'ชา' เครื่องดื่มที่มีทั้งคุณและโทษ


    ทุกวันนี้ใคร ๆ ก็หันมาดื่มชา ด้วยสาเหตุหลายประการ แต่ส่วนใหญ่จะนึกถึงประโยชน์สารพัดของการดื่มชา โดยไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วชาก็มีโทษและข้อควรระวังในการดื่มเช่นกัน


    แม้ว่าการดื่มชาจะเป็นที่รู้จักแพร่หลายไป ทั่วโลก แต่ผลผลิตชาส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในทวีปเอเชีย ด้วยเหตุที่พื้นที่บริเวณนี้อยู่ในเขตมรสุม มีอากาศอบอุ่น ปริมาณน้ำฝนมาก เหมาะกับการเจริญเติบโตของต้นชา


    เราแบ่งชาตามกรรมวิธีผลิตได้เป็น 3 กลุ่ม คือ ชาเขียว ( Green tea) เป็นชาที่ได้จากยอดใบชา รู้จักดีในชื่อของชาญี่ปุ่น เป็นชาที่ผ่านการอบแห้งโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการหมัก ทำให้ได้ใบชาที่ยังคงสีเขียวอยู่


    ชาจีน ( Red tea ; Oolong tea) เป็นชาที่คนไทยคุ้นเคยที่สุด ผ่านกระบวนการหมักในระยะสั้น ๆ มีรสจัดกว่าชาเขียว น้ำชามีสีแดงเข้ม ชาจีนที่ดีควรเป็นชาที่เก็บจากภูเขาสูงและเป็นชาที่เก็บในช่วงฤดูหนาว เชื่อกันว่าเป็นชาชั้นยอดและมีกลิ่นหอมพิเศษ , ชาหมักหรือชาฝรั่ง ( Black tea) เป็นชาที่ผ่านกระบวนการหมักอย่างเต็มที่ รสชาติชาที่ได้เข้มข้นมาก นอกจากนี้ยังนิยมนำชาชนิดนี้แต่งกลิ่นแต่งรส ทำให้ได้รสชาติที่หลากหลายมากขึ้น ชาชนิดนี้เป็นที่นิยมมากในแถบยุโรป


    ปัจจุบันมีชาอีกประเภทหนึ่งที่เรียกกันว่า ชาขาว เป็นชาที่ได้จากช่อใหม่ของต้นชาหรือยอดชาอ่อน และผ่านกระบวนการผลิตโดยใช้ความร้อนน้อยที่สุด จึงทำให้คุณค่าทางโภชนาการและศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดเมื่อ เปรียบเทียบกับชาชนิดอื่น ๆ


    ในใบชามีสารกาเฟอีน ช่วยกระตุ้นระบบประสาทกลางและระบบหมุนเวียนโลหิต มีอิทธิพลต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมของเซลล์ภายในร่างกาย ใช้ผสมยาแก้ปวด รักษาโรคไมเกรน เพื่อเพิ่มฤทธิ์ในการรักษาและให้ยาออกฤทธิ์ได้นานขึ้น สารกลุ่มแซนธีนในใบชา มีผลต่อระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน


    ในประเทศจีนรู้กันมานานแล้วว่าชาจีนสามารถ ควบคุมการเกิดโรคอ้วนได้ดี มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ ช่วยฆ่าเชื้อโรค ลดการอักเสบ สมานแผล ขับและชำระสารพิษในร่างกาย เพราะในใบชามีสารพอลิฟีนอล สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ได้ ในส่วนฤทธิ์การต้านการอักเสบเชื่อว่าชาสามารถป้องกันโรคที่ก่อการอักเสบ เรื้อรัง เช่นข้ออักเสบรูมาตอยด์


    คนญี่ปุ่นเชื่อว่าการดื่มชาเขียวจะช่วยลด การเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์ช่วยต้านอนุมูลอิสระและเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะชาเขียวมีวิตามินซี วิตามินบีรวม และกรดแพนโธเทนิก ช่วยให้หลอดเลือดมีการซึมผ่านได้ดีขึ้น ช่วยไม่ให้เส้นเลือดแข็งตัวง่าย กรดแพนโธนิกในชา ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น วิตามินบี 1 ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเม็ดเลือด วิตามินบี 2 ช่วยลดการอักเสบ


    ในช่วงอากาศร้อนการดื่มชาจะช่วยให้รู้สึก สดชื่นขึ้น เนื่องจากในใบชามีสารพอลิฟีนอล คาร์โบไฮเดรต และกรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบ เมื่อสารเหล่านี้เกิดปฏิกิริยากับน้ำลายจะช่วยกระจายความร้อนส่วนเกินในร่าง กาย ชายังให้สารไอโอดีน และฟลูออไรด์ซึ่งเป็นสารป้องกันภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ซึ่งฟลูออไรด์ในจำนวนที่เพียงพอกับความต้องการจะช่วยป้องกันฟันผุและเสริม มวลกระดูก


    แม้เครื่องดื่มชาจะมีประโยชน์มากมาย แต่โทษที่อยู่ในใบชาก็มีไม่น้อย ใบชามีกรดแทนนิกอยู่มาก โดยเฉพาะชาหมักมีกรดแทนนิก มากกว่าชาเขียว


    ใบชาที่คุณภาพต่ำจะมีกรดแทนนิกอยู่มาก มีผลต่อ trace element ในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม แมกนีเซียม สังกะสี ส่งผลให้ดูดซึมอาหารได้ไม่เต็มที่ ซึ่งอาจนำไปสู่การเจ็บป่วยด้วยอาการขาดธาตุเหล็กในเลือด เมื่อแทนนิกรวมตัวกับโปรตีนจะทำให้ย่อยโปรตีนยากขึ้น


    การดื่มชาที่เข้มข้นมาก ๆ มีผลในกระเพาะอาหารดูดซับอาหารได้น้อยลง ระบบย่อยอาหารผิดปกติซึ่งจะทำให้ท้องผูก ยิ่งถ้าดื่มชาเข้มข้นในช่วงท้องว่างติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน อาจทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารได้ ดังนั้นควรดื่มชาหลังรับประทานอาหารแล้ว 2-3 ชั่วโมง


    ผู้ที่ไตทำงานบกพร่องหรือมีอาการไตวาย ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ เด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ขวบ สตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิด สตรีตั้งครรภ์ สตรีให้นมบุตร ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคหัวใจ ผู้ที่มีไข้สูง ไม่ควรดื่มชาเพราะการดื่มชาอาจทำให้เกิดโทษแก่ร่างกายได้


    “ ผู้ที่คิดจะดื่มชาควรจะมีความรู้และพึงระวัง ไม่ควรดื่มชา ขณะกินยา ไม่ว่าจะเป็นยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณ ไม่ควรดื่มชาก่อนนอนสำหรับผู้ที่นอนหลับยากหรือเป็นโรคนอนไม่หลับ ไม่ควรดื่มชาที่ร้อนจัด เพราะความร้อนจะไปทำลายเนื้อเยื่อในช่องปากจนทำให้เกิดอันตรายในช่องปาก ลำคอ ลำไส้ได้ ไม่ควรดื่มชาที่ชงค้างคืนหรือชงไว้นานหลายชั่วโมง เพราะชาอาจบูด ซึ่งชาที่ชงทิ้งค้างไว้นาน ๆ พบว่ามีกรดแทนนิกสูง และสารต่าง ๆ ในน้ำชาอาจทำปฏิกิริยาจนกลายเป็นสารพิษได้ ” เภสัชกรหญิง เรืออากาศโทหญิง วิภาพร เสรีเด่นชัย กลุ่มวิชาเภสัชเวช คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ระบุ


ที่มา : http://www.sko.moph.go.th/content.asp?contentid= 4756

คำสำคัญ (Tags): #สุขภาพ
หมายเลขบันทึก: 402672เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2010 19:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

...ขอบคุณสำหรับข้อมูล เกี่ยวกับที่มาของชาประเภทต่างๆ ประโยชน์ และ โทษ ได้ต่อยอดความรู้เพิ่มขึ้นอีก โดยเฉพาะข้อที่บอกว่าไม่ควรดื่มขณะที่ชาร้อนจัด เพราะที่ผ่านมาก็จะดื่มตอนที่มันยังร้อนๆอยู่ เพราะมันหอมนะคะแล้วก็โล่งๆด้วย อีกอย่างทำตามหนังจีนด้วย ฮา

ขอบคุณค่ะ...

อ่านแล้วได้ความรู้ดีจังครับ เฮ้อง่วงจัง ขอชาถ้วยหนึ่งซิครับ

เค้าให้ดื่มตอนอุ่น ๆ ค่ะ คุณ Ico32ปิ่นธิดา

อย่างในหนังจีนคงทำได้  เพราะอากาศบ้านเค้า

หนาวกว่าเรามากน่ะค่ะ

พี่ดื่มเป็นบางครั้งเพราะพี่ไม่ดื่มกาแฟ

ชอบชาเขียวค่ะ  เวลาไปทานอาหารญี่ปุ่น

แต่ถ้าเข้า เจ็ดสิบเอ็ด  ส่วนมากจะเป็นชาเย็นแก้ง่วง

พัดชาไม่ชอบเครื่องดื่มเย็นค่ะพี่ Ico32krugui Chutima

ดื่มได้บ้างเป็นบางครั้งค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท