ดูจนจิตมันอาย


 

     "ดูจนจิตมันอาย" เป็นคำสั่งสอนของหลวงปู่เตี้ยที่อำเภอชุมแพ ที่ผมใช้เป็นแนวทางในการฝึกปฏิบัติ แต่ก่อนก็เข้าใจในระดับหนึ่ง วันนี้ได้อ่านบางโสลกแล้วทำให้มีความเข้าใจเพิ่มเติม จึงนำมาบันทึกไว้แลกเปลี่ยนเป็นธรรมทานกับกัลยาณมิตร ดังต่อไปนี้ครับ

 

   การรู้แจ้งต่อสภาพมายาและความจริงแท้

ว่าคือเอกสภาวะเดียวกัน

เป็นมรรคอันถูกต้องสู่การสละปล่อยวาง

การตระหนักชัดว่าตัวจริงของมาร

ก็คือจิตภายในของบุคคลนี้เองคือความรู้เห็นอันยอดเยี่ยม

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 403165เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2010 23:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เป็นข้อคิดข้อธรรมที่ดีมาก ครับท่านอาจารย์

ขอบพระคุณครับ

ดูจนจิตมันอาย

เป้นการดูจิตน่าจะลึกซึ้งมาก ผมพยายามดูอยู่ครับ

บางครั้งมันไม่อายเอาเสียเลย แต่ก็เห็นมัน

 

ขอบคุณ คุณณัฐวรรธน์  ที่กรุณาติดตามอ่านครับ

 

 

สวัสดีครับ  พ.แจ่มจำรัส

  • "ดูจนจิตมันอาย" ท่านพระอาจารย์เตี้ยท่านสอนได้ลึกซึ้งมากครับ ผมเองก็มีความเข้าใจในหลายระดับลึกซึ้งเข้าไปเรื่อย ๆ ตามลำดับ
  • ผมเห็นว่า การดูให้จิตมันอาย เป็นหน้าที่หลักของเรา ตราบใดที่เรายังไม่เห็นตรงนี้ ก็ยากที่จะขจัดกิเลสอวิชชาลงได้
  • ขอบคุณที่กรุณาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

 

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์

อาจารย์สบายดีมั้ยคะ..ไม่ค่อยเจออาจารย์เลยนะคะพักนี้ หนูพึ่งไปเกาหลีเหนือมาค่ะ...รัฐบาลเกาหลีเหนือเชิญไปร่วมเฉลิมฉลอง 65 ปีพรรคแรงงานค่ะ วันนี้มาเรียนเชิญท่านอาจารย์ไปชมที่นี่นะคะhttp://gotoknow.org/blog/0815444794/404698

 

 

  • น่าสนใจมาก จะตามไปเยี่ยมชมนะครับ

 

ได้ไปอ่านบันทึกของว่าที่ ดร.วิชิต

ที่ gotoknow.org/blog/wichitchawaha/74810

เห็นว่าดีมากจึงขอนำมาเสนอไว้เป็นธรรมทานต่อครับ

 

ปกติแล้วขบวนการธรรมชาติของจิตเมื่อกระทบกับปรากฏการณ์ต่างๆ อันเป็นขันธ์ห้า แล้วจะเกิดปฏิกิริยาขึ้นภายในจิตรวดเร็วมาก จนเราอาจไม่รู้ตัว ไม่ทันสังเกต เพราะขาดการเผ้าสังเกต จึงเกิดเป็นอารมณ์ที่ถูกปรุงแต่งให้ผิดเพี้ยนไปจากสภาพที่เป็นจริงตามธรรมชาติ เรียกว่า อวิชชา นั่นคือขาดความรู้อันเป็นปัญญาทางพุทธศาสนาที่แท้จริง จิตของเราก็เลยเอาขันธ์ห้านี้มารวมกับความหยาก จึงเกิดกิเลส ที่เรียกว่า โลภ โกรธ หลง จิตใจก็เลยไปยึดติดเอาผลที่เกิดจากการปรุงแต่งเกิดเป็นอุปทาน 4 ประเภท คือ

  1. กามุปทาน คือ การยึดติดในกามและของรักใคร่ ติดพันในสิ่งที่น่ารักน่าพอใจ สิ่งบำรุงบำเรอสบายใจ อันทำให้เกิดความรักกัน โกรธกัน เกลียดกัน อิจฉาริษยา
  2. ทิฎฐปาทาน คือ การยึดติดในความคิดเห็นเดิมๆ ที่มีอยู่ แล้วเกิดเป็นความดื้อดึง ไม่ยอมละความไม่ถูกต้องที่มีอยู่ และไม่ยอมรับในสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่ดีกว่า
  3. ลีลัพพตุปาทาน คือ การยึดติดในการปฏิบัติที่มีจุดมุ่งหมายที่ไม่ถูกต้อง หรือสิ่งที่งมงาย ไร้เหตุผลหรือความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันไม่ใช่ความรู้ในทางพุทธศาสนา
  4. อัตตวาทุปาทาน คือ การยึดติดในความมีหรือความเป้นเจ้าของตัวตน โดยยึดเอาตัวตนเองเป็นใหญ่ กระทำการต่างๆ ด้วยสัญชาตญาณเพื่อการอยู่รอดของตนเอง พึ่งตนเองเป็นสำคัญ

ฉะนั้นจิตที่เป็นอวิชชาเมื่อไปหลงยึดติดในสิ่งที่มากระทบเข้ามาในระบบ ในที่สุดก้จะถูกพัฒนาการเป็น ความรู้สึกสุข หรือทุกข์ หรือรู้สึกเฉยๆ

เบญจขันธ์ > กิเลส> อุปทาน 4 > เกิดความรู้สึกเป็นสุข-เป็นทุกข์-เฉยๆ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท