อุปกรณ์ยึดจับเด็กขณะถ่ายภาพรังสีปอด


ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

        ปัจจุบันการถ่ายภาพรังสีปอดยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติของปอด  ซึ่งสามารถตรวจวินิจฉัยได้ทั้งในผู้ใหญ่และในเด็ก  กรณีผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดีสามารถสื่อสารและให้ความร่วมมือในการถ่ายภาพรังสี  ภาพรังสีที่ได้ก็จะมีคุณภาพดีแพทย์สามารถวินิจฉัยโรค  ได้ง่าย  กรณีเด็กเล็กจะดิ้นและต่อต้านไม่อยู่นิ่งขณะทำการถ่ายภาพรังสี  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องให้ญาติหรือเจ้าหน้าที่ช่วยจับเพื่อถ่ายภาพรังสีปอด  ทำให้บุคคลดังกล่าวที่มาช่วยจับต้องได้รับปริมาณรังสีเอกซ์โดยไม่จำเป็น ถึงแม้ว่าจะมีการป้องกันโดยการใส่เสื้อตะกั่วและมีการจำกัดขอบเขตลำรังสีให้พอดีกับส่วนของอวัยวะที่ต้องการจะถ่ายภาพแล้วก็ตาม  บุคคลดังกล่าวก็ยังคงได้รับปริมาณรังสีอยู่  การให้เจ้าหน้าที่หรือญาติช่วยจับเด็กในการถ่ายภาพรังสีปอดบางครั้งอาจ   ทำให้ฟิล์มเสียได้  เนื่องจากมีการขยับตัวของเด็กขณะทำการถ่ายภาพรังสี ผู้ช่วยเหลือจับเด็ก  ไม่แน่นพอก็จะทำให้เด็กสามารถขยับตัวได้  ศีรษะของผู้ช่วยเหลือมาบังบริเวณที่จะทำการถ่ายภาพรังสี  ญาติเขย่าตัวเด็กเพื่อให้เด็กหยุดร้อง  เหตุการณ์ดังกล่าวล้วนอาจเป็นสาเหตุทำให้ฟิล์มเสียได้   ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นได้  เนื่องจากการถ่ายภาพรังสีปอดเป็นการตรวจหาความผิดปกติของปอดอันดับแรกๆ  ก่อนที่จะมีการตรวจวินิจฉัยอย่างอื่น

         กลุ่มงานรังสีวิทยาจึงร่วมกันวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวโดยประดิษฐ์อุปกรณ์เพื่อช่วยยึดจับตัวเด็กขณะถ่ายภาพรังสีปอดโดยมีวัตถุประสงค์

1.ลดปริมาณรังสีที่เจ้าหน้าที่และญาติผู้ป่วยได้รับจากการจับยึดตัวเด็กขณะถ่ายภาพรังสี

2.ลดอัตราการถ่ายฟิล์มเสียที่เกิดจากการจับยึดเด็กขณะถ่ายภาพรังสีที่ไม่ถูกต้อง

 

วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา 

ปัญหาด้านผู้ป่วย

 1.เด็กไม่ให้ความร่วมมือ ร้องและดิ้นขณะถ่ายภาพรังสี

 2.ญาติผู้ป่วยจับยึดเด็กไม่ถูกวิธี โดยกลัวเด็กจะเจ็บ ทำให้จับไม่แน่นพอ หรือเขย่าตัวเด็กให้เด็กหยุดร้องไห้

ทำให้ภาพถ่ายรังสีที่ได้ไม่ชัดเจนไม่สามารถใช้วินิจฉัยโรคได้ต้องถ่ายภาพใหม่อีกครั้ง

 

ปัญหาด้านผู้ปฏิบัติ

1.กรณีไม่มีญาติเด็กขณะถ่ายภาพรังสีเจ้าหน้าที่ต้องจับยึดตัวเด็กเองทำให้เสียบุคลากรซึ่งจะต้องไปให้บริการผู้ป่วยรายอื่นที่รอรับบริการอยู่

2.เจ้าหน้าที่รังสีต้องปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็วเนื่องจากมีข้อจำกัดจากตัวเด็กขณะถ่ายภาพรังสี บางครั้งทำให้ภาพรังสีที่ได้ไม่สามารถใช้วินิจฉัยโรคได้ต้องถ่ายใหม่

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน 

1.วิเคราะห์ปัญหาจากการปฏิบัติงาน

2.ออกแบบและประดิษฐ์อุปกรณ์เพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน

3.ทดลองใช้อุปกรณ์และเก็บข้อมูลการใช้อุปกรณ์

4.วิเคราะห์ข้อมูลและแก้ไขปรับปรุงอุปกรณ์

5.นำอุปกรณ์ออกใช้งานจริง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์  

                1.แผ่นพลาสติกแข็งมีขนาดความหนา 5 มิลลิเมตร

                2.ยางยืด

                3.ตีนตุ๊กแก

                4.ด้าย,เข็ม

                5.เทปกาวสองหน้า             

                6.แผ่นยางกันลื่น

                7.กระดาษทราย

                8.เครื่องมือสำหรับตัดแผ่นพลาสติกแข็ง

 

ผลการดำเนินงาน 

1.สามารถใช้อุปกรณ์ยึดจับโดยไม่ใช้เจ้าหน้าที่และญาติผู้ป่วยจับยึด>90%

2.จำนวนฟิล์มเสียจากการจับยึดที่ไม่ถูกต้องลดลง 50%

ประโยชน์ที่ได้รับ 

1.ลดปริมาณรังสีที่เจ้าหน้าที่และญาติผู้ป่วยได้รับจากการจับยึดตัวเด็กขณะถ่ายภาพรังสี

2.ลดอัตราการถ่ายฟิล์มเสียที่เกิดจากการจับยึดเด็กขณะถ่ายภาพรังสีที่ไม่ถูกต้อง

 

หมายเลขบันทึก: 403985เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2010 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาเรียนรู้สิ่งดีๆค่ะ

แบบอย่างที่ดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท