เกษตรกรคนเก่ง : คุณจรัล ชูคุ้ม


แรกๆ ก็โดนชาวบ้านว่าเหมือนกันก็ต้องอดทน


คุณจรัล ชูคุ้ม

เรื่องเล่าจากคุณจรัล ชูคุ้ม ประธานศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนระดับจังหวัด จังหวัดกำแพงเพชร

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2549 ในวันสัมมนาเชิงปฏิบัติการนักส่งเสริมระดับอำเภอ ของสายที่ 1 ซึ่งได้สัมมนากัน ณ จุดของดีของตำบลคุยบ้านโอง อำเภอพรานกระต่าย และก่อนการศึกษาดูงาน ได้เชิญคณะกรรมการบริหารศูนย์ และวิยากรเกษตรกร ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ในแต่ละสาขาของตำบล ได้มาเล่าประสบการณ์เพื่อ ลปรร. กับนักส่งเสริมการเกษตร วิทยากรเกษตรจำนวน 3 ท่านที่ได้มาเล่า ผมจะขอนำเสนอเป็นเรื่องเล่าของแต่ละท่านแยกกันเป็นตอนๆ เพื่อสะดวกในการใส่ป้าย และทำแผนที่ความรู้ เชิญอ่านบันทึกที่ผมสรุปเรื่องเล่ามาฝากในวันนี้ได้เลยครับ

คุณจรัล ชูคุ้ม หมู่ที่ 4 บ้านไร่ปรือ ตำบลคุยบ้านโอง อำเภอพรานกระต่าย เล่าว่า ได้เล่าว่าได้ร่วมกับทางเกษตรมาตั้งแต่โรงเรียนเกษตรกร ประมาณปี 44/45 ในระยะต่อมาได้เป็นคณะกรรมการบริหารของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลคุยบ้านโอง ได้ร่วมทำแผนและมีการศึกษาข้อมูล จนเมื่อปี 2545 ได้รับการสนับสนุนพันธุ์ข้าว จากอดีตการทำนาเป็นการทำแบบพึ่งพาธรรมชาติ แต่ต่อมาเราปรับไปตามความต้องการของตลาด มีการใช้ปุ๋ยใช้ยา ขณะนี้เรากำลังย้อนอดีตคือมาทำข้าวให้ปลอดภัย

การทำงานเริ่มด้วยการพูดคุยและแลกเปลี่ยนกัน สมาชิกยังไม่ทราบว่าการทำในลักษณะนี้จะได้ผลเป็นอย่างไร ปีแรกไม่ราบรื่นแต่ในปีที่ 2 ที่ 3 เริ่มเข้าใจ โดยเริ่มที่การลด จากใช้จำนวนมากๆ ก็จำกัดหรือลดจำนวนการใช้ลงก่อน คนเล่านี้ก็ต้องลดและจนถึงไม่ใช้ เพราะเราต้องเป็นต้นแบบ ชักจูงเขาจะยังไม่เชื่อทันที แต่เราเป็นแกนนำทำในนาของตนเอง เมื่อแปลงข้างเคียงเห็นก็จะนำไปคุยต่อๆ กันไป

แรกๆ ก็โดนชาวบ้านว่าเหมือนกันก็ต้องอดทน แต่พอเราทำสำเร็จเขาก็เอาไปกระจาย ผอ.ศูนย์ก็เป็นที่ปรึกษาอยู่ตลอดเวลา จนขณะนี้เป็นข้าวปลอดสาร ซึ่งมีกระบวนการเริ่มจาก

1) การเตรียมพื้นที่

2) หาเมล็ดที่สำบูรณ์อาจเป็นของศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืช

3) สารเคมีไม่ได้ใช้

จนขณะนี้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตได้ไม่พอกับความต้องการของชาวบ้าน ปัญหาที่พบแม้แต่ภรรยาก็เป็นคนแรกที่ไม่เห็นด้วย แต่ก็อดทนทำมาจนสำเร็จ และตอนนี้ก็เป็นเครือข่ายกับหมู่ที่ 1 บ้านนาป่าแดงนี้ด้วยและอนาคตต้องการทำข้าวปลอดภัยโดยไม่เผาฟาง แต่จะใช้รถปั่นแทน

เป็นอีกเรื่องเล่าหนึ่งที่น่าสนใจ จึงขอบันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

วีรยุทธ สมป่าสัก <p> </p>

หมายเลขบันทึก: 40474เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2006 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2015 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอแลกเปลี่ยนดังนี้ครับ 

การเล่าเรื่องผ่านประสบการณ์ ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างสนุก(รับฟังเหมือนเรื่องเล่า) สบายๆ

ภายในเรื่องเล่าแทรก ข้อคิด วาทกรรม ต่างๆ  ที่นำมาใช้กับตนเองได้

เรื่องนี้บอกให้ เรื่องของความอดทน การพิสูจน์ตัวเอง

ฟางข้าวนอกจากไม่เผาแล้ว ใช้วิธีปั่น หลังจากนั้นใช้ทำอะไรครับ

เรื่องของ การไม่ใช้สารเคมี น่าสนใจมากครับ ผมเคยคุยกับพี่เกษตรกรคนหนึ่งอยู่สุพรรณบุรี พี่บอกว่าแถบทางโน้น มีการใช้สารเคมีที่เข้มข้น แบบว่าทั่วพื้นที่ ซึ่งอันตรายมากกับสุขภาพ...ตรงนี้น่าห่วงมากครับ

การไม่ใช้สารเคมีแล้วได้ผลผลิตสูง(หรือได้ผลผลิตในระดับที่ยอมรับได้)

เป็น นวัตกรรม จริงๆ ครับ ผมอยากให้องค์ความรู้เหล่านี้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบันทึกของพี่สิงห์ป่าสักมากๆ

คิดว่า เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดัน เกษตรอินทรีย์์ ได้ครับ...

ผมให้กำลังใจ และติดตามอย่างต่อเนื่องครับ 

  • ขอบพระคุณมากครับที่ให้กำลังใจ
  • ตอนนี้มีป้ายสำหรับทำแผนที่ความรู้แล้ว ผมเลยคิดว่าน่าจะสะสมเรื่องเล่ามาบันทึก เท่าที่จะทำได้นอกจากการบันทึกกระบวนการตามปกติ
  • ผมทำในหลายๆ บทบาทอาจบันทึกได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่เมื่อฟังเรื่องเล่าแล้วไม่อยากให้เรื่องเล่าเหล่านั้นผ่านหูไป เพียงลมพัดผ่าน รู้สึกเสียดายความรู้ที่ฝังลึกเหล่านั้นที่ไม่ได้บันทึกมา ลปรร.
  • มีคนอ่านแล้วสนใจ หรือได้นำไปปรับใช้แม้แต่เพียงคิดว่าจะนำไปใช้ประโยชน์ ก็ถือว่าเราได้กำไรคุ้มกับการบันทึกของเราแล้วนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท