ผลิต

วิธีทำ

1.ทำการยึดฝาชักโครกกับถังพลาสติกที่เตรียมไว้ โดยการเจาะและขันสกรูน็อตให้แน่น (ทดลองนั่งดูว่ามั่นคงหรือเปล่า)

2.เจาะรูบริเวณขอบก้นถัง กว้างประมาณ 1 นิ้วครึ่งหรือขนาด 2 นิ้ว นำท่อ PVC ยาวประมาณ 1 ฟุต ที่เตรียมไว้นำมาสวม ลึกประมาณ 2-3 นิ้ว นำปูนมาผสมแล้วเทลงในถังบาง ๆ เพื่อให้ปูนยึดติดท่อ PVC  (หากไม่มีปูนจะใช้อุกรณ์อย่างอื่นยึดก็ได้ตามแต่ละคนถนัด) ต่อท่อ PVC ยาวตามความต้องการ/ขนาดพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อนำไปต่อลงท่อน้ำทิ้งหรือบ่อเกรอะสำหรับทิ้งสิ่งปฏิกูล (ถ้าไม่สะดวกในการต่อท่อ/สายยาง ก็ไม่ต้องเจาะก็ได้)

3.นำถุงดำที่เตรียมไว้ สวมลงในถัง เสร็จแล้วสามารถใช้งานได้ทันที

***หากต้องการลดต้นทุนการผลิตหรือหาฝาชักโครกไม่ได้ ก็สามารถเตรียมฝาถัง จำนวน  2 ใบ ใบแรกนำมายึดติดกับตัวถังให้แน่นและใช้ปากกาวาดตามรูปของที่นั่งให้มีขนาดพอดีทำการเจาะรูตรงกลางตามรอยปากกาโดยรอบ ฝาถังอีกใบนำมาปิดเวลาเสร็จการใช้งานหรือปิดในขณะเคลื่อนย้าย

เห็นไหมละครับว่าสิ่งประดิษฐ์นี้ไม่ยากเลย สะดวก และประหยัด เมื่อน้ำลดก็ยังสามารถนำมาใช้งานได้ ท่านอาจจะนำไปประดิษฐ์เพิ่มเติมหรือต่อยอดเพื่อความสวยงามหรือเป็นประโยชน์ในการใช้สอยมากกว่านี้ และผมก็หวังว่าสิ่งประดิษฐ์นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆท่านในช่วงวิกฤตน้ำท่วมปีนี้นะครับ

หมายเหตุ:ขอเชิญชวนทุกท่านช่วยกันเผยแพร่นวัตกรรมนี้ให้มากๆด้วยน่ะครับ เพื่อเป็นแนวทางช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมอีกทางหนึ่ง หรือหากสนใจจะทำเพื่อบริจาคแก่ผู้อื่นก็จะเป็นกุศลมากเลยครับ

นายอานนท์ ภาคมาลี สถานีอนามัยตำบลหินซ้อน ต.หินซ้อน อ.แก่งคอย จ.สระบุรี 036-722313 , 083-6878607

หมายเลขบันทึก: 404764เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2010 23:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2012 08:19 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • เป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจ
  • ในภาวการณ์ที่น่าเห็นใจชาวบ้าน
  • กับทุกข์ของการถ่ายทุกข์ยามน้ำท่วม
  • ดูหน้าตารูปร่างก็ดูเข้าทีคงทำธุระได้สบาย
  • พอดีวันนี้ได้ดูข่าวทีวี เขาใช้กล่องกระดาษ A4
  • มาทำเป็นฐานแล้วใช้ถุงดำรองก่อน เสร็จธุระมัดปากถุง
  • อีกแบบก็คือเก้าอี้พลาสติก นำมาตัดตรงกลางออกไป
  • ด้านล่างจะมีถังที่รองด้วยถุงดำไว้แล้ว ธุระเสร็จจัดการเช่นกัน
  • งานนี้มีถุงดำเป็นพระเอกค่ะ.. อิอิ

สวัสดีค่ะ

  • เข้ามาดูส้วมพกพาค่ะ
  • น่าสนใจจริง ๆ ค่ะ  โดยเฉพาะในภาวะน้ำท่วมเช่นนี้
  • ขอบพระคุณค่ะที่นำมาแบ่งปัน

ถ้าออกแบบให้มีที่เปิดด้านล่าง เพื่อ ระบายของเสียออกโดนไม่ต้องเท จะเยี่ยมไปเลยครับ

คิดไป คิดมา แบบนี้ละ สะดวกสุดละ okๆ ไอเดีย ดีครับ

สวัสดีครับทุกท่าน

-เข้ามาแก้ไขเนื้อหานิดหน่อย อาจพอเป็นประโยชน์เพิ่มเติมแก่ทุกท่านน่ะครับ

-ขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็น ที่เข้าช่วยแบ่งปันความคิดน่ะครับ

เหมาะกับช่วงวิกฤติน้ำท่วมเลยนะคะ

น่าสนใจมากๆ

 

ขอบคุณความคิด/มีอะไรใหม่ๆส่งมาให้เพื่อนสอ.บ้างนะจะคอยชม....ขอบคุณค่ะ

ผมสนใจที่จะทำแบบพกพาด้วยอ่ะครับ เป็นงานจบ เป็นแบบกระดาษไว้สำหรับเดินป่า พี่ๆ คนไหนมีไอเดีย ดีๆแนะนำช่วยบอกด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท