การบริหารงานภาครัฐในยุคปัจจุบัน “แผนที่ยุทธศาสตร์” …Strategy Map…


การบริหารงานภาครัฐในยุคปัจจุบัน “แผนที่ยุทธศาสตร์” …Strategy Map…

"การบริหารงานภาครัฐในยุคปัจจุบัน

“แผนที่ยุทธศาสตร์” …Strategy Map…"

นับจากผู้เขียนได้เริ่มบรรจุรับราชการเมื่อปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา ในการบริหารงานของภาครัฐในสมัยนั้น เป็นเรื่องการบริหารจัดการแบบทั่ว ๆ ไป การวัดผลไม่ค่อยเป็นรูปธรรมมากนัก ยิ่งการจัดงบประมาณด้วยซ้ำ จะเป็นไปในลักษณะ ทำแผนงานตามแผนเงิน...ซึ่งความจริงแล้ว...ต้องดำเนินการจัดทำแผนงานก่อนจึงจะทำแผนเงิน...แล้วก็เดินตามแผนงานที่ได้วางไว้...เพราะได้รับการจัดสรรมาแล้วก็ดำเนินการแล้วค่อยมาจัดกระบวนการตามแผนงบประมาณอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะทำในภายหลัง เนื่องจากการจัดสรรงบประมาณส่วนราชการได้รับจัดสรรช้ามาก กว่าจะได้รับการจัดสรรงบประมาณ พอได้รับงบประมาณ ก็เหลือเวลาอีก 6 เดือน... หรือ 4 เดือน ก็จะสิ้นปีงบประมาณแล้ว...และนี่ก็คือ...การบริหารจัดการแบบเดิม ประกอบกับการวัดผลสำเร็จของงานก็ไม่เป็นรูปธรรม ตัวชี้วัดก็ไม่สามารถระบุได้ชัดเจน เรียกว่า ส่วนราชการนึกอย่างไรก็ทำอย่างนั้น เขาเรียกว่า “ยกเมฆ”... การดำเนินการไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน หมายถึง ผลงานที่ออกมานั้น ไม่สามารถที่จะวัดให้เป็นรูปธรรมได้

แต่มาในยุคปัจจุบัน การบริหารงานภาครัฐได้มีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น...รัฐกระจายอำนาจให้ส่วนราชการดำเนินการบริหารจัดการตนเอง โดยจะมี ก.พ.ร. หรือ ส.ม.ศ. ดำเนินการตรวจสอบและวัดผลการดำเนินงานของส่วนราชการเพื่อรายงานผลเสนอต่อคณะรัฐมนตรีได้รับทราบต่อไป

อันดับแรกที่ส่วนราชการจะต้องดำเนินการ นั่นคือ แผนที่ยุทธศาสตร์ของส่วนราชการซึ่งส่วนราชการต้องดำเนินการจัดทำขึ้นมาก่อน เพื่อเป็นกระบวนการที่ช่วยให้บุคลากรในองค์การปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับเป้าหมายที่องค์การต้องการ เกิดการบริหารให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันตามที่กำหนดไว้ โดยกระบวนการจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ นั้น มี 4 ขั้นตอน ได้แก่...

การยืนยันวิสัยทัศน์

การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์

การกำหนดเป้าประสงค์และ

การกำหนดตัวชี้วัดในแต่ละเป้าประสงค์

การยืนยันวิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์เป็นจุดหมายร่วมกันของทุกฝ่ายในองค์การ เป็นจุดหมายปลายทางร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องภายในองค์การ วิสัยทัศน์จะช่วยให้เกิดทิศทางที่ชัดเจนของการพัฒนาร่วมกันและช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้บริหารจนกระทั่งบุคลากรทุกระดับที่เกี่ยวข้อง รวมถึงบุคคลภายนอกตัว

ประเด็นยุทธศาสตร์

หมายถึง ประเด็นหลักที่ต้องคำนึงเพื่อนำไปสู่วิสัยทัศน์ การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญที่หน่วยงานต้องดำเนินการพัฒนาเพื่อให้สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ที่ได้ตั้งไว้ การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ดี มาจากการวิเคราะห์จากวิสัยทัศน์ที่ได้ตั้งไว้และทำการวิเคราะห์วิสัยทัศน์ออกเป็นประเด็นย่อย ๆ ที่หน่วยงานต้องบรรลุ

เป้าประสงค์

หมายถึง เป้าหมายต่าง ๆ ที่ต้องการบรรลุในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ภายใต้กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีที่ สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดการกำหนดเป้าหมายในแต่ละมิติที่ต้องการบรรลุภายใต้แต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ แนวทางประเด็นคำถามทั่วไปที่ช่วยในการกำหนดเป้าประสงค์ในแต่ละมิติของกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการประจำปี

ตัวชี้วัด (KPIs)

หมายถึง เครื่องมือหรือดัชนีที่ใช้ในการวัดความก้าวหน้าของการบรรลุแต่ละเป้าประสงค์ ซึ่งจะต้องสามารถวัดและกำหนดเป้าหมายของความสำเร็จได้ โดยทุกเป้าประสงค์ต้องมีตัวชี้วัดเพื่อให้เห็นถึงความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม

สำหรับเทคนิคในการจัดทำตัวชี้วัด ควรระดมสมองสร้างตัวชี้วัดออกมาให้ได้มากที่สุด แล้วจึงกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกตัวชี้วัด เช่น ตัวชี้วัดนั้น ๆ สามารถสะท้อนผลการดำเนินงานแท้จริงหรือไม่ โดยที่แต่ละเป้าประสงค์จะต้องมีตัวชี้วัดอย่างน้อย 1 ตัว แต่ไม่ควรมากเกิน 3 ตัว

วัตถุประสงค์ของการทำแผนที่ยุทธศาสตร์

1. ใช้เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยองค์การ เพื่อการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์

2. สร้างแผนที่ยุทธศาสตร์ ที่สะท้อนบริบทขององค์การได้อย่างแท้จริง

3. เห็นความเชื่อมโยงระหว่างแผนที่ยุทธศาสตร์ การนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานและระบบงบประมาณ

4. เกิดความเข้าใจและสามารถจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์เพื่อเป้าหมายในการสื่อสารและการพัฒนาองค์การ

หมายเลขบันทึก: 403699เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2010 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท