สถิติบรรยาย และสถิติอ้างอิง


 

สถิติบรรยาย และสถิติอ้างอิง

สถิติบรรยาย หรือสถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics)

          เป็นการอธิบายลักษณะของข้อมูลในรูปของการบรรยายลักษณะทั่วๆ ไปของข้อมูล โดยจัดนำเสนอเป็นบทความ บทความกึ่งตาราง  แสดงด้วยกราฟ หรือแผนภูมิ ตลอดจนทำเป็นรูปภาพต่างๆ มีการคำนวณหาความหมายของข้อมูลโดยวิธีทางสถิติอย่างง่ายๆ เพื่อให้เป็นรูปแบบของข้อมูลในเบื้องต้นให้สามารถตีความหมายของข้อมูลได้ตามความจริง

         สถิติบรรยาย นี้อาจทำการศึกษากับข้อมูลที่เป็นกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ โดยทั่วๆ ไปก็ได้ และผลการวิเคราะห์จะใช้อธิบายเฉพาะกลุ่มที่นำมาศึกษาเท่านั้น

         สถิติบรรยายที่ใช้ในงานวิจัย เช่น การแจกแจงความถี่ ร้อยละ  การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง  การวัดการกระจาย เป็นต้น

 

สถิติอ้างอิง หรือสถิติเชิงอนุมาน (inferential statistics)

         เป็นเทคนิคที่นำข้อมูลเพียงส่วนหนึ่งไปอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนใหญ่โดยทั่วๆ ไป  โดยใช้พื้นฐานเรื่องความน่าจะเป็น เป็นหลักในการอนุมาน หรือทำนายไปยังกลุ่มประชากรเป้าหมาย  การใช้สถิติอ้างอิงทำได้ 2 ลักษณะ คือ การประมาณค่าประชากร  และการทดสอบสมมติฐาน

         เพื่อให้มองเห็นข้อแตกต่างระหว่างสถิติบรรยาย และสถิติอ้างอิง และมองเห็นลักษณะของสถิติอ้างอิงได้อย่างเด่นชัดขึ้น จะขออธิบายความหมายของคำที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้

          ประชากร (population) หมายถึง ขอบเขตของข้อมูลทั้งหมดที่เรากำลังทำการศึกษา หรืออาจหมายถึง กลุ่มของสิ่งของทั้งหมดที่ให้ข้อมูลตามที่เราต้องการศึกษา เช่น ศึกษาเกี่ยวกับคนไข้สูติ-นรีเวชของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ในปี 2548 ทั้งหมด ซึ่งอาจดูได้จากประวัติผู้ป่วย  เป็นต้น

         ลักษณะของประชากรที่ศึกษา อาจมีจำนวนจำกัด (finite population) ดังตัวอย่างข้างต้น หรืออาจมีจำนวนอนันต์ (infinite population) เช่น การศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของยาชนิดหนึ่ง ประชากรจะเป็นผลการทดสอบประสิทธิภาพของยาในผู้ป่วยที่ใช้ยานี้ ซึ่งไม่สามารถบอกถึงจำนวนทั้งหมดได้

          ตัวอย่าง (sample) หมายถึง ส่วนหนึ่งของประชากรซึ่งถูกเลือกมาศึกษา เนื่องจากในบางครั้งพบว่าการศึกษาบางอย่างไม่อาจทำทั้งหมดของประชากรได้ เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก  เสียเวลา อาจหาประชากรทั้งหมดไม่ได้ หรือไม่สามารถกระทำกับประชากรทั้งหมดได้  จึงจำเป็นต้องเลือกตัวอย่างมาศึกษา

         

เอกสารอ้างอิง
อรุณี  อ่อนสวัสดิ์. (2553).  เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง (390611). พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ในห้องเรียนระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง โดย รศ.ดร.อรุณี  อ่อนสวัสดิ์
ความคิดเห็นของเพื่อนในห้องเรียนที่ช่วยกันอภิปราย
ภาพอ้างอิงมาจาก http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc4/hs256.snc4/40120_129887620395283_100001221367325_173112_8284658_n.jpg

หมายเลขบันทึก: 400149เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2010 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เพิ่งรู้ว่า มิว ใช้ตัว m เป็นสัญลักษณ์ได้ด้วย

ที่เรียนมาใช้ตัว มิว ที่คล้ายตัว u

ถือว่าเป็นความรู้เพิ่มเติม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท