ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง
นาย ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง (เอ) หลักเมือง

สิ่งที่ไร้ค่า ก็มีมูลค่า


สิ่งที่ไร้ค่า ก็มีมูลค่า ถ้าคิดเป็น

สิ่งที่ไร้ค่า ก็มีมูลค่า

บันทึกของศุภัชณัฏฐ์  หลักเมือง

12 ตุลาคม 2553

*****************

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (9 ตุลาคม 2553)  ผมได้นำ พันจ่าอากาศโท ประกาศิต  ตาชื่นต้อง  ผู้อำนวยการ กศน.เขตหนองแขม ที่มาฝึกปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในการฝึกอบรมสมรรถนะในตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด  โดยได้ลงพื้นที่ในการ   เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการดูสถานที่ปฏิบัติงานและสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้อง โดยได้   ศึกษาดูงานของ กศน.อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ใน 2 งาน/กิจกรรม ดังนี้

1.  งาน/กิจกรรมห้องสมุดประชาชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

จุดเด่น กิจกรรมห้องสมุดประชาชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ 

          1)  การบริการสมาชิกห้องสมุด ด้วยระบบการค้นหาหนังสือและเอกสาร

ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็สามารถทราบได้ว่าหนังสือหรือเอกสารที่ต้องการ  ยังมีอยู่หรือไม่หรือมีการยืมออกไปแล้ว และถ้ามีอยู่อยู่ในหมวดใด (000-999)  ในระบบดิวอี้

          2)  การยืม-คืนหนังสือหรือเอกสาร โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ PSV 5 ซึ่งใช้ระบบสแกนบาร์โค๊ด ทำให้สามารถบริการยืม-คืนหนังสือหรือเอกสาร      ได้อย่างรวดเร็ว เล่มละ 1 วินาที

          3)  ระบบการออกบัตรสมาชิกห้องสมุด โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์     PSV 5 ที่สามารถใช้รหัสประจำตัวประชาชน 13 หลัก แทนรหัสสมาชิก และสามารถออกบัตรสมาชิกได้หลังจากกรอกเอกสารใบสมัครเรียบร้อยแล้ว ภายในเวลา 5 นาที

          4)  ระบบบริการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ในระบบคูปองที่ระบุวงเงินในการใช้บริการ (แต่บริการฟรีครับ)  โดยผู้ใช้บริการสามารถใช้คูปองในการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้วันละ 1 ชั่วโมง และสามารถพิมพ์ข้อมูลที่สืบค้นได้ด้วย เมื่อคูปองหมดวงเงินและระยะเวลา    การใช้ก็สามารถขอรับคูปองได้ใหม่

          5)  กิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่หลากหลาย และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ทุกเพศทุกวัย ทุกระดับอายุ ตามความสนใจของผู้ใช้บริการ

2.  งาน/กิจกรรม กศน.ตำบลคลองวาฬ

จุดเด่น กิจกรรม กศน.ตำบลคลองวาฬได้แก่

       การส่งเสริม และสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มถ่านกะลามะพร้าวอัดแท่ง  โดย กศน. ตำบลคลองวาฬ ได้ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่ม  การให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการกลุ่ม  การระดมเงินทุนของกลุ่ม (การลงหุ้น)  และการเงินและบัญชีของกลุ่ม

       จากการเก็บรวบรวมข้อมูลของหมู่บ้าน  กศน.ตำบลคลองวาฬ และชาวบ้านหมู่ที่ 2  ได้มองเห็นคุณค่าของกะลามะพร้าวในพื้นที่  ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรจึงคิดว่าน่าจะสามารถเพิ่มมูลค่าจากวัสดุที่เหลือใช้คือ กะลามะพร้าว และจากภูมิปัญญาชาวบ้าน พบว่าถ่านที่เผาจากกะลามะพร้าว สามารถให้ความร้อนสูงใช้ได้นานกว่าถ่านที่เผาจากไม้ชนิดอื่น ๆ ในปริมาณที่เท่ากัน ระยะต่อมาจึงคิดวิธีที่จะทำให้ผู้ใช้ได้มีความสะดวกมากขึ้น คือ การอัดแท่งที่ไม่เปลืองพื้นที่จัดเก็บ และสามารถเก็บไว้ได้เป็นจำนวนมาก

        ปัจจุบัน กลุ่มถ่านกะลามะพร้าวอัดแท่ง สามารถแบ่งปันผลกำไรจากการขายผลผลิตให้กับสมาชิกผู้ถือหุ้นแล้ว จำนวนรายละ 100 -120 บาท  ถึงแม้เป็นเงินจำนวนไม่มากนักแต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการกลุ่มที่ดี  มีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการปฏิบัติ ทุกคนมีความรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีความสุขกับการได้ทำกิจกรรมร่วมกัน  ส่งผลให้เกิดความรักและความสามัคคีในกลุ่ม  การพัฒนาระยะต่อไปกลุ่มถ่านกะลามะพร้าวอัดแท่ง  ตั้งใจจะทำหีบห่อ(ถุงบรรจุถ่านกะลามะพร้าวอัดแท่ง) ที่มีโลโก้ของตนเอง

        กิจกรรมกลุ่มถ่านกะลามะพร้าวอัดแท่ง ของ กศน.ตำบลคลองวาฬ นี้     เป็นเพียงหนึ่งในร้อย หรือพันหรือหมื่นกิจกรรม ที่เริ่มต้น  ส่งเสริมและสนับสนุน จากน้อง ๆ หัวหน้า กศน.ตำบล ทั้งหลายทั่วประเทศครับ.

 

        

หมายเลขบันทึก: 402370เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2010 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียนท่านอ.ครับ

มะพร้าวอัดแท่งทำอย่างไรครับ ขอชมภาพตามขั้นตอนได้ไหมครับ ถ้าได้ละเยี่ยมเชียว

เรียนท่านอาจารย์

    มาร่วมชื่นชมกิจกรรมกับน้องๆด้วยค่ะ

เรียน อาจารย์โสภณ วันหลังจะนำรูปภาพขั้นตอนมาให้ชมครับ.

ขอบคุณ คุณยายแทนน้อง ๆ หัวหน้า กศน.ตำบล ด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท