พระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา


พระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 

พ.ศ. 2547  แก้ไข (ฉบับที่ 2)  พ.ศ. 2551

มาตรา  2  ให้ไว้  ณ  วันที่  21  ธันวาคม  2547 

                ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  23  ธันวาคม  2547

มาตรา  3  มีผลให้ยกเลิก  พรบ.  3  ฉบับ  คือ

                พรบ.  ระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523

                พรบ.  ระเบียบข้าราชการครู (ฉบับที่  2) พ.ศ. 2535

                พรบ.  ระเบียบข้าราชการครู (ฉบับที่  3) พ.ศ. 2538

ข้าราชการครู        ผู้ประกอบวิชาชีพ  ทำหน้าที่หลักด้านการเรียน  การสอน  การส่งเสริมการเรียนของผู้เรียน

คณาจารย์              ทำหน้าที่หลักด้านการสอน  และวิจัยในสถาบันระดับอุดมศึกษา  ระดับปริญาของรัฐ

บุคลากรทางการศึกษา       ผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้บริหารการศึกษาผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งทำหน้าที่บริการ  การนิเทศ  หรือปฏิบัติงานให้หน่วยงานการศึกษา

หน่วยงานทางการศึกษา

  • สถานศึกษา
  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  • สำนักงานการศึกษานอกโรงเรียน
  • แหล่งการเรียนรู้ตามประกาศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  • หน่วยงานามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  รักษาการตามระเบียบนี้
  •  

หมวด  1

คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

*******************************

มาตรา  7   คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  “คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา”  เรียกโดยย่อ  “ก.ค.ศ.”   ประกอบด้วย  (2:8:9:9)

                รมว.  กระทรวงศึกษาธิการ               ประธานกรรมการ

                ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ                  รองประธานกรรมการ

  • กรรมการโดยตำแหน่ง  8  คน  (ครม. แต่งตั้ง)
    • ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา
    • ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
    • เลขาธิการ ก.พ.
    • เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    • เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
    • เลขาธิการการอุดมศึกษา
    • เลขาธิการ ก.ค.ศ. และ
    • เลขาธิการ  คุรุสภา

ð            กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวน  9  คน  (คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง)

ð            กรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  จำนวน  9  คน

  • ผู้แทน ผอ.สพท.  1  คน
  • ผู้แทน  ผู้บริหารสถานศึกษา  1  คน
  • ผู้แทนข้าราชการครู  6  คน

                                (เลือกจากครูสังกัด สพฐ.  4  คน  อาชีวะ  1  คน  สป  อุดมศึกษา  ทองเที่ยวการกีฬา  วัฒนธรรม  1  คน)

  • ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษา  1  คน

มาตรา  8   คุณสมบัติกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

  • สัญชาติไทย
  • อายุไม่ต่ำกว่า  35  ปี  ไม่เกิน  70  ปี
  • ไม่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

มาตรา  9  คุณสมบัติกรรมการผู้แทน ผอ.สพท.

  • มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ  ไม่เคยถูกเพิกถอน
  • เป็นที่ยอมรับในความซื่อสัตย์

มาตรา  10  คุณสมบัติกรรมการผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษา

  • มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ  ไม่เคยถูกเพิกถอนหรือพักใช้
  • มีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา  ไม่น้อยกว่า  5  ปี
  • เป็นที่ยอมรับนความซื่อสัตย์

มาตรา  11  คุณสมบัติผู้แทนข้าราชการครู

  • มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ  ไม่เคยถูกเพิกถอนหรือพักใช้
  • มีวิทยฐานะ  ไม่ตำกว่าครูชำนาญการหรือเทียบเท่าหรือมีประสบการณ์การสอน     

       ไม่น้อยกว่า  15  ปี

  • เป็นที่ยอมรับในความซื้อสัตย์

มาตรา  12  กรรมการผู้แทนบุคลากรทางการศึกษา

  • มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
  • มีประสบการณ์ด้านสนับสนุนการศึกษา  ไม่น้อยกว่า  15  ปี
  • เป็นที่ยอมรับในความซื่อสัตย์สุจริต

มาตรา  13 

  • วาระดำรงตำแหน่ง  คราวละ  4  ปี  แต่ไม่เกิน  2  วาระติดต่อกัน
  • ตำแหน่งว่างลงก่อนครบวาระเลือกแทนภายใน  60  วัน  เว้นแต่  วาระเหลือไม่ถึง  90  วัน

มาตรา  14  การพ้นจากตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ

  • ตาย/ลาออก  ยื่นหนังสือต่อประธานกรรมการ
  • ล้มละลาย/ไร้ความสามารถ
  • ได้รับโทษจำคุก  เว้น  โทษกระทำโดยประมาท
  • ครม. ให้ออก

มาตรา  15  การพ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้แทนครูและบุคลากรทางการศึกษา

  • ตาย/ลาออกยื่นหนังสือต่อประธาน
  • พ้นจาการเป็นครูหรือบุคลากร
  • ถูกถอดถอนโดยมติ ก.ค.ศ. เสียงไม่น้อยกว่า  2 ใน  3

มาตรา  16  กรรมการมาไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุม

มาตรา  17  ก.ค.ศ.  มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญเรียกโดยย่อ “อ.ก.ศ. วิสามัญ”  เพื่อทำการใด ๆ แทน  ก.ค.ศ.

มาตรา  18  บุคคลจะเป็นกรรมการใน ก.ค.ศ., อ.ก.ค.ศ เขตพื้นที่การศึกษาหรืออนุกรรมการอื่นตาม พรบ. นี้   ในขณะเดียวกันมิได้  เว้นแต่กรรมการหรือนุกรรมการโดยตำแหน่ง

มาตรา  19  อำนาจหน้าที่ ก.ค.ศ.

                1.  เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับและการบริหารงานบุคคล

                2.  กำหนดนโยบายวางแผน  กำหนดเกณฑ์อัตรากำลัง

                3.  เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับค่าครองชีพ  การปรับปรุงเงินเดือน                      เงินวิทยฐานะ

                4.  ออกกฎ ก.ค.ศ.  ระเบียบข้อบังคับหลักเกณฑ์ (กฎ ก.ค.ศ. ครม.อนุมัติ  ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  จึงบังคับใช้)

                5.  พิจารณาวินิจฉัยถึงปัญหาจากการใช้ พรบ. นี้

                6.  พัฒนาหลัก  วิธีการ  มาตรฐานการบริหารงานบุคคล

                7.  กำหนดเงื่อนไขการจ้างเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลและกำหนดอัตราเงินเดือน

                8.  ส่งเสริมพัฒนาครู  ยกย่องเชิดชูเกียรติ

                9.  ส่งเสริมสนับสนุนสิทธิประโยชน์เกื้อกูล  สวัสดิการ

                10.  พิจารณาตั้ง  อ.ก.ค.ศ  เขตพื้นที่การศึกษา

                11.  ให้คำปรึกษาด้านการบริหารงานบุคคล

                12.   กำหนดมาตรฐาน  พิจารณาให้คำแนะนำด้านวินัย

                13.  กำกับ  ดูแล  ตรวจสอบ  ให้ความเป็นธรรมด้านการบริหารงานบุคคล

                14.  รายงาน  ร.ม.ว.  กรณีหน่วยงานไม่ปฏิบัติตาม พรบ. นี้

                15.  รับรองคุณวุฒิของบุคลากร

                16.  กำหนดค่าธรรมเนียมต่าง  ๆ

                17.  พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติ  แก้ไข  ประวัติเกี่ยวกับ  วัน  เดือน  ปีเกิด  ควบคุมการเกษียณอายุราชการ

                18.  อื่น  ๆ  ตาม พรบ. นี้  บัญญัติไว้

มาตรา  20  สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  เรียกโดยย่อว่า                    “สำนักงาน ก.ค.ศ.”

  • มีเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  เรียกโดยย่อว่า 

      “เลขาธิการ  ก.ค.ศ.”  มีฐานะ  เป็นอธิบดี  เป็นผู้บังคับบัญชา

มาตรา  21  คณะอนุกรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  ประจำเขตพื้นที่การศึกษา  เรียกโดยย่อ  “อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา”  (2 :4 :5 :1)

ð ประธานอนุกรรมการ(เลือกจากอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ)

ð อนุกรรมการโดยตำแหน่ง  2  คน

  • ผู้แทน  ก.ค.ศ.
  • ผู้แทน  คุรุสภา

ð อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  4  คน

ð อนุกรรมการผู้แทนครูและบุคลากรทางการศึกษา  5  คน

  • ครูผู้สอนสายประถมศึกษา  1  คน
  • ครูผู้สอนสายมัธยมศึกษา  1  คน
  • ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาสายประถมศึกษา  1  คน
  • ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาสายมัธยมศึกษา  1  คน
  • ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษา  1  คน

ð     ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ

มาตรา  22  การประชุม  อ.ก.ค.ศ.  เขตพื้นทีการศึกษา  นำความในมาตรา  16  มาใช้โดยอนุโลม

มาตรา  23  อ.ก.ค.ศ.  เขตพื้นที่มีอำนาจหน้าที่  ดังนี้

                1.  พิจารณากำหนดนโยบายการบริหารงานบุคคล

                2.  พิจารณาให้ความเห็นชอบการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

                3.  ให้ความเห็นชอบ  เกี่ยวกับการพิจารณาความดีความชอบของผู้บริหารสถานศึกษา/ผู้บริหารการศึกษา/ครูและบุคลากรทางการศึกษา

                4.  พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย  การออกจากราชการ  การอุธรณ์  การร้องทุกข์

                5.  การเสริมสร้างขวัญ  กำลังใจ  ปกป้องคุ้มครองคุณธรรม  จัดสวัสดิการ  ยกย่องเชิดชูเกียรติ

มาตรา  24  ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้บริหารราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  และเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา

อำนาจหน้าที่  ผู้เกี่ยวข้อง

  • รับผิดชอบอำนาจหน้าที่ที่เป็นของ อ.ก.ค.ศ. เขต
  • เสนอแนะ  การบรรจุแต่งตั้งและการบริหารงานบุคคล
  • พิจารณาเสนอความดีความชอบผู้บริหารสถานศึกษาและบริหารการศึกษา
  • จัดทำประวัติครูและบุคลากรทางการศึกษา
  • จัดทำมาตรฐานคุณภาพ
  • ประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคล

มาตรา  25  ส่วนราชการอื่น   นอกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ ก.ค.ศ.  ตั้ง  อ.ก.ค.ศ.  เพื่อทำหน้าที่บริหารงานบุคคล

มาตรา  26  ให้คณะกรรมการสถานศึกษามีอำนาจและหน้าที่  ดังนี้

ð   กำกับ  ดูแล  การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา

ð   เสนอความต้องการอัตรากำลังครูต่อ อ.ก.ค.ศ  เขต

ð   ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารบุคคลต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา

มาตรา  27  ให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา  และมีอำนาจหน้าที่  ดังนี้

ð ควบคุม  ดูแล  การบริหารงานบุคคล

ð พิจารณาเสนอ  ความดี  ความชอบ  ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ð ส่งเสริม  สนับสนุน  ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ð จัดทำมาตรฐาน  ภาระงาน  ครูและบุคลากรทางการศึกษา

ð ประเมินผลการปฏิบัติงาน  ตามมาตรฐาน เสนอ อ.ก.ค.ศ.

มาตรา  28  ให้ผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นตาม ก.ค.ศ. กำหนด  เป็นผู้บังคับบัญชาและหน่วยบริหารหน่วยงาน

 

 

 

 

 

หมวด  2

บททั่วไป

มาตรา  29  การดำเนินการตาม พรบ. นี้  ให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  โดยยึดถือระบบคุณธรรม  ความเสมอภาคระหว่างบุคคล  หลักการปฏิบัติและการคุ้มครองสิทธิอย่างเสมอภาค

มาตรา  30  คุณสมบัติผู้เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

  1. มีสัญชาติไทย
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่า  18  ปีบริบูรณ์
  3. เป็นผู้เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัติย์ทรงเป็นประมุข
  4. ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
  5. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ  จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ  เป็นโรคตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  6. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ/ออกจากราชการไว้ก่อน
  7. ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี
  8. ไม่เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง  เจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
  9. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  10. ไม่เป็นผู้เคยต้องโทษจำคุก  โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
  11. ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก  ปลดออก  หรือไล่ออกจากราชการ  รัฐวิสาหกิจ  องค์กรมหาชน
  12. ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก  ปลดออก  หรือไล่ออก  เพราะกระทำผิดวินัยตาม พรบ. นี้
  13. ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ

มาตรา  31  อัตราเงินเดือน  เงินวิทยฐานะ  และเงินประจำตำแหน่งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน  เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ð     เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน

มาตรา  32  เพื่อประโยชน์ในการออมทรัพย์  คณะรัฐมนตรี  อาจวางระเบียบให้กระทรวงการคลังหักเงินเดือนเพื่อสะสมได้

มาตรา  33  ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ  โดยความเห็นชอบ ค.ร.ม.

มาตรา  34  การได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามวาระเศรษฐกิจกำหนดในพระราชกฤษฎีกา

มาตรา  35  วัน  เวลาทำงาน  วันหยุดราชการตามประเพณี  หยุดประจำปี  การลา  ให้เป็นไปตาม ก.ค.ศ.  กำหนด

มาตรา  36  เครื่องแบบให้เป็นไปตามกฎหมายนั้น

มาตรา  37  บำเหน็จบำนาญให้เป็นไปตามกฎหมายนั้น

 

 

หมวด  3

การกำหนดตำแหน่ง

วิทยฐานะและการให้ได้รับเงินเดือน  เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่ง

มาตรา  38  ตำแหน่งครูและบุคลากรทางการศึกษามี  3  ประเภท

                ก.  ตำแหน่งผู้สอน

(1)        ครูผู้ช่วย

(2)       ครู

(3)       อาจารย์

(4)       ผู้ช่วยศาสตราจารย์

(5)       รองศาสตราจารย์

(6)       ศาสตราจารย์

                (1) และ  (2)  มีในหน่วยงานทางการศึกษาใดก็ได้

                (3) – (6)  มีในหน่วยงานทางการศึกษาที่สอนระดับปริญญา

                ข.  ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา

(1)       รอง ผอ. สถานศึกษา

(2)       ผอ. สถานศึกษา

(3)       รอง ผอ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

(4)       ผอ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

(5)       อื่น  ๆ  ก.ค.ศ.  กำหนด

 ค.  ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น

1)            ศึกษานิเทศก์

2)            ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

มาตรา  39  ให้ตำแหน่งครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อไปนี้มีวิทยฐานะ

ก.      ตำแหน่งครูมี  4  วิทยฐานะ

1)        ครูชำนาญการ

2)        ครูชำนาญการพิเศษ

3)        ครูเชี่ยวชาญ

4)        ครูเชี่ยวชาญพิเศษ

ข.      ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา  (รองมี  3  วิทยฐานะ  ผอ. มี 4  วิทยฐานะ)

1)        รอง ผอ. ชำนาญการ

2)        รอง ผอ. ชำนาญการพิเศษ

3)        รอง ผอ. เชี่ยวชาญ

4)        ผอ. ชำนาญการ

5)        ผอ. ชำนาญการพิเศษ

6)        ผอ. เชี่ยวชาญ

7)        ผอ. เชี่ยวชาญพิเศษ

ค.  ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา  (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา)

1)        รอง ผอ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  ชำนาญการพิเศษ

2)        รอง ผอ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  เชี่ยวชาญ

3)        ผอ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ

4)        ผอ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญพิเศษ

ง.  ตำแหน่งศึกษานิเทศก์

1)        ศน. ชำนาญการ

2)        ศน. ชำนาญการพิเศษ

3)        ศน.เชี่ยวชาญ

4)        ศน. เชี่ยวชาญพิเศษ

จ. อื่น ๆ  ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

มาตรา  40  ตำแหน่งคณาจารย์  เป็นตำแหน่งทางวิชาการ  คือ

1)        อาจารย์

2)        ผู้ช่วยศาสตราจารย์

3)        รองศาสตราจารย์

4)        ศาสตราจารย์

มาตรา  41  กำหนดตำแหน่งในหน่วยงานทางการศึกษาใด  เท่าใด  ให้เป็นไปตาที่ ก.ค.ศ. กำหนด

มาตรา  42  ก.ค.ศ.  จัดทำมาตรฐานตำแหน่ง  มาตรฐานวิทยฐานะ  และมาตรฐานทางวิชาการไว้ทุกตำแหน่ง

มาตรา  43  ให้ ก.ค.ศ.  ตรวจสอบกำหนดตำแหน่ง  ปรับปรุงตามความเหมาะสม  ตามความรับผิดชอบ  ปริมาณ  คุณภาพงาน

มาตรา  44  การให้ได้รับเงินเดือน  เงินวิทยฐานะ  เงินประจำ  ตำแหน่งอย่างใด  ให้เป็นไปตาม ก.ค.ศ. กำหนด

 

หมวด  4

การบรรจุแต่งตั้ง

มาตรา  45  การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้สำหรับตำแหน่งนั้น      โดยบรรจุลำดับที่ในบัญชี

มาตรา  46  ผู้สมัครสอบบรรจุเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา  30    ผู้ขาดคุณสมบัติตามมาตรา  30  (4)  และ  (8)  ให้มีสิทธิสมัครสอบได้  จะได้รับการบรรจุเมื่อพ้นจากตำแหน่งนั้นแล้ว

มาตรา  47  ให้ อ.ก.ค.ศ.  เขตพื้นที่เป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขัน

                หลักสูตร  วิธีการสอบ  เกณฑ์การตัดสิน  การขึ้นและยกเลิกบัญชี  ให้เป็นไปตามที ก.ค.ศ. กำหนด

มาตรา  48  อ.ก.ค.ศ.  เขตพื้นที่การศึกษา  อาจรับสมัครสอบแข่งขันเฉพาะบุคคลที่มีคุณสมบัติพิเศษได้

มาตรา  49  หากปรากฏภายหลังว่าผู้ได้รับบรรจุแต่งตั้งขาดคุณสมบัติ  ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา  53  สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลันและไม่กระทบกระเทือนดังรายได้ที่ได้รับ

ð   ถ้าเป็นการเข้ารับราชการโดยสุจริต  ให้ออกจากราชการเพื่อรับบำนาญ  บำนาญเหตุทดแทน

มาตรา  50  กรณีมีเหตุจำเป็นหรือเหตุพิเศษ อ.ก.ค.ศ.  อาจคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูได้

มาตรา  51  หน่วยงานทางการศึกษามีความจำเป็นที่จะบรรจุแต่งตั้งบุคคลที่มีความรู้  ความสามารถ  ชำนาญการ  เชี่ยวชาญ

                ให้ขอความเห็นชอบจาก อ.ก.ค.ศ.  เขตพื้นที่โดยขออนุมัติ ก.ค.ศ

มาตรา  52  ก.ค.ศ.  อาจกำหนดให้ตำแหน่งบางตำแหน่งเป็นสัญญาจ้างรายปี  โดยความเห็นชอบกระทรวงการคลังหรือเป็นพนักงานราชการ

มาตรา  53  ผู้มีอำนาจบรรจุแต่งตั้ง

(1)       การบรรจุแต่งตั้งผู้มีวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ

  • เมื่อได้รับจาก ก.ค.ศ
  • ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของสังกัดมีอำนาจสั่งบรรจุ
  • รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอ  นายกรัฐมนตรี
  • นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูล  เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า  แต่งตั้ง

(2)  การบรรจุแต่งตั้ง  รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  วิทยฐานะเชี่ยวชาฐ

  • ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  • ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ

ð ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง โดยอนุมัติ ก.ค.ศ.

(3)  การบรรจุแต่งตั้ง

  • รอง ผอ. สถานศึกษา
  • ผอ.สถานศึกษา
  • ศึกษานิเทศก์
  • บุคลากรทางการศึกษา  ตามมาตรา  38 ค (2)
  • ตำแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะชำนาญการ  ชำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญ

(4)       การบรรจุและแต่งตั้งครูผู้ช่วย  ครูและบุคลากรทางการศึกษา  ตามมาตรา  38  ค (2)  ในสถานศึกษา

ð   ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งโดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา

                ให้คณะกรรมการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  ประกอบด้วย  ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน  เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา  เลขาธิการคุรุสภา  และเลขาธิการ ก.ค.ศ.  เป็นกรรมการและเลขานุการ

มาตรา  54  การให้วิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะใดต้องผ่านการประเมินด้าน

ð   ความประพฤติด้านวินัย  คุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาบรรณวิชาชีพ  ประสบการณ์

ð   คุณภาพการปฏิบัติงาน  ความชำนาญ  ความเชี่ยวชาญ

ð   ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติงาน

มาตรา  55  ให้มีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะสำหรับตำแหน่งที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นยะ

กรณีผู้ไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานให้ดำเนินการ  ดังนี้

(1)     พัฒนา  เพื่อให้ผ่านการประเมิน

(2)     ดำเนินการในมาตรการเกี่ยวกับเลื่อนเงินเดือนหรืองดเงินวิทยฐานะ

(3)     ถ้าปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับที่กำหนด  ให้มีผู้มีอานาจตาม  ม. 53  สั่งให้ออกจากราชการตาม ม. 110 (6)

มาตรา  56  ผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตาม ม. 45  วรรค  1  หรือ  ม. 50  ให้สอดคล้องปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นเป็นเวลาที่กำหนด  ในกฎ ก.ค.ศ.  เว้นแต่ผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู  ให้เตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มในตำแหน่งครูผู้ช่วย  เป็นเวลา  2  ปี  ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู  ให้เตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มในตำแหน่งครูผู้ช่วย  เป็นเวลา  2  ปี  ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู

ð   ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มถูกสั่งให้ออกจากราชการและมิใช่ถูกลงโทษ  ปลดออก  ไล่ออก  ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

มาตรา  58  การโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นที่มิใช่พนักงานวิสามัญ  หรือมิใช่ข้าราชการการเมืองมาบรรจุเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  หากบุคคลนั้นสมัยใดและผู้มีอำนาจสั่งบรรจุสังกัดเดิมของผู้โอน  และนับอายุราชการติดต่อกัน

มาตรา  59  การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไปต่างเขตพื้นที่หรือเขตพื้นที่เดียวกัน

ð   ต้องได้รับอนุมัติจาก อ.ก.ค.ศ.  เขตพื้นที่  โดยให้สถานศึกษา  โดยคณะกรรมการสถานศึกษาเสนอความเห็นประกอบด้วย

ð   ผู้มีอำนาจตาม ม. 53  สั่งตามมติ อ.ก.ค.ศ  เขตพื้นที่

ð   การย้าย  ผอ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  เลขาธิการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เป็นผู้สั่งย้ายโดยอนุมัติ ก.ค.ศ.

มาตรา  60  ให้ ก.ค.ศ.  ดำเนินการสับเปลี่ยนเครือข่าย

ð   ตำแหน่ง  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  หรือ

ð   ตำแหน่งที่มีลักษณะบริหาร  โดยยึดหลักการอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน  4  ปี

ð   จำเป็นเพื่อประโยชน์ราชการให้ต่อได้คราวละไม่เกิน  1  ปี  แต่ต้องไม่เกิน  6  ปี

มาตรา  61  การเลื่อนตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษา  ซึ่งไม่มีวิทยฐานะ  ให้กระทำโดยสอบแข่งขัน  สอบคัดเลือก  คัดเลือกหรือประเมิน

มาตรา  62  สำหรับผู้สอบแข่งขันได้ให้แต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีสอบ

ð   สำหรับการสอบคัดเลือกหรือได้รับการคัดเลือกให้แต่งตั้งตามความเหมาะสม

มาตรา  63  ผู้ได้รับแต่งตั้งให้เลือนวิทยฐานะ/ตำแหน่งไม่เข้าเกณฑ์หรือไม่ผ่านกระบวนการให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตาม ม. 53  สั่งให้ผู้รับกลับไปดำรงตำแหน่งเดิมโดยพลัน  โดยไม่กระทบรายได้

มาตรา  64  ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  ออกจากราชการไปแล้ว  และมิใช่ออกจากราชการระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ  สมัครเข้ารับราชการได้และทางราชการประสงค์จะรับ

มาตรา  65  ผู้ใดได้อนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ออกจากราชการไปปฏิบัติงานใด  ๆ  ถ้าผู้นั้นกลับเข้ารับราชการภายใน  4  ปี  ให้นับเวลาราชการติดต่อกัน

มาตรา  66  ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหาร (ทหารเกณฑ์)  เมื่อพ้นจากการเกณฑ์ยื่นเรื่องขอกลับเข้ารับราชการภายใน  180  วัน

มาตรา  67  พนักงานส่วนท้องถิ่น  ออกจากราชการประสงค์จะสมัครเข้ารับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ð   เสนอ  ก.ค.ศ. พิจารณาอนุมัติ

มาตรา  68  ถ้าตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาว่างลงหรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติราชการได้  ผู้มีอำนาจตาม ม. 53  สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ไปรักษาการในตำแหน่งนั้นได้

มาตรา  69 ตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ทางราชการ ก.ค.ศ.  อาจเสนอแนะให้สั่งข้าราชการผู้ใดปฏิบัติราชการในหน่วยงานทางการศึกษาเป็นการชั่วคราวได้

                ถ้าในเขตพื้นที่การศึกษาให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการเขตโดยอนุมัติ อ.ก.ค. เขต 4

มาตรา  70  ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำส่วนราชการหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  เป็นการชั่วคราวตามกฎ ก.ค.ศ. ได้

มาตรา  71  ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพ้นจากตำแหน่งและขาดจากอัตราเงินเดือนเดิมโดยรับเงินเดือนในอัตราทดแทน  ที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่าได้

 

หมวด  5

การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ

มาตรา  72  ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลงานของผู้ใต้บังคับบัญชาโดยยึดหลัก

  • การปฏิบัติตนที่เหมาะสม
  • ปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เกิดประสิทธิผลมีผลงานเป็นที่ประจักษ์

ผู้นั้นจะได้บำเหน็จความชอบ อาจเป็น  บันทึก  คำชมเชย  รางวัล  เครื่องเชิดชูเกียรติ  กาเลื่อนขั้นเงินเดือน

มาตรา  73  การเลื่อนขั้นเงินเดือน  ให้ผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา  โดยยึดหลัก

  • คุณธรรม  เที่ยงธรรม  เปิดเผย  โปร่งใส
  • ความประพฤติตนด้านวินัย  คุณธรรม  จริยธรรม
  • จรรยาบรรณวิชาชีพ
  • ผลจากการปฏิบัติงาน

มาตรา  74  ก.ค.ศ.  กำหนดขั้นเงินเดือนประสิทธิภาพของตำแหน่งี่มีวิทยฐานะเพื่อ

ð   การปฏิบัติงานบังเกิดผลดี

ð   มีความก้าวหน้า

ð   ได้มาตรฐานงาน

มาตรา  75  ผู้ใดมีความริเริ่มสร้างสรรค์มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ให้ดำเนินการยกย่องเชิดชูเกียรติให้ได้รับเงินวิทยพัฒน์  ตามระเบียบ ก.ค.ศ. โดยคณะรัฐมนตรี เห็นชอบ

มาตรา  76  ส่วนราชการมีหน้าที่จัดสวัสดิการให้ข้าราชการตามความเหมาะสมกับฐานะทางสังคมและวิชาชีพ

มาตรา  77  ผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากปฏิบัติหน้าที่ให้จัดสวัสดิการแก่ครอบครัว  ตามหลักเกณฑ์ของ                                                                      

 

ก.ค.ศ.  โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

มาตรา  78  ผู้ใดได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง  ตาม ม.45  และ ม. 50  ให้ผู้บังคับบัญชาแจ้งภาระงาน

  • มาตรฐานคุณภาพงาน       &
หมายเลขบันทึก: 404244เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2010 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 12:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ได้นำมาให้ผ่านตาอีกครั้ง ดีครับ ได้ทบทวนความหลังครั้งพิจารณากฎหมายฉบับนี้ด้วย

  • สอนดีไม่ยากจน รวยลูกศิษย์ รวยน้ำใจ

ขอบคุณครับ ผมพึ่งมีเวลาสรุปสาระสำคัญต่าง ๆ เพื่อบันทึกใน Blog ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท