ชีวิตที่พอเพียง : ๑๑๐๕. อยู่กับธรรมชาติ


          ค่ำวันที่ ๒๔ ก.ย. ๕๓ ผมโทรศัพท์จากเชียงใหม่มาหาสาวน้อยที่บ้าน   เป็นการโทรศัพท์มาถามข่าวคราวตามปกติเมื่อผมไม่อยู่บ้าน   สาวน้อยบอกว่าตอนบ่ายระหว่าง ๓ – ๔ โมงเย็นมีพายุพัดแรงมาก ต้นขนุนพันธุ์ไพศาลทักษิณที่บ้านหัก   และต้นสักที่บ้านลูกสาวหัก

         เย็นวันที่ ๒๕ ผมกลับมาสำรวจร่องรอยที่ต้นขนุนส่วนที่หัก ซึ่งเป็นส่วนลำต้นใหญ่   พบว่ามันเป็นโรค คือถูกแมลงกัดกินและเอาดินขึ้นมาอยู่ในเนื้อไม้เต็มไปหมด   รวมทั้งมีไส้เดือนฝอยอยู่ในดินนั้นด้วย   ร่องรอยนี้อยู่ที่โคนต้นขนุนส่วนที่ยังอยู่ สูงเกือบถึงระดับสายตาของผม คือประมาณเมตรครึ่ง

          เราพยายามมองหาตัวปลวก ก็ไม่เห็น เห็นแต่แมลงคล้ายๆ ปลวกสองสามตัว แต่ตัวสีดำและเล็กกว่าปลวกสามสี่เท่า   จึงนำมาเล่าไว้เป็นความรู้   หรือท่านที่มีความรู้มาอ่านบันทึกนี้เข้าจะได้ช่วยให้คำแนะนำ หรือให้ความรู้

          ขนุนต้นนี้ยังไม่ตายครับ ยังเหลือกิ่งอื่นอยู่อีก   ผมจึงสนุกกับการหาความรู้เพื่อรักษาให้ขนุนต้นนี้ซึ่งสองปีมาแล้วให้ผลที่เนื้อหนาหวานอร่อยมาก สามารถอยู่กับธรรมชาติแวดล้อมที่บ้านผมให้ได้   โดยไม่มีการพ่นยาฆ่าแมลง

          ที่ต้นปาล์ม ต้นที่เคยโดนด้วงแรดมะพร้าวกัด และรอดชีวิตด้วยการราดราเขียว ตามที่เล่าไว้ที่นี่ ก็มีปลวกกินส่วนที่ผุพัง   อันนี้เป็นปลวกชัดเจนครับ  ผมใช้วิธีเอาผงฆ่าปลวกสีเทาพ่นใส่   ตามเอกสารบอกว่าเมื่อโดนตัวปลวกไม่กี่ตัวมันจะตายทั้งรัง   ซึ่งก็ไม่จริง   เพราะยังเห็นมีปลวกที่ต้นปาล์มต้นนี้อยู่อีก   ท่านผู้ใดมียาดีสำหรับป้องกันไม่ให้ปาล์มต้นนี้ตายจากโดนปลวกกิน กรุณาแบ่งปันความรู้ด้วยนะครับ   เมื่อหลายปีมาแล้วที่บ้านผม ต้นปาล์มพัดอายุประมาณ ๕ ปี โดนปลวกกินจนตาย   เพราะผมมัวยุ่งๆ ไม่ได้คอยดูแล 

          กลับมาที่ต้นขนุน ตรงรอยที่หักผมไปสำรวจใหม่เช้าวันที่ ๙ ต.ค. พบว่ามีดินฉาบอยู่ส่วนหนึ่ง   เดาว่าเป็นผลงานของปลวก   ในดินนั้นมีทั้งไส้เดือนฝอย และมีรากต้นไม้อยู่ด้วย   แต่ไม่เห็นมีต้นหรือใบ   ทำให้ผมคิดว่าปลวกได้กัดกินและสร้างระบบนิเวศขึ้นในลำต้นของต้นขนุนต้นนี้   ที่มีสิ่งมีชีวิตหลายอย่างอยู่ร่วมกัน   และน่าจะมีคนศึกษาระบบนิเวศภายในต้นไม้ที่เกิดจากปลวกกัดกิน หรือเกิดจากปัจจัยอื่น   คือมองต้นไม้ในรายละเอียด เพื่อเข้าใจป่าหรือระบบนิเวศของป่าให้ลึกซึ้งเชื่อมโยงขึ้น   น่าจะเป็นโจทย์วิจัยของนักศึกษาปริญญาเอกได้

          ต้นปาล์มสะดือก็เช่นกัน   เช้าวันที่ ๙ ต.ค. ผมสังเกตว่ายอดอ่อนโดนกัดกินไปส่วนหนึ่ง (อีกแล้ว) ไม่ปลวกก็ต้องด้วงอีกแล้ว   ผมเอาผงสีเทาไปโรยปลวกตรงบริเวณกาบใบเก่าๆ ที่ผุติดอยู่กับต้นอีก  ง้างส่วนเหล่านี้ออกมาทีไรเห็นตัวปลวกทุกที

          ทำอย่างไรผมจึงจะรักษาต้นขนุนไพศาลทักษิณ และปาล์มสะดือ ไว้ให้รอดจากการโดนปลวกกินจนตายได้?   โดยไม่ทำลายระบบนิเวศส่วนอื่นๆ ในบ้าน

 

วิจารณ์ พานิช
๙ ต.ค. ๕๓   
                        

รอยหักของต้นขนุน

 

จะเห็นว่าลำต้นใหญ่หัก เหลือแต่กิ่งใหญ่กิ่งหนึ่ง

 

 

 

มองให้ดีๆ จะเห็นไส้เดือนฝอยในดิน

 

หมายเลขบันทึก: 403917เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2010 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อาจารย์เชื่อมโยงธรรมชาติ ไปสู่การคิดโจทย์ thesis เลย

จริงด้วยครับ บางทีเรามองมหภาคมากเกินไป ลืมดูเรื่องราวเล็กๆที่จะขยายเรื่องใหญ่ๆได้

อาจารย์ดูเเลสุขภาพครับ :)

...ยายธีลองวิ..เคาะๆๆดูตามประสพการณ์ที่มี..กับต้นไม้..กับความเป็นธรรมชาติ...ที่ไม่เบียดเบียนกัน...ไม่ว่าจะเป็นมดปลวกแมลง...ต้นไม้เหล่านั้นจะมีวงจรและอายุขัยตามธรรมชาติที่ให้มา...มีลูก..ดอกผล..ให้ชื่นชม..ไม่ต้องปรุงแต่ง.....(แต่ทว่าสิ่งเหล่านี้จะหมดไปทันทีเช่นว่าถูกตัดทอน...บ่อนทำลายทันที...หมดไปคือธรรมชาติ..)....(เหตุ..มาจากผลประโยชน์..และความต้องการอันไม่สิ้นสุด..ของมนุษย์พันธุ์ใหม่ทุกวันนี้...)....(น่าจะวิจัยตรงจุดนี้..ด้วยเจ้าค่ะ...ยายธี)

ตามภาพที่เห็น เชื่อมโยงกับสิ่งที่เคยเจอ

เป็นกลไกทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ที่บางช่วงอาจป่วยเล็กน้อย

แต่พอไม่ได้รับการดูแลรักษา จนกระทั่งโรคลุกลาม เนื่องจากเป็นอาการป่วยภายใน

ที่มองเห็นได้ยาก การศึกษาจึงเป็นเรื่องไม่ง่าย

แต่ก็สามารถทำได้หากอาศัยเทคโนโลยีช่วยแทนการผ่าต้นเพื่อศึกษาซึ่งอาจกระทบหลายอย่าง

มาเข้าเรื่องการรักษาความอร่อย..ไม่ใช่สิ..ต้องเป็นต้นไม้แห่งความอร่อยถึงจะถูกกว่าใช่หรือเปล่าครับ

อาจจะทำให้เหนื่อยสักหน่อยนะครับ และต้องใช้เวลาพอสมควร แต่เป็นการรักษาที่ยั่งยืนครับ

เอาเป็นว่าเริ่มตั้งแต่การกำจัดเนื้อเสียที่เป็นอาหารของปลวกซึ่งเปรียบได้กับเนื้อเน่าที่มีแบคทีเรียอาศัยอยู่ก็แล้วกันนะครับ

จากนั้นเราอาจจะใช้ปูนซีเมนต์ ทราย ผสมกับเส้นใยสังเคราะห์หรือวัสดุอื่นๆตามที่จะหาได้เพื่อช่วยให้การยึดเกาะดียิ่งขึ้นและลดการแตกร้าวนะครับ หรืออาจใช้สีทา ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการดำเนินการครับ อีกวิธีก็อาจใช้น้ำมันเครื่องเก่าๆเทราดลงไปด้านในของลำต้นเพื่อไล่ปลวกบริเวณใต้ดินด้วยก็จะยิ่งเป็นการดี หากใช้น้ำมันก็ต้องคำนึงให้เหมาะสมกับสีด้วยนะครับ จากนั้นก็คงต้องรอดูอาการครับ ตอนนี้ก็ต้องระวังอย่าให้น้ำขัง ว่าแล้วก็ขอให้ท่านรักษาต้นไม้ที่ป่วยให้หายเป็นต้นไม้ที่สร้างความสุขให้ผู้บริโภคอย่างยั่งยืนสืบไปนะครับ

Cut out rotten parts, so water won't collect and paint with water-based plastic/acrylic paint to stop sap escaping. Leave it to heal and grow new branches again (10-14 weeks). choose some 2-3 good branches and dislodge the rest. In a 2-3 years the tree will be as good again if the root system is good.

As for termites, it is not useful to spray and kill 'workers' - they work but do not reproduce. Find the queen's chamber and they would be gone for much longer time. Slow acting 'poison' bait seems to work better if it is possible to leave baits around the house. Warning: termite poisons can kill children, dogs and cats too. There are a few suggestions in Vcharkarn.com ;-).

Sir, termites are working for Mother Nature. They break down dead woods and make them useful again.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท