การบริหารการเปลี่ยนแปลง ให้สอดคล้องกับธรรมชาติการเปลี่ยนแปลง


การเปลี่ยนแปลงด้วยการสร้างเหตุปัจจัยที่ดี ก่อให้เกิดการเปลียนแปลงมากกว่าสร้างแต่ตัณหาไม่มีเหตุปัจจัยอะไรเลย

change เป็นสโลแกนในการหาเสียงของ บารัค โอบาม่าในการชิงตำแหน่ง
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และได้ครองใจของชาวสหรัฐอเมริกา และ
ในแวดวงการบริหารจัดการ การบริหารการเปลี่ยนแปลงได้เข้าสู่ระบบราชการ
เป็นนัยว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะสิ่งที่เรียกว่าเป้าหมายเชิงคุณภาพ

การเปลี่ยนแปลง คือ การเคลื่อนไหวอย่างมีทิศทางหรือไ่ม่ทิศทางก็ได้ ซึ่ง
่สรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนแต่เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติ ได้แก่ในระัดับลึกที่สุดของ
วัตถุคือธาุตุทั้งหลายในโลกเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทำให้เิกิดฟ้าร้อง แผ่นดินไหว
ก่อเกิดฤดูกาลต่าง ๆ นอกจากนั้นยังเคลื่อนไหวแบบเป็นจังหวะ ได้แก่ การเกิด
การดำรงอยู่ การดับไป การหมุนวนตามธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของสิ่งหนึ่ง
อาจกระทบต่อสิ่งหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  เช่นการเด็ดดอกไม้หนึ่งดอกอาจ
สะเทือนถึงดวงดาวได้ หมายความถึงความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันของสรรพสิ่ง

ในทางพุทธศาสนากล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเกี่ยวกับวัตถุและจิตใจว่า
เป็นมีการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของไตรลักษณ์ได้แก่ อนิจจัง ความไม่แน่นอน
ความไม่เที่ยงแท้ ทุกขัง คือ ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ อนัตตา คือ ไม่มีตัวตนอะไร
ที่แน่นอน ในทางวัตถุอันเกี่ยวข้องกับมนุษย์คือ อัตนียา (ของกรู) การที่สรรรพสิ่ง
นั้นล้วนแต่เกิดและดับกันตามธรรมชาติ แต่มนุษย์นั้นมีตัณหาที่ต้องการ มีอุปาทาน
คิดว่าสิ่งนั้นเป็นของเรา จึงเกิดทุกข์ขึ้น ตัณหาก็คือความทะยานอยากในวัตถุ
วัตถุทั้งหลาย  ความทะยานอยากเป็นอยากได้ตำแหน่งอำนาจต่าง ๆ ตลอดจน
ไม่ต้องการเผชิญกับสิ่งที่ไม่ต้องการ ซึ่งในทางพุทธศาสนาได้กล่าวถึง
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจทุกอย่างเกิดจากความไม่รู้จริงหรืออวิชชา
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยสังขารจึงมี  เพราะสังขารเป็นปัจจัย ่วิญญาณจึงมี 
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยนามรูปจึงมี  เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬยตนะจึงมี
เพราะสฬยตนะเป็นปัจจัย  ผัสสะจึงมี  เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี 
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหาเพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี 
เพราะอุปทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมี ชาติ ชรา มรณะ
ทุกข์ โทมนัส เป็นไปตามเหตุปัจจัย

ดังนั้นในทางพุทธศาสนาได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยยะสำคัญ
ก็คือเหตุปัจจัย  ก็เพราะเหตุปัจจัยเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
หาใช่ตัณหาที่เป็นความต้องการของมนุษย์ หากเป็นไปตามตัณหา
คือความต้องการโดยปราศจากเหตุปัจจัย ก็จะก่อทุกข์ให้มนุษย์ใ้ห้มากขึ้น
หากกระทำตามเหตุปัจจัยที่มี ก็เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้อง
กับธรรมชาตินั้นแหละ เป็นวิธีที่ดีที่สุดตามวิธีการแห่งพุทธศาสนา

รากฐานอารยธรรมตะวันตกนั้น เห็นว่าเหตุปัจจัยสำคัญที่สุดในการพัฒนา
ก็คือทรัพยากรดังนั้น การดูดทรัพยากรเพื่อสร้างความมั่งคั่งและปัจจัยพื้นฐาน
ทางด้านการพัฒนา ได้ถูกทำให้เป็นนโยบาย ก่อให้เกิด การล่าอาณานิคม
เืืพื่อนำเอาทรัพยากรต่าง ๆ นั้นพัฒนาสิ่งที่เป็นพื้นฐานให้กับประชาชน
เสร็จสิ้นทั้งหมดแล้ว ต่อมาอาณานิคมต่าง ๆ นั้นก็แยกตัวไปตามโลก
ที่หมุนไปตามแนวโน้มของชาติที่ต้องการความอิสระจากประเทศแม่
เหตุการณ์สำคัญที่สุดในการแย่งชิงทรัพยากรนั้นก็คือ สงครามโลก
ที่อุบัติขึ้นล้วนมีแต่สาเหตุของการแผ่ขยายอำนาจเพื่อแย่งชิงทรัพยากร
โดยใช้อำนาจและกำลังทางการทหาร ต่อมาเมื่อการช่วงชิงทรัพยากรต่าง ๆ
สงบลง ก็เกิดเหตุการณ์ของการพยายามสร้างอาณานิคมทางด้านปัญญา
โดยการเผยแพร่แนวคิดทางด้านบริหารจัดการที่เป็นแนวระนาบเดียวกัน
กับประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยนำโมเดลการพัฒนาแบบทุนนิยมเน้นแข่งขัน
โดยใช้คำว่าเท่าเทียมกัน ทั้งที่ไม่เท่าเทียมกันด้านทรัพยากร
โดยสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนยกตัวอย่างทางด้านการแข่งขันทางด้านการศึกษา
ที่สุดก็คือ การ Ranking มหาวิทยาลัยระดับโลก ซึ่งประเทศโลกที่สาม
ไม่เคยได้อันดับทีเป็นตัวเลขเดียว จะอยู่ปลาย ๆ ตลอด นั้นก็คงเป็นบทสรุป
ว่า แม้ว่าเราจะใช้กระบวนการเช่นเดียวกับประเทศพัฒนาแล้ว แต่ทรัพยากร
พื้นฐานไม่เท่ากัน แม้ว่าจะ Ranking ไปถึงอีก 100 ปี ก็ไม่มีทางเท่าเทียมทัน
ยกเว้นว่ามีการลงทุนผ่านการวางแผนกระบวนการจัดการที่เท่าเทียมกัน
เช่นมหาวิทยาัลัยในเอเซีย ลำดับหนึ่ง คือ มหาวิทยาลัยโตเกียว ซึ่งมีอัตราส่วน
การลงทุนเป็นจำนวนเงินมหาศาล ก็ต้องลงทุน เหตุปัจจัยแห่งการแข่งขัน
 แ่ม้ว่าเราจะมีนักบริหารจัดการที่เยี่ยมยอด แ่ต่มีการลงทุนน้อยซึ่งเป็นปัจจัยหลัก
ก็ไม่มีทางได้คุณภาพและแข่งขันกับเขาได้

กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยในด้านวิชาการนั้น
เข้มข้นกว่าทุกชาติไม่ว่าจะเป็นเรื่องนโยบาย การกำหนดเป้าหมาย
แต่การสร้างปัจจัยที่ดีในการบริหารการเปลี่ยนแปลง การลงทุนนั้นยังต่ำที่สุด
การฝึกอบรมพัฒนาคนยังด้อยกว่าเอกชนถึงที่สุด ตั้งแต่กำลังคนน้อยกว่าเอกชน 
การสร้างปัจจัยพื้นฐาน เสมือนกับ มีตัณหาอยากได้อะไรตามเป้า
แต่ไม่มีเหตุปัจจัยที่เป็นนัยยะสำคัญ ไ้ด้แก่ กำลังคน การวางแผนบริหารจัดการ
การลงทุนตามแผนบริหารจัดการตามบริบท ซึ่งเป็นปัจจัยที่ดี

ถ้าจะเปรียบกับการผลิตรถหรูราคาแพง ถ้าเป็นเอกชน ก็จะมีการลงทุน
ทางด้านปัจจัยนำเข้าที่พอสมควร แล้วเข้าสู่กระบวนการผลิต ที่มีอุปกรณ์
หรือเครื่องมือในการผลิต และแรงงานคนที่ผลิตเต็มตามกำลัง มีเป้าชัดเจน
และสุดท้ายก็ได้รถหรูราคาแพง ตามที่ตั้งใจอะไร แม้ผลงานที่ออกมาบางชิ้น
จะมีคุณภาพลดลงตามการผลิต ก็จะมีกระบวนการแก้ไขให้ได้คุณภาพ
และความปลอดภัยแล้วจึงเป็นรถหรูราคาแพง  แต่ถ้าเปรียบเป็นโรงงานของรัฐ
สิ่งที่ทำอันดับแรกก็คือทำคิวซีก่อนทำกระบวนการให้แรงงานคนขาดบ้าง
ไม่มีอุปกรณ์การผลิตบ้าง มีบ้างแต่ไม่มากบ้างส่วนวัตถุดิบนั้น เสมือนกับ
การนำเอาเศษจักรยานเก่า ๆ ผุและขึ้นสนิมเป็นปัจจัยนำเข้าเพื่อเข้าสูกระบวนการ
ผลิตที่ขาดแคลนแรงงาน และเครื่องจักรที่มีบ้างไม่มีบ้าง และมีกระบวนการคิวซี
ตลอดจนกระบวนการผลิต ผลที่ออกมา ถ้าได้เป็นรถยุโรปราคาหรูก็เป็นเพราะหัวหน้า
โรงงานนั้นทนไม่ไหวยอมขาดทุนไปหาซื้อจักรยานเก่า ๆ มาเพิ่มเติม หรือบางครั้งมี
คนใจดีเอาเศษรถใหญ่มาให้ คนงานในโรงงานนั้นได้ออกกำลังกายกำลังความคิด
รถที่ออกมาก็พอจะไกล้เคียง แต่ไม่หรูหรา คนงานในโรงงานนั้นเกือบตาย หัวหน้าโรงงานบางคนก็ใจเสาะเพราะหาเศษรถใหญ่ไม่ได้ ยิงตัวตายไปก็มี  ต่อมาก็มีบุคคลภายนอกมีหน้าที่มาตรวจคิวซีโรงงาน ก็พบว่า ผลิตผลรถหรูหราที่ตั้งใจเอาไว้
ไม่ได้เรื่องเขาก็ตรวจสอบ process ก็บอกว่าหัวหน้าโรงงานไม่ได้เรื่อง บริหารแย่
คนงานแย่ ไม่เป็นไปตามคิวซีเลย แต่ไม่ได้พูดถึงจักรยานเก่า ๆ ที่ได้รับมาป้อน
แกล้งลืมจักรยานตัวเก่า ๆ นั้นไปเ่ลย หัวหน้าโรงงานที่ลงทุนไปหาเศษรถยนต์
มาด้วยความยากลำบาก คนงานก็น้อย จากนั้นผู้ตรวจสอบคิวซีก็รายงาน
จุดอ่อนของคิวซีว่า เป็นเพราะหัวหน้าโรงงานไม่ได้เรื่อง คนงานก็แย่
ผลงานออกมาก็ห่วยแตก ส่งไปยังนายทุนโรงงานที่ส่งเศษจักรยานมาให้ผลิต
นายทุนก็โมโห อุตสาห์ลงทุนจักรยานเก่าตั้งหนึ่งคัน ก็เกิดความโกรธสุด ๆ
เกิดการแก้ไขปัญหาี่ที่หัวหน้าโรงงานและคนงานเพราะเป็นสาเหตุใหญ่ที่คิวซีบอก
เพราะเขาบอกว่า หัวหน้าโรงงานนั้นจะต้องเปลี่ยนแปลงให้เกิดรถหรูราคาแพง
ให้จงได้ ด้วยการสนทนากับคนงานให้มีมธุรสวาจา มีสุนทรียในการพูดจา
มีกระบวนการวางแผนอย่างดี ด้วยความใจดีของนายทุน ปีนี้จึงให้เศษรถจักรยานยนต์ เป็นปัจจัยนำเข้าเพิ่มขึ้นอีกสามคัน พร้อมกับพูดปลอบขวัญหัวหน้าโรงงานว่า
ขอให้ได้รถหรูยุโรปราคาแพงนี่จริง ๆ นะ

ธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงของอะไร มักเปลี่ยนแปลงไปตามตัณหาของมนุษย์อยู่เสมอ
เมื่อเปลี่ยนแปลงตามตัณหาของมนุษย์ ทุกข์ก็จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะสรรพสิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยอยู่เสมอ จึงขัดแย้งกับความต้องการของมนุษย์ เช่น
มนุษย์มีความต้องการวัตถุเพื่อนำมาอุปโภคบริโภค แต่ มีน้อย ไม่มี หรือมีมากเิกิน
ความจำเป็น ถ้ามีน้อยก็เกิดความทุกข์บ้าง ถ้าไม่มีสิ่งนั้นมาสนองตอบต่อตัณหา
ก็เกิดความทุกข์กระวนกระวายใจ  แต่ถ้ามีมาก ก็จะเกิดความโลภครอบครองไว้ทั้งหมด 
สภาพเพื่อตอบสนองต่อตนเองมากที่สุด ท่าทีเรื่องของตัณหาของมนุษย์ มีวิธีแก้เพียง
วิธีเดียวแบบกำปั้นทุบดิน ก็คือ ดับความต้องการเสีย แล้วจึงสร้างเหตุปัจจัยที่ดี แล้ว
เป้าหมายถึงจะดี

และถึงเวลาหรือยังที่เราจะยอมรับกันได้ว่า ถ้านำเอาจักรยานเก่าเข้าไป
แล้ว ถ้าออกมาเป็นแค่จักรยานใหม่ีที่ไฉไลกว่าเดิม หรือมากที่สุดก็เป็น
จักรยานยนต์ที่ไม่หรูเท่าใดนัก เท่าทีหัวหน้าโรงงาน และคนงานที่ขาดแคลน
พอจะทำได้

แต่ถ้าวันหน้าเรามีเศษรถยนต์เก่า ๆ เข้ามา หัวหน้าโรงงานและคนงานที่ขาดแคลน
ก็พอที่จะทำให้มันเป็นรถยนต์แม้ไม่ค่อยหรูหรา แต่หัวหน้าโรงงาน คนงานทำได้
แต่นายทุนว่าอย่างไรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง นี่คือการทำตามเหตุปัจจัยที่สมเหตุสมผล
และโรงงานในประเทศไทยมีหลายโรงงานมีระยะทางอยู่ใกล้ ไกล ไม่เท่ากัน
โรงงานที่อยู่ใกล้คลัสเตอร์ของนายทุนรายย่อย ก็จะหาเศษเหล็ก หรือ จักรยานเก่า ๆ
มาเพิ่มเติมให้กับโรงงานของตนเองได้ง่ายแต่โรงงานที่อยู่ไกล ก็ได้เศษเหล็ก
น้อยหน่อย ต่ำกว่ามาตรฐานหน่อย เพราะไม่ได้อยู่ไกล้ ๆ กับ คลัสเตอร์
แต่เวลาคิวซีภายนอกมาหาจุดอ่อน ทำไมถึงปิดตาเวลาเห็นปัจจัยการผลิต
ปิดตาไม่เห็นความเชื่อมโยงระหว่างนายทุนที่แจกเศษจักรยาน เป็นส่วนหนึ่ง
ของคิวซี กลับมองเห็นแต่หัวหน้าโรงงาน โรงงานเก่าผุกร่อนและคนงาน
เป็นสาเหตุสำคัญที่ไม่สามารถทำรถจักรยานเก่า ๆ ให้เป็นรถหรูราคาแพง

สรุปแล้ว การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทีุ่สุดคือกระบวนการนำเข้า กระบวนการผลิต ซึ่งจำเป็นต้องมีโรงงานที่มีเครื่องไม้เครื่องมือครบพร้อม มีการวางแผน มีการดำเนินงานที่เป็นกระบวนการและควบคุมด้วยคิวซี ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เป็นเหตุปัจจัยที่ดี และเชื่อว่าเืมื่อเหตุปัจจัยที่ดี มันก็เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีแน่นอน ถ้าไม่เชื่อก็ลองจัดสรรเงินให้
มหาวิทยาลัยมหิดลเพิ่มขึ้นจากเดิมปีละหมื่นล้าน ภายในสองปีถ้าอันดับโลกมันไม่ขยับ
ก็ให้มันรู้ไป

หมายเลขบันทึก: 401154เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2010 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ลองไปที่ทางขวามือ
  • คลิกแก้ไขบันทึก
  • ลองแก้ไขการจัดตัวอักษรแบบ word ดูนะครับ ผอ.
  • การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารน่าสนใจ ถ้าจะให้ดีต้องเปลี่ยนแปลงทั้งระบบการจัดกิจกรรมในโรงเรียนครับ
  • เอาใจช่วยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท