องค์การสหประชาชาติกับการก่อร่างหลักการในระเบียบเศรษฐกิจระหว่างประเทศใหม่


ภารกิจศักดิ์สิทธิ์ของอารยะ นั้น หากดูเพียงผิวเผินอาจจะ เหมือนกับเป็น จุดยืนทางศีลธรรมอันสูงส่งของโลกที่หรือประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่หากพิจารณาอย่างถ่องแท้ ในเจตนารมณ์ทั้งหลายของข้อบัญญัติทั้งหลายที่ระบุถึงเรื่องนี้นั้น ถือเป็นการแสวงหารผลประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน เพราะหากประเทศโลกที่สามพัฒนาประเทศโลกที่หนึ่งก็มีโอกาสที่จะ สร้างเสถียรภาพให้กับตัวเขาเอง

องค์การสหประชาชาติกับ

การก่อร่างหลักการในระเบียบเศรษฐกิจระหว่างประเทศใหม่ : งานศึกษาของJerzy Makaczyk และข้อสังเกตุบางประการ

     กฎบัตรสหประชาชาติ, หลักการในการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคและการสนับสนุนทางการเงินเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ,ลำดับที่1และลำดับที่2ของทศวรรษเพื่อการพัฒนาโดยสหประชาชาติ    

      แนวคิดทั่วไปในเรื่องการพัฒนาได้นำมาใช้แล้วในอดีต ณ ดินแดนของประเทศที่วันนี้เรียกว่า กำลังพัฒนา โดยบรรจุอยู่ในธรรมนูญของสันนิบาติชาติ มาตรา22ของธรรมนูญนี้ได้ยืนยันว่าความรุ่งโรจน์และการพัฒนาขอผู้คนทั้งหลายที่มีรกรากอยู่ในดินแดนภายใต้สันนิบาติชาติ(Leauge of Nations, นับจากนี้เรียกว่า “LN”)นั้นถือเป็นภารกิจศักดิ์สิทธิ์ของอารยะเป็นที่ยอมรับกันว่าดินแดนที่อยู่ภายใต้LNนั้นมีดินแดนอยู่เพียงเล็กน้อยที่เป็นประเทศยังไม่พัฒนา แต่ถือว่าได้สร้างพันธกรณีที่แน่นอนแก่รัฐทั้งหลายที่ใช้อาณัติปกครองในดินแดนทั้งหลายนั้น             

          ในกรณีของมาตรา73ของกฎบัติสหประชาชาติ[1]ก็เช่นเดียวกัน กิจกรรมของLNในมิติของการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคหรือในทางที่กว้างขวางกว่าคือการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นถือเป็นวงความสำคัญหลักๆเลยทีเดียว         

          ในขณะที่ระดับของกิจกรรมทางการเมืองขององค์การได้ค่อยๆลดระดับลงไปนั้น แคมเปญหลายหลากในทางเศรษฐกิจขององค์การก็เพิ่มระดับสูงขึ้น เพราะฉะนั้น ในตอนท้ายศตวรรษที่สามสิบ กว่า60% ของงบประมาณองค์การได้รับการจัดสรรไปยังเป้าหมายเช่นว่านี้          

          หลังจากการเริ่มต้นของสงคราม LN ได้เริ่มโครงการสำหรับการสร้าง คณะกรรมการกลางเพื่อการเศรษฐกิจและสังคม(Central Commissiom for Economic and Social Affairs)[2] ซึ่งกรณีนี้ถือเป็นการสร้างก้าวแรกในทิศทางของความร่วมมือระหว่างประเทศในกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่ระบบอาณานิคมนั้นได้ลดระดับบทบาทขององค์การลงอย่างมาก และเช่นเดียวกัน ความสามารถทางเทคนิคก็ยังอยู่ในระดับจำกัดเช่นกัน         

          อย่างไรก็ตาม นอกเหนือไปจากข้อจำกัดทั้งหลายแล้วนั้น LN ได้แสดงให้เห็นถึง จุดเริ่มต้นที่มีคุณค่าอย่างยิ่งนั่นคือการเปิดประตูไปสู่อนาคตแห่งการร่วมมือระหว่างรัฐซึ่งภายหลังได้รับการบัญญัติไว้ในบทที่9และ10ของกฎบัตรสหประชาชาติ                           

         เมื่อมีกฎบัตรซานฟรานซิสโกทำให้ความเชื่อมโยงตั้งต้นระหว่าง สถานการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจของรัฐกับความมั่นคงระหว่างประเทศได้รับการยอมรับ[3] การสร้างองค์กรซึ่งถูกระบุให้มีภารกิจทางสังคมและเศรษฐกิจภายในขอบข่ายขององค์การเชิงการเมืองที่ได้รับการเสนอขึ้นมานั้นถือเป็นประเด็นแห่งโต้แย้งกันในการประชุมยอลตา(Yalta conference) [4]          

         ข้อเท็จจริงที่ว่ากฎบัตรสหประชาชาตินั้มีสองบทสำคัญๆที่ได้รับการพัฒนามาเป็นอย่างดีที่กล่าวถึงประเด็นในเรื่องความร่วมมือซึ่งมีการเน้นย้ำก่อนในข้อบัญญํติอยู่ใน อารัมภบทและมาตรา1 และคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคม(Social and Economic Council)ซึ่งได้ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นหนึ่งในองค์กรหลักของสหประชาชาติถือเป็นเครื่องบ่งบอกสำคัญถึงวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นกับรัฐทั้งหลายและโดยเฉพาะอย่างยิ่งมันเกิดขึ้นเพราะความสำคัญของตัวมันเอง(sui juris)(ในเรื่องเศรษฐกิจและสังคม)                           

          ท่ามกลางบทบัญญัติทั้งหลายของกฎบัตรสหประชาชาติที่คอยกำกับเป้าหมายและภารกิจขององค์การในกรอบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีสองจุดในอารัมภบท[5]และ วรรค 2และวรร3ของมาตรา1 และข้อบัญญัติในบทที่9 โดยเฉพาะมาตรา55,56 บทบัญญัติเหล่านี้ต่างอ้างหลักการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งสิ้น มันไม่เคยเกิดขึ้นจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งเป็นเวลาที่ระบบอาณานิคมในภาคปฏิบัติเป็นเพียงเรื่องเก่าในอดีต การพิจารณาเช่นว่านี้ถือเป็นเรื่องที่ถูกต้อง           

           แต่อย่างไรก็ตามในปี 1945 การลดระดับของลัทธิอาณานิคมยังเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดหมายได้ และกฎบัตรสหประชาชาติได้เน้นย้ำในข้อเท็จจริงเช่นว่านี้โดยมีบรรจุเรื่องอาณานิคมไว้ถึง19มาตราในสามบท กำหนดในเรื่อง ดินแดนที่มิได้ปกครองตนเอง (non-self-governing) และดินที่อยู่ในภาวะทรัสตี (trusteeship)และการปกครองดินแดนเช่นว่านี้[6] กล่าวคือ มีข้อบัญญัติมากกว่าเรื่องราวความร่วมมือทางสังคมและเศรษฐกิจระหว่างรัฐอธิปไตยทั้งหมดรวมกันเสียอีก ในมาตรา 73เราไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แต่เฉพาะหลักการทั่วไปว่าด้วยเรื่องการปกครองดินแดนซึ่งคนในดินแดนยังมิได้บรรลุถึงจุดที่สามารถดูแลตนเองได้อย่างสมบูรณ์ มันยังมีข้อความระบุถึงหน้าที่อันหนักแน่นของสมาชิกองค์การที่จะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการปกครองดินแดนเหล่านั้น ซึ่งได้รวมไปถึงหน้าที่ที่จะการันตีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของดินแดนเหล่านั้น[7] เป้าหมายพื้นฐานอีกอย่างของระบบทรัสตีนั้น คือเพื่อเพิ่มความแข็งแรงในการธำรงค์ไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ, การสนับสนุนช่วยเหลือในความก้าวหน้าทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในดินแดนที่อยู่ในภาวะทรัสตี[8]                            

        จึงอาจสรุปได้ว่า กฎบัตรสหประชาชาตินั้นบัญญัติข้อบัญญํติทั้งหลายโดยมุ่งให้เป็นองค์การแห่งความร่วมมือและประกันความก้าวหน้าทางสังคมและเศรษฐกิจภายใต้เงื่อนไขทางการเมืองที่มีอยู่ทั่วโลก ณ เวลานั้น ในการยอมรับซึ่งสิทธิของรัฐสมาชิก กฎบัตรยังวางพันธกรณีซึ่งได้รับการพัฒนาไปพร้อมๆกับจัดให้มีรูปแบบที่แน่นอนของการควบคุมเหนือการตัดสินใจใดๆของรัฐเจ้าอาณานิคม[9] ทั้งหมดทั้งมวลนี้ในความเป็นจริงอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีเรื่องบทบาทเชิงป้องกันของประเทศพัฒนาแล้วโดยคำนึงถึงฝ่ายตรงข้ามที่กำลังพัฒนา ในเรื่อง ภารกิจศักดิ์สิทธิ์ของอารยะ[10]การตระหนักซึ่งปัจจัยแห่งเสถียรภาพในระเบียบโลกที่ปรากฎอยู่นั้น แต่ในความเป็นจริงทางการเมืองนั้นหาได้ยืนยันความคาดหวังเช่นว่านั้น ไม่               

        กล่าวโดยสรุปในเบื้องต้นก่อนที่จะพิจารณาต่อไปในบทหน้า คือประเด็นที่ Makaczykเรื่อง ภารกิจศักดิ์สิทธิ์ของอารยะ นั้นเป็นข้อความคิดที่สำคัญมาก 

        ในอดีตขณะที่ลัทธิจักรวรรดินิยมยังเป็นที่แพร่หลายอยู่ทั่วโลก[i]  นอกเหนือจากปฏิบัติการโหดเหี้ยม ในการยึดครองดินแดนอื่น ที่ยุโรปอ้างเอาว่าเป็นชนชาติป่าเถื่อน ที่เป็นบ่อเกิดของ ข้อความคิดทางทุนนิยมที่ว่ามนุษย์เป็นสินค้า[ii] รวบรวมดินแดนและเป็นการสูบทรัพยากรที่มากมายทั่วโลกเพื่อเข้าไปกระจุกตัวอยู่ที่ตน(ในยุโรป)

         มีข้อความคิดหนึ่งที่สำคัญทำให้เกิดความชอบธรรมของรัฐอาณานิคมทั้งหลายนั่นคือ “white man’s burden” (ภารกิจของคน(ปีศาจ)เผือก)  ซึ่งถือตนว่าเป็นผู้ที่มีอารยธรรมและหากผู้อื่นมีการดำเนินชีวิตที่มาตรฐานไม่เหมือนตน (ซึ่งไม่สำคัญว่ามาตรฐานนั้น ความจริงแล้วดีกว่าหรือไม่) ก็จะถือเอาว่ามีความชอบธรรม(legitimacy) ที่จะเข้าไปยึดครองและเชื่อว่าตนนำสิ่งที่ดีกว่ามามอบให้และเป็นผู้ปลดปล่อยจากความป่าเถื่อนงมงาย ข้อความคิดเช่นว่านี้ดำรงอยู่เรื่อยมา และงานศึกษาชิ้นนี้ได้แสดงให้เห็นว่า

         ข้อความคิดเช่นว่ายังดำรงอยู่ แต่ประเด็นคือ มีความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่อข้อความคิดนี้ และสะท้อนไปยังระเบียบและกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ นั่นคือ เกิดหลักการเช่น การให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคและการพัฒนา”, “หลักการเพื่อนบ้านที่ดี (good neighborliness)” ต่อดินแดนที่อยู่ภายใต้ปกครองหรือที่อยู่ในสภาวะทรัสตี ทำให้รัฐหรือดินแดนที่กำลังพัฒนาตอนนั้นเริ่มมีสิทธิและมีโอกาสหรือความสามารถมากขึ้นที่จะพัฒนาตัวเองและเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจหรือสังคมตนถึง

               แม้ว่าข้อความคิดเรื่อง ภารกิจศักดิ์สิทธิ์ของอารยะ นั้น หากดูเพียงผิวเผินอาจจะ เหมือนกับเป็น จุดยืนทางศีลธรรมอันสูงส่งของโลกที่หรือประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่หากพิจารณาอย่างถ่องแท้ ในเจตนารมณ์ทั้งหลายของข้อบัญญัติทั้งหลายที่ระบุถึงเรื่องนี้นั้น ถือเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกันมากกว่ามิใช่จุดยืนทางศีลธรรมเท่าใดนัก เพราะหากประเทศโลกที่สามพัฒนาประเทศโลกที่หนึ่งก็มีโอกาสที่จะ สร้างเสถียรภาพให้กับตัวเขาเอง[iii]

            เพราะฉะนั้นงานศึกษาต่อไปครั้งหน้าจะกล่าวถึงการก่อเกิดของสิทธิของประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งมีการริเริ่มมาจากองค์การสหประชาชาติ และทบวงชำนัญพิเศษของมัน เพื่อจะนำพาไปสู่ประเด็นที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันนั่นคือ การต่อสู้ทางอุดมการณ์, ทางการค้า ซึ่งสะท้อนผ่านการเจรจาต่อรองในทางการค้าหลายๆ เวที   


[1] เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในสัติภาพและความมั่นคงนานาชาติ มาตรา73 ยังระบุจุดมุ่งหมายพื้นฐานของระบบทรัสตีซึ่งควรสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การสหประชาชาติ สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นคือ การพัฒนาในทางการเมือง, สังคม, เศรษฐกิจ, และการศึกษาของพลเมืองที่อยู่ในดินแดนทรัสตีและในทำนองเดียวกันกับการพั

[2] พิจารณาประกอบกับ : Leauge of Nations – The Development of International Co-operation in Economic and Social Affairs (report of the Special Committee) Doc. A/23/1939

[3]  Article 55 of the Charter

[4] ความตกลงในประเก็นนี้ยังไม่บรรลุจนกระทั่งปี 1944 ณ การประชุมที่ DumBarton Oaks พิจารณาประกอบกับ R. B. Russel, J.E. Muther, A History of the United Nations Charter, Washington, 1958, หน้า 321-322

[5] .4 เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมและมาตรฐานชีวิตที่ดีขึ้นโดยเสีรีภาพที่กว้างขวางกว่าเดิม และ ว.7 เพื่อสร้างกลไกระหว่างประเทศสำหรับการส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมสู่ปวงชนทุกคน

 [6] บทที่11 Declaration  Regarding Non-Self-Governing Territories, บทที่ 12 – International Trusteeship System, บทที่13 – The trusteeship Council

[7] มาตรา73 วรรค b.

[8] อ้างแล้ว, วรรค cและd

[9] อ้างแล้ว, วรรค e มาตรา 74 ของกฎบัตรยังจัดวางพันธกรณีในเรื่องอำนาจของรัฐอาณิคมโดยต้องอยู่บนพื้นฐานนโยบายของพวกเขาที่ต้องคำนึงถึงดินแดนภายใต้ปกครอง ... ไม่น้อยไปกว่านั้น โดยคำนึงถึงเขตเมืองหลวงของรัฐเจ้าอาณานิคม [….] โดยอยู่บนหลักความเป็นเพื่อนบ้านที่ดี (goodneighborliness) และต้องพิจารณาถึงผลประโยชน์และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อื่นทั่วโลกด้วยทั้งในปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และการพาณิชย์กล่าวคือ กฎบัตรได้ทำให้รู้ถึงความเป็นกฎหมายในตัวเอง (sui juris) ในหลักการเรื่องความสามัคคีสำหรับผู้หาประโยชน์ (Solidarity of the exploiters)

[10] ควรเน้นย้ำว่า จากข้อความในมาตรา 78 ของกฎบัตร หลักการเรื่องความเท่าเทียมกันของอธิปไตยนานารัฐนั้นได้บังคับใช้เพียงแต่ระหว่างรัฐสมาชิกเท่านั้น ระบบทรัสตีจะไม่ประยุกต์เข้ากับดินแดนที่ได้กลายมาเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างกันจะอยู่บนพื้นฐานของหลักการเรื่องความเท่าเทียมกันของอธิปไตย



[i] ในความหมายของรัฐผู้มีอำนาจทางการเมืองเหนือรัฐอื่นๆในตอนนั้น แต่รัฐที่ถูกกระทำนั้นอยู่ในฐานะต้องอดทน(toleration)

[ii] เช่นการค้าทาส เป็นต้น ภัควดี วีระภาสพงศ์, สับเละเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์กระแสหลัก : ประเทศไทยไม่มีทางเลือกนอกจากทุนนิยมจริงหรือ?, เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

[iii] Andrez Lovenfeld, International Economic Law

หมายเลขบันทึก: 40109เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2006 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 00:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

หาศัพท์ให้แล้วนะอย่าลืมไปอ่านในblogล่ะจ้ะคุณ plus one

ในความรู้สึกเรา UN เป็นเพียงหุ่นเชิดทางเศรษฐกิจและสังคมของมหาอำนาจที่มีเงินทุ่มุนสร้างมาก และมีบทบาทน้อยต่อประเทศที่กำลังพัฒนาในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท