การรับรู้


กลไกของการรับรู้

การรู้สึกกับการรับรู้

  • เมื่อเราเกิดความรู้สึกจากการสัมผัส จะมีการรับรู้คู่กันไปด้วย
  • เมื่อเราสัมผัสสิ่งที่เราเคยพบมาก่อน เราจะทราบความหมายของมันคู่กันไปด้วย
  • ถ้าเราพบสิ่งเร้าซึ่งเราไม่เคยรู้จัก ไม่เคยมีประสบการณ์ ไม่เคยเรียนรู้มาก่อน เราก็จะบอกไม่ได้ว่าสิ่งที่รับสัมผัสนั้นคืออะไร


การรับรู้ (Perception)

  • แปลความหมายของสิ่งเร้าที่เข้ามาสัมผัส โดยอาศัยการเรียนรู้หรือประสบการณ์เดิม
  • เมื่ออวัยวะรับสัมผัสจากสิ่งเร้าแล้วส่งไปที่สมอง สมองจะเกิดการคิด การเข้าใจ เกิดการรับรู้ สมองจึงส่งคำสั่งไปยังอวัยวะมอเตอร์ให้แสดงปฏิกิริยาตอบสนอง

 

กลไกของการรับรู้

  1. เกิดจากทั้งสิ่งเร้าภายนอกและภายในอินทรีย์
  2. มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม อวัยวะรับสัมผัส (Sensory organ)
  3. เชื่อมอวัยวะรับสัมผัสกับเขตแดนการรับสัมผัสต่าง ๆ ที่สมอง และส่งผ่านประสาทมอเตอร์ (Motor nerve) ไปสู่อวัยวะมอเตอร์ (Motor organ)

 

ปัจจัยกำหนดการรับรู้
1. ลักษณะของผู้รับรู้

  • ด้านกายภาพ หมายถึง อวัยวะสัมผัส เช่น หู ตา จมูก และอวัยวะสัมผัสอื่น ๆ ปกติหรือไม่ สมบูรณ์เพียงใด
  • ขอบเขตความสามารถโดยธรรมชาติในการรับรู้ของคน
  • การเปลี่ยนแปลงความเข้มหรือขนาดของสิ่งเร้าเพื่อให้บุคคลสามารถรับรู้ได้ เรียกว่า The differential threshold

2 ด้านจิตวิทยา

  • ความรู้เดิม และประสบการณ์ (Experience) ของแต่ละบุคคล
  • ความต้องการ ความปรารถนา (need) หรือแรงขับ
  • สภาพของจิตใจหรือภาวะของอารมณ์
  • เจตคติ
  • อิทธิพลของสังคม (Social Factor) สภาพความเป็นอยู่ของสังคม และลักษณะของวัฒนธรรม
  • ความตั้งใจ (Attention) ที่จะรับรู้ และความสนใจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัว
  • ความสนุกสนานเพลิดเพลิน
  • แรงจูงใจ (Motivation)
  • การให้คุณค่า (Value)
  • ความดึงดูดในทางสังคม
  • สติปัญญา
  • การคาดหวัง ( Expectancy )


ลักษณะของสิ่งเร้า
1. สิ่งเร้าภายนอกที่ดึงดูดความสนใจและความตั้งใจ

  • ขนาดความเข้มข้นหรือความหนักเบาของสิ่งเร้า
  • ความเปลี่ยนแปลงหรือความเคลื่อนไหวของสิ่งเร้า
  • การกระทำซ้ำ ๆ ของสิ่งเร้า
  • ความกว้างขวางหรือขนาดของสิ่งเร้า
  • ความแปลกใหม่
  • ความคงทน จะรับสัมผัสได้ถ้าสิ่งเร้านั้นเร้าอยู่คงนานพอควร
  • ระยะทาง
  • ลักษณะการตัดกัน (Contrast) ของสิ่งเร้า ภาพ (Figure) ควรให้สีเด่นขึ้นจากพื้น (Ground)
  • สีมีประสิทธิภาพในการดึงดูสายตาได้ต่างกัน


การจัดลักษณะหมวดหมู่ของวัตถุที่เป็นสิ่งเร้า

  • กฎแห่งความคล้ายคลึง (the law of Similarity)
  • กฎแห่งความใกล้ชิด (The law of Proximity)
  • กฎแห่งความสมบูรณ์ (The law of Closure)
  • กฎแห่งความต่อเนื่อง (The law of Good Continuation)
  • การรับรู้เกี่ยวกับระยะทางหรือความลึก (Distance of Depth perception)
  • ตำแหน่งที่เหลื่อมกัน Super position of the objects
  • ภาพทิวทัศน์ที่เห็นไกล (Perspective)
  • แสงและเงา (Light and Shadow)
  • การเคลื่อนที่ (Movement)


ความผิดพลาดของการรับรู้

  • ภาพมายา หรือภาพลวงตา (illusion) การเติมสิ่งหนึ่งสิ่งใด ขนาดสัมพันธ์ (Relative size)  การเกิดมุมหรือการตัดกันของเส้นตรง (Angle of Interesting Lines)
  • ความเชื่อที่ผิด ๆ (Delusions)
  • ความไม่สมบูรณ์ของประสาทและอวัยวะสัมผัส
  • อุปทานของตนเอง
  • การแปลสัมผัสผิด
  • บุคลิกภาพอุปนิสัย และเจตคติ (Attitude)
  • ความต้องการ
  • อารมณ์
  • ความใส่ใจ (Attention) 
  • วัฒนธรรมที่เป็นกรอบของการอ้างอิง (Frames of Reference)
  • มองในแง่มุม ทิศทาง บรรยากาศต่างกันจะเห็นต่างกัน


การรับรู้ด้วยสัมผัสพิเศษ (Extra Sensory Perception)
1. โทรจิต (Telepathy) เป็นความสามารถในการรับรู้ความคิดของผู้อื่น โดยไม่ต้องใช้ประสาทสัมผัสปกติ
2. ประสาททิพย์ (Clairvoyance) เป็นการรับรู้เหตุการณ์ปัจจุบันที่นอกเหนือระบบรับสัมผัสปกติ
3. ลางสังหรณ์ (Precognition) เป็นการรับรู้เหตุการณ์ในอนาคต โดยไม่ต้องใช้อวัยวะสัมผัสทั้งห้า
การรับรู้ กับ การอนุรักษ์ธรรมชาติ
ในปัจจุบันสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นรอบตัวมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างหรือไม่ มากหรือน้อยเพียงไร

ประเด็นน่าสนใจ

  1. เหตุใดคนทั่วไปจึงไม่สนใจสัญญานของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกเท่าที่ควร
  2. การทำให้คนรับรู้ถึงปัญหาของโลก ควรเสนอให้คนรับรู้ในการเปลี่ยนของโลกในส่วนย่อย หรือภาพรวม
  3. ความสามารถของการรับรู้การเปลี่ยนแปลงของโลก ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคลจริงหรือ
  4. ท่านคิดว่าขีดจำกัดของสิ่งเร้าที่จะทำให้คนรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้ ควรจะอยู่ในขั้นใด
  5. ท่านคิดว่าอะไรที่เป็นสาเหตุทำให้คนทั่วไปไม่ตระหนักในการดูแลโลกใบนี้
หมายเลขบันทึก: 403573เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2010 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับ อาจารย์ชูพงศ์
  • มาทำความรู้จัก และแวะเติมเต็มความรู้ และสามารถนำไปใช้ได้จริงครับผม
  • มีความสุข สุขภาพแข็งแรงครับ

ตอบประเด็นน่าสนใจ (ขอลองตอบคำถามดูนะคับ หากผิดพลาดหรือไม่เหมาะสมอย่างไร ขอช่วยแนะนำด้วยนะคับ)

1.เหตุใดคนทั่วไปจึงไม่สนใจสัญญานของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกเท่าที่ควร

อย่าว่าแต่สัญญาณการเปลี่ยนของโลกเลยคับ สัญญาณไฟแดงบนถนนหลายคนยังทำเป็นมองไม่เห็น.. คงเพราะคนเราสนใจในสิ่งอื่นมากกว่า เช่น การงาน ธุระปะปัง ไม่ค่อยมีเวลาสนใจในสิ่งที่ควรใส่ใจ

2.การทำให้คนรับรู้ถึงปัญหาของโลก ควรเสนอให้คนรับรู้ในการเปลี่ยนของโลกในส่วนย่อย หรือภาพรวม

น่าจะเสนอภาพรวมก่อนให้พอเข้าใจผลกระทบวงกว้าง แล้วค่อยลงไปถึงเรื่องใกล้ตัวที่เห็นภาพได้ชัดเจนขึั้น (หรือเปล่าคับ)

3.ความสามารถของการรับรู้การเปลี่ยนแปลงของโลก ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคลจริงหรือ

น่าจะจริง เพราะแต่ละคนรับรู้ไม่เท่ากัน อาจขึ้นกับความสนใจ หรือประสบการณ์ของแต่ละบุคคล

4.ท่านคิดว่าขีดจำกัดของสิ่งเร้าที่จะทำให้คนรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้ ควรจะอยู่ในขั้นใด

ขั้นร้ายแรงแล้ว คนถึงจะค่อยตระหนักในปัญหาส่วนรวม

5.ท่านคิดว่าอะไรที่เป็นสาเหตุทำให้คนทั่วไปไม่ตระหนักในการดูแลโลกใบนี้

น่าจะคิดทำนองว่า "คนอื่นไม่ทำ ทำไมฉันต้องทำด้วย" หรือ "ธุระไม่ใช่ เป็นงานของคนอื่น/รัฐบาล/เทศบาลมีหน้าที่ก็ทำไปสิ"

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท