ทำอย่างไรจะทำให้การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาตลอดชีวิต


การศึกษาในระบบไม่ใช่ การเรียนรู้ตลอดชีวิต แต่สามารถปรับทำให้เป็นการศึกษาตลอดชีวิตได้

นักวิชาการหลายท่านได้นิยามเกี่ยวกับการศึกษาตลอดชีวิตคือ
การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
ซึ่งดูเหมือนจะถูกต้อง เพราะแยกส่วนกันออกอย่างชัดเจนเพื่อแสดง
ความเชี่ยวชาญเฉพาะ้ด้าน

แต่เมื่อมองหลักตามความเป็นจริงแล้ว ทุกอย่างเป็นองค์รวม(wholistic)และทับ
ซ้อนกัน การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิต
และความสนใจส่วนบุคคล ส่วนการศึกษาในระบบ เป็นความต้องการของรัฐและสังคม
จัดเพื่อให้สอดคล้องกับระบบการเืมือง เศรษฐกิจและสังคม ไม่ได้เกิดจากความสนใจ
ของเด็ก ไม่สามารถเลือกเรียนได้ ในเมื่อเป็นสิ่งที่เกิดภายนอก การศึกษาในระบบ
มีการจบที่แน่นอน เรียนแล้วได้ตามเงื่อนไขก็ได้รับใบรับรองว่ามีความรู้ หลังจากนั้น
จะเรียนรู้หรือไม่เรียนรู้ก็ได้ ถือว่ามีความรู้ เครื่องมือวัดที่เป็นวิทยาศาสตร์ได้แก่
การวัดและประเมินผล ส่วนพิธีกรรมที่สำคัญก็คือการสอบเพื่อจะรับใบรับรองความรู้
ส่วนองค์ความรู้เป็นเรื่องภายนอกที่ผู้เรียนจะสนใจหรือไม่สนใจก็ได้ แต่ก็ผ่านการ
เรียนรู้ีที่สังคมบอกว่า ทั้งหมดสมควรเรียน และเอาองค์ความรู้ที่อยู่ภายนอกนี้ผ่าน
ท่อเข้าไป ในยุคแรก ๆ ปัญญาชนเหล่านี้ใช้ท่อโดยพูดให้ฟัง ต่อมาก็มีการเรียกให้
ใช้วิธีการต่าง ๆ ที่จะยัดเข้าไปอย่างแนบเนียน โดยอิงจิตวิทยาความสนใจของผู้เีรียน
ด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยทั้งหมดมาจากผู้สอนที่จะเข้าใจเอง เพราะเป็นการศึกษาในระบบ
มันจึงจัดการอย่างเป็นระบบ โดยการวางแผน มีกระบวนการสอน กระบวนการจัดการ
เพื่อให้องค์ความรู้ที่เรียกว่าหลักสูตร ส่งผ่านต่อท่อที่มองไม่เห็นเข้าไปสู่สมองของ
ผู้เรียน ถ้าเก็บเกี่ยวได้ตามวัตถุประสงค์ ก็จะได้ค่าสูง ถ้าเก็บเกี่ยวไม่ได้ค่าก็จะต่ำ
ค่าต่ำก็หมายถึงโอกาสที่จะได้รับการรับรองนั้นก็น้อย การศึกษาระดับนี้อำนาจจริง ๆ
อยู่ที่อำนาจการรับรองความรู้ ซึ่งสังคมบอกว่าถ้าเป็นผู้รู้ ต้องมีความรู้ ความรู้มาจาก
การรับรองของสถาบัน ด้วยตัวย่อ ตามด้วยสถาบัน ถ้ามีสิ่งเหล่านี้รับรองว่ามีความรู้
ในระบบ  การศึกษาที่จุดจบ(end)เช่นนี้จะยั่งยืนเป็นการศึกษาตลอดชีวิตได้อย่างไร

วิธีการทำให้การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาตลอดชีวิต นั้นเริ่มที่การตั้งจุดหมาย
ของตนเอง คือใส่ใจในเรื่องการเรียนรู้ พยามเรียนรู้ด้วยตนเอง และเรียนรู้เชิงลึกซึ้ง
มากกว่าคำตอบในหนังสือ
เห็นความสำคัญของใบรับรองเป็นอันดับสุดท้าย ทีสำคัญ
คือ เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ให้ช้าลง ใช้กระบวนการคิดให้มากขึ้น ศึกษาสไตน์การเรียนรู้
หลาย ๆ วิธีมากขึ้น ทำจนเป็นนิสัย คิดคำถามตั้งข้อสงสัย เดินไปหาความรู้จากคน
การศึกษาจากคนได้องค์ความรู้ีที่มีชีวิต องค์ความรู้จากหนังสือเป็นองค์ความรู้ที่
ตายแล้วไม่เปลี่ยนแปลง แต่เราสามารถอ่านมันจนให้เห็นว่ามันล้าสมัยและหนังสือ
เหล่านี้มีฐานคิดมาจากอะไร ที่สำคัญการใช้งานสมองสองซีกอยู่ตลอดเวลาำจะทำ
ให้ความสำคัญไปอยู่ที่ทักษะกระบวนการ มากกว่าการจดจำเนื้อหา และอย่าคาดหวัง
ไปกับการวัดประเมินผลให้มากนัก จะต้องสามารถรับรองความรู้ตนเองได้อย่างเปิดเผย
โดยไม่ต้องมีชื่อของความรู้เป็นตัวย่อ และอ้างอิงความยิ่งใหญ่ของสถาบันการศึกษา
แต่จะอ้างอิงทุกสิ่งด้วยงานศึกษาค้นคว้าส่วนตน

ผู้รู้ที่ยอดเยี่ยมที่ไม่ต้องอ้างอิงใบรับรองแต่อ้างอิงผลงาน ได้แก่ นักปรัชญา ศาสดาของศาสนาต่าง ๆ นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบองค์ความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเอง ไอน์สไตน์ เศรษฐีมหาเศรษฐีต่างๆ บิล เกตส์ สตีฟ จอบส์ เจ้าสัวที่ดัง ๆ ทั้งหลาย รวมทั้งของไทยปราชญ์ชาวบ้านอีสาน พระยาอนุมานราชธน องค์ความรู้เกี่ยวกับไทยศึกษา โดยที่ไม่จบมัธยมศึกษา อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ แล้วคุณละไปให้พ้นจากใบรับรอง และหันมารับรองความรู้ของตนเองด้วยตนเอง ด้วยวิธีการต่าง ๆ นั้นก็เป็นการศึกษาตลอดชีวิตแล้ว  

หมายเลขบันทึก: 400264เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2010 19:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ผมเคยเป็นครูนอกระบบ เขาสอนเรื่องชีวิตมากกว่าสอนหนังสือ

แต่การสอนในระบบยังเป็นแบบแพ้คัดออก การเรียนหนังสือจึงเข้มข้นและการแข่งขันที่สูงมาก

เห็นด้วยกับแนวคิด แต่เมืองไทยก็ยังเน้นที่ผลการสอบเช่นเดิมครับ

ถ้าเวลานี้การศึกษาคือการสร้างรถยนต์สักคันหนึ่ง

เรากำลังให้ความสำคัญของเครื่องมือวัดความเร็ว ( Speedometer gauge )

มากกว่าคุณภาพหรือสมรรถนะของรถยนต์ที่สร้าง

วันนี้เราจึงได้เห็นความพยายามในการปรับแต่งให้เครื่องมือวัดบอกค่าที่อยากให้เป็น

มากกว่ามาสร้างคุณภาพหรือสมรรถนะที่แท้จริงของรถครับ..

ถ้าเวลานี้การศึกษาคือการสร้างรถยนต์สักคันหนึ่ง

เรากำลังให้ความสำคัญของเครื่องมือวัดความเร็ว ( Speedometer gauge )

มากกว่าคุณภาพหรือสมรรถนะของรถยนต์ที่สร้าง

วันนี้เราจึงได้เห็นความพยายามในการปรับแต่งให้เครื่องมือวัดบอกค่าที่อยากให้เป็น

มากกว่ามาสร้างคุณภาพหรือสมรรถนะที่แท้จริงของรถครับ..

ระบบการศึกษาไทย คือ ฟองสบู่การศึกษาแตก ครับ ;)

ปฏิรูปด้วย "เงิน" เป็นตัวตั้ง ... พังทั้งระบบ

"ใบปริญญาบัตรเฟ้อ" = "เงินเฟ้อ"

หาคุณค่าในปริญญาบัตรไม่ เนื่องจากปัญญาไม่ได้รับการพัฒนาเท่ากับวุฒิที่ได้รับ

ขอบพระคุณครับ ;)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท