การวิจัยในชั้นเรียน


แสดงโครงสร้างกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

วิจัยในชั้นเรียน 

เรื่อง 

การพัฒนาความรู้ด้านวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตสาสตร์ 

 

 

 

 

เสนอ 

ผศ.วิมล    เทพนวล 

 

 

 

โดย 

นายศราวุธ   บินล่าเต๊ะ 

รหัสนักศึกษา  5219250236

 

 

 

การวิจัยในชั้นเรียนเสนอบัณฑิตวิทยาลัย 

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 

เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาปฏิบัติการวิชาชีพครู  2

 

 

คำนำ

 

                รายงานการวิจัยฉบับนี้  เป็นการทำวิจัยเพื่อการพัฒนาความรู้  ความสามารถของนักเรียน  ด้านการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน  เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  โดยการใช้ชุดฝึกทักษะขึ้นและได้การนำไปใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนท่าจีนอุดมวิทยา  ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ต่ำกว่าทักษะวิชาอื่นๆ  ทั้งนี้เกิดจากสาเหตุสำคัญ 2 ประการ  คือ  ผู้เรียนมีแบบฝึกทักษะสำหรับใช้ฝึกฝนให้เกิดทักษะและความเข้าใจน้อยเกินไป  และผู้เรียนอ่านโจทย์ปัญหาไม่เข้าใจ คิดวิเคราะห์โจทย์ไม่เป็น  ทำให้การกำหนดวิธีทำและตอบผิด  ซึ่งสาเหตุสำคัญทั้งสองประการนี้เป็นสาเหตุที่มีผลต่อเนื่องกันมาตลอด  ผู้วิจัยจึงได้จัดทำแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์โจทย์ปัญหามาใช้กับนักเรียนหลายๆ ครั้ง  และพบว่านักเรียนสามารถพัฒนาความสามารถพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาได้เป็นที่น่าพอใจ

                ผู้วิจัยหวังว่ารายงานการวิจัยฉบับนี้สามารถเป็นแนวทางได้แก่ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์  ระดับชั้นประถมศึกษาหรือผู้ที่มีความสนใจใฝ่ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม  ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน  อนึ่ง ผู้วิจัยขอน้อมรับคำแนะนำและข้อเสนอแนะต่าง ๆ  เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขและพัฒนารายงานการวิจัยให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป

                                                                           

 

                                                                (นายศราวุธ   บินล่าเต๊ะ)

ผู้วิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทคัดย่อ

 

                การวิจัยเรื่องการใช้ชุดฝึกทักษะการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนให้กับนักเรียนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ด้วยความเข้าใจ  มีความคิดอย่างมีเหตุ  มีผล  เป็นระบบ  มีแบบแผน  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหา  การคาดการณ์  การวางแผน การตัดสินใจ และการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมซึ่งนักเรียนได้ฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาจากแบบฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาจากแบบฝึกที่ครูสร้างขึ้น  ประกอบด้วย  แบบทดสอบก่อนเรียน แบบฝึกทักษะโจทย์ปัญหาการบวก  แบบฝึกทักษะโจทย์ปัญหาการลบ  และแบบทดสอบหลังเรียน แล้วนำคะแนนที่ได้มาเปรียบเทียบดูว่า หลังจากนั้นเรียนใช้แบบฝึกทักษะเหล่านี้แล้ว  นักเรียนมีความสามารถในการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาเป็นอย่างไร

                ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการเปรียบเทียบคะแนน  จากค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และค่าคะแนนเฉลี่ยหลังใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  พบว่า  นักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้  ความเข้าใจในการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหามากขึ้น  อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ว่าเป็นวิชาที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์  และยังเป็นพื้นฐานของวิชาการแขนงต่าง ๆ  นอกจากนี้ยังช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาการเรียนรู้ด้านพุทธพิสัย  ทักษะพิสัย  และจิตพิสัยตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์อีกด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                                  หน้า

บทที่ 1   บทนำ                                                                                                                                     5

                -ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา                                                                        5

                -วัตถุประสงค์                                                                                                                       5

                -สมมติฐานของการวิจัย                                                                                                      5

                -ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย                                                                        6

                -ขอบเขตการวิจัย                                                                                                 6

                -นิยามศัพท์เฉพาะ                                                                                                               6

                -ระยะเวลาที่ทำการวิจัยและสถานที่ทำการวิจัย                                                             7

บทที่ 2    เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง                                                                                        8

                -เอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิชาคณิตศาสตร์                                                                          8

                -เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสอนวิชาคณิตศาสตร์                                                          12

                -เอกสารที่เกี่ยวข้องกับชุดฝึกทักษะ                                                                 22

                -ความสำคัญของแผนการสอน                                                                                         23

บทที่  3    วิธีการดำเนินการวิจัย                                                                                                        26

                -ประชากรกลุ่มตัวอย่าง                                                                                                      26

                -เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล                                                                        26

                -การดำเนินการวิจัย                                                                                                             26

                -การรวบรวมข้อมูล                                                                                                              27

บทที่  4    ผลการวิเคราะห์ข้อมูล                                                                                                       29

                -สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล                                                                           29

                -สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล                                                                                      29

                -วิธีวิเคราะห์ข้อมูล                                                                                                              29

บทที่   5    สรุปผล  อภิปรายผล  และข้อเสนอแนะ                                                                       32

บรรณานุกรม                                                                                                                                        35

ภาคผนวก                                                                                                                                             36

                -แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์                              37

                -แบบทดสอบก่อนเรียน  เรื่องการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการบวก   การลบ              41

                -แบบฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการบวก                                                                           44

                -แบบฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการลบ                                                                             48

                -แบบทดสอบหลังเรียน เรื่องการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการบวก  การลบ 51

 

 

บทที่  1

บทนำ

 

1.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

 

                หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  ได้กำหนดให้การจัดการศึกษามุ่งเน้นความสำคัญทั้งด้านความรู้  ทักษะกระบวนการ  ควบคู่กับคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยม  เพื่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์  ทำให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  คิดอย่างมีเหตุผล  เป็นระบบ  ระเบียบ  มีแบบแผน  ความสามารถในการคิด  วิเคราะห์ปัญหา  คาดการณ์  วางแผน  ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  สามารถพัฒนาตนเองให้สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญาและอารมณ์  สามารถนำความรู้ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

                ในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่จะช่วยให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชา  ควรเริ่มจากแบบฝึกหัดง่ายไปหายาก   และเมื่อนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจดีแล้ว  ต้องหมั่นฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ  ถูกต้อง  แม่นยำ  และรวดเร็วในการคิดคำนวณ

                การจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3   โรงเรียน

ท่าจีนวิทยา  พบว่า  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในเรื่องการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้  ซึ่งผู้สอนตระหนักว่า  หากไม่หาวิธีแก้ปัญหา  นักเรียนจะไม่สามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาได้    ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเรียนในระดับชั้นสูงต่อไป   ผู้สอนจึงใช้ชุดฝึกทักษะเพื่อประกอบการเรียนการสอนในเรื่องการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนคณิตศาสตร์และสามารถพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้เรียนมากยิ่งขึ้น

 

2.วัตถุประสงค์

                2.1 เพื่อพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ให้ได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  75 %

                2.2  เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา  ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา

 

3.สมมติฐานของการวิจัย 

                ค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังจากการใช้ชุดฝึกทักษะ  เรื่องการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา

สูงกว่าก่อนใช้ชุดฝึกทักษะการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา

 

4.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

                4.1  นักเรียนได้พัฒนาทักษะวิเคราะห์โจทย์ปัญหามากขึ้น

                4.2  นักเรียนมีการพัฒนาความสามรถในด้านการฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหา   ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

 

5.ขอบเขตการวิจัย

                5.1 นวัตกรรมที่ใช้คือชุดฝึกทักษะการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3

                5.2  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3 โรงเรียนท่าจีนอุดมวิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา  เขต  2  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา 2551

  จำนวน  15  คน    

                5.3  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนท่าจีนอุดมวิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา  เขต  2  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา 2551

  จำนวน  15  คน    

5.4      ตัวแปรที่ใช้ศึกษา

5.4.1           ตัวแปรตน  คือ  การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะเรื่องการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา

5.4.2           ตัวแปรตาม  คือ  ความสามารถในด้านทักษะการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการบวก ลบ  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

5.5      เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล

5.5.1           เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

(1)     แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  โดยใช้ขุดฝึกทักษะเรื่องการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา  จำนวน  2  แผน  เวลา  4  ชั่วโมง

(2)     ใช้ชุดฝึกทักษะเรื่องการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา  จำนวน  2  ชุด

5.5.2           เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล  ได้แก่

(1)     แบบทดสอบวัดความสามารถทักษะการคิดคำนวณก่อนและหลังเรียน  จำนวน  10  ข้อ  (10  คะแนน)

(2)     คะแนนจากการใช้ชุดฝึกทักษะแต่ละชุด

 

6.นิยามศัพท์เฉพาะ

                6.1  โรงเรียน  หมายถึง  โรงเรียนท่าจีนอุดมวิทยา   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต  2

                6.2   นักเรียน  หมายถึง  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   โรงเรียนท่าจีนอุดมวิทยา

                6.3  ผู้วิจัย  หมายถึง นายศราวุธ   บินล่าเต๊ะ

                6.4  คณิตสาสตร์  หมายถึง  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตสาสตร์  หลักสูตรสถานศึกษา  พุทธศักราช  2544

                6.5  แผนการจักกิจกรรม  หมายถึง  แผนการสอน  เรื่องการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา  โดยประกอบด้วยสาระดังต่อไปนี้

                                (1)  สาระสำคัญ

                                (2)  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

                                (3)  สาระการเรียนรู้

                                (4)  กิจกรรมการเรียนรู้

                                (5)  สื่อและแหล่งเรียนรู้

                                (6)  การวัดและประเมินผล

                                (7)  ชุดฝึกทักษะเกณฑ์การวัดและประเมินผล/บันทึกผลการเรียนรู้หลังสอน

                6.6  ชุดฝึกทักษะ  หมายถึง  ชุดฝึกทักษะเรื่องการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการบวก  และโจทย์ปัญหาการลบ

 

7.ระยะเวลาที่ทำการวิจัยและสถานที่ทำการวิจัย

                ดำเนินการวิจัยในภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2553  ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กันยายน  2553

สถานที่วิจัย  คือ  โรงเรียนท่าจีนอุดมศึกษาวิทยา  หมู่ที่  7  ตำบลน้ำน้อย  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่  2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

               

ในการศึกษาวิเคราะห์โจทย์ปัญหา  ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารหลักการและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง

โดยแยกตามหัวข้อต่อไปนี้

1.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิชาคณิตศาสตร์

2.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสอนวิชาคณิตศาสตร์

3.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับชุดฝึกทักษะวิเคราะห์โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์

4.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับแผนการจัดการเรียนรู้

 

1.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิชาคณิตศาสตร์

                1.1 ความหมายของคณิตศาสตร์

                                พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 (ราชบัณฑิตยสถาน,2525:162)ได้ให้ความหมายว่า คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการคำนวณ

                                เวบสเตอร์ (Webster,1980:1110) อธิบายว่า คณิตสาสตร์  หมายถึง กลุ่มของวิชาต่างๆ ได้แก่ เลขคณิต  เรขาคณิต พีชคณิต แคลคูลัส ฯลฯ ซึ่งเกี่ยวพันกับปริมาณ ขนาด รูปร่าง และความสัมพันธ์ คุณสมบัติ ฯลฯ  โดยใช้การคำนวณเลขและสัญลักษณ์

                                ยูพิน  พิพิธกุล (2524:1-2) ได้สรุปลักษณะสำคัญของวิชาคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้

                                1.วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการคิดและมีการพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่าสิ่งที่เราคิดเป็นจริงหรือไม่

                                2.วิชาคณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง ใช้สัญลักษณ์ที่รัดกุม และสื่อความหมายได้ถูกต้อง โดยใช้ตัวอักษรแทนความหมายทางการคิด เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกสมอง  ซึ่งสามารถช่วยให้เกิดการกระทำในการคิดคำนวณ  การแก้ไขปัญหา

                                3.วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีโครงสร้างที่มีเหตุผลอธิบายข้อคิดต่าง ๆ ที่สำคัญได้ เช่น สัจพจน์ คุณสมบัติ กฎ ทำให้เกิดความคิดที่เป็นรากฐานในการพิสูจน์เรื่องอื่นต่อไป

                                4.วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีแบบแผน ในการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์นั้น  ต้องคิดอยู่ในแบบแผนและมีรูปแบบ ไม่ว่าจะคิดเรื่องใดก็ตาม ทุกขั้นตอนจะตอบได้และจำแนกออกมาให้เห็นจริงได้

                                5.วิชาคณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ความงามของคณิตศาสตร์ คือ มีความเป็นระเบียบและความกลมกลืน

                                จะเห็นได้ว่า  วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง  เป็นเครื่องมือการเรียนรู้กลุ่มสาระต่างๆ ในอันที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้ถูกต้องเสียตั้งแต่ระดับการศึกษาขันพื้นฐาน  การจัดระบบการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์  ขั้นตอนการวางแผนการสอนมีความสำคัญมาก เพราะช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพตามจุดประสงค์ที่ตั้งเอาไว้

                                คุณภาพผู้เรียน (กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์)

                                เมื่อผู้เรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีแล้ว  ควรมีความสมดุลระหว่างสาระด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ ควบคู่กับคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม  ดังนี้

                                1.มีความรู้ ความเข้าใจ ในคณิตศาสตร์พื้นฐานเกี่ยวกับการคำนวณและการดำเนินการ  การวัด เรขาคณิต พีชคณิต  การวิเคราะห์ข้อมูล และความน่าจะเป็น พร้อมทั้งสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ได้

                                2.มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น  ได้แก่ ความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่หลากหลาย การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหายทางคณิตศาสตร์และการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ

                                3.ความสามารถในการทำงานอย่างมีระเบียบวินัย มีความรอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ มีความเชื่อมั่นในตนเอง พร้อมทั้งตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์

                                โครงสร้างหลักสูตรคณิตศาสตร์

                                หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544   ได้เน้นการจัดการศึกษาโดยกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ในการพัฒนาผู้เรียนตามระดับพัฒนาการของผู้เรียนเป็น 4  ช่วงชั้น คือ

                                                -ช่วงชั้นที่  1  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3

-ช่วงชั้นที่  2  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

-ช่วงชั้นที่  3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3

-ช่วงชั้นที่  4  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

                                และกำหนดสาระการเรียนรู้หลักที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนทุกคน  ประกอบด้วยเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนควรบูรณาการสาระต่าง ๆ เข้าด้วยกันเท่าที่จะเป็นไปได้

               

 

สาระที่เป็นองค์ความรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  แสดงเป็นแผนภูมิดังนี้

 

 

 

 

 

 

แผนภูมิโครงสร้างกลุ่มสาระการเรียนรู้

 

สาระที่ จำนวนและการดำเนินการ

เนื้อหา เกี่ยวกับจำนวนนับ การบวก  การลบ และการหาร

 

 

 

สาระที่ 2 การวัด

    เนื้อหาเกี่ยวกับการวัดความยาว การวัดน้ำหนัก การวัดปริมาตร

 

 

                                               

สาระที่ 3 เรขาคณิต

  เนื้อหาเกี่ยวกับเรขาคณิต และสมบัติบางประการของรูปเรขาคณิต

 

 

 

สาระที่ 4 พีชคณิต

เนื้อหาเกี่ยวกับแบบ รูป  และความสัมพันธ์

 

 

 

 

สาระที่  5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

       เนื้อหาเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูล การอ่านแผนภูมิ รูปภาพ แผนภูมิแท่ง

 

 

 

 

สาระที่ 6 ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์

 

 

 

 

 

 

 

แผนภูมิที่ 1 แสดงโครงสร้างกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

 

 &nb

หมายเลขบันทึก: 404462เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2010 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท