เสาวณีย์
นางสาว เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์

ความร่วมมือใหม่ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน


การรวมกลุ่มการลงทุนและพัฒนเศรษฐกิจ

                       สวัสดีเพื่อนๆชาว gotoknow นะคะ วันนี้มีเรื่องที่น่าสนในมาเล่าสู่กันฟังอีกแล้วนะคะ( แต่ไม่รู้ว่าเพื่อนๆจะสนใจด้วยหรือเปล่า) เพื่อนๆเคยได้ยินยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy - ACMECS หรือ Economic Cooperation Strategy - ECS) กันหรือเปล่าคะแต่ไม่เป็นไรถ้าไม่ที่ไม่แคยได้ยิมมาเลยหรืออาจจะได้ยินแบบผ่านๆหูมา วันนี้แหละคือวันที่เราจะได้รู้กันเสียดีอันที่แล้วมันหมายความว่าอย่างไรและก่อตั้งขึ้นมาได้อย่างไร                  

                      คำตอบคะ        เป็นกรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคที่จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่ง และความหลากหลายของประเทศสมาชิกเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างสมดุล ปัจจุบันมีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม
                โดยที่วิวัฒาการของโครงการก็คือ เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้รับการสนับสนุนในหลักการจากผู้นำประเทศเพื่อนบ้านทั้งสาม และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 ซึ่งผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน การสร้างงาน โดยมีกิจกรรมที่เห็นผลเร็ว มุ่งผลประโยชน์ร่วมกัน และเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมความเจริญทางเศรษฐกิจและยกระดับความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย
                 
ต่อมาเวียดนามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 เพื่อเพิ่มพูนความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างความมั่นคงและสันติสุขในอนุภูมิภาคให้เป็นไปอย่างสอดคล้องและเสริมประโยชน์กันมากยิ่งขึ้น
      

                               โดยมีเป้าหมายของโครงการคือ        
               
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน ก่อให้เกิดความเจริญเติบโตมากขึ้นตามแนวชายแดน ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายภาคอุตสาหกรรม การเกษตรและการผลิตไปยังบริเวณที่มีความได้เปรียบ สร้างโอกาสการจ้างงาน ลดความแตกต่างของรายได้ ส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่งคั่งร่วมกันอย่างยั่งยืน
      
                           โดยมีสาขาที่ให้ความร่วมมือดังนี้

               1.การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน
               2.
ความร่วมมือด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม
               3.
การเชื่อมโยงการขนส่ง
              4.
ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
              5.
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

                   และนี่ก็คือที่มาของโครงการโดยย่อนะคะ เพื่อนๆคิดว่าน่าสนใจมั้ยคะ สำหรับตัวผู้เขียนมีความเห็นว่าเป็นโครงการที่น่าสนมากทั้งนี้เพราะเมื่อพิจารณาจากทั้งเป้าหมายของโครงการและสาขาที่ทั้ง 5 ประเทศสมาชิกได้ให้ความร่วมมือนั้นมีลักษณะที่เห็นได้ว่าถ้าเป็นตามหลักทุกอย่างที่วางไว้นอกจากเราจะประสบความสำเร็จในเรื่องธุรกิจซึ่งถือเสมือนเป็นหัวใจหลักของโครงการเลยก็ว่าได้ แล้วนั้น สิ่งที่เราจะได้มากไปกว่านั้นคือเราจะได้ความสัมพันธ์ในลักษณะที่แน่นแฟ้นกับเพื่อนบ้านทั้ง 4  ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา ซึ่งตรงนี้ถือว่ามีความสำคัญมากเพราะถ้าเรากับเพื่อนบ้านมีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกันแล้วความปลอดภัย ความมั่นคง ความสงบสุขระหว่างประเทศก็จะตามมา เพื่อนๆว่าจริงมั้ยหละคะ และเมื่อเรามีความเข้มแข็งแล้ว อำนาจในด้านต่างๆก็จะตามมา เช่น อำนาจในการต่อรองทางเศรษฐกิจ กับประเทศมหาอำนาจ เป็นต้น อย่าลืมนะคะว่า มดตัวเดียวอาจจะทำอะไรราชสีห์ไม่ได้ก็จริง แต่ถ้าหลายตัวรวมกันก็ไม่แน่นะคะว่าอาจจะทำให้ราชสีห์วิ่งหนีได้เหมือนกัน

                 ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งบทความบทนี้คงจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกคนนะคะ แต่เอ เพื่อนๆ คะ ในเมื่อเรามีความร่วมมือทั้งในด้านโครงการอาเซียนและความร่วมมือด้านอื่นๆอีกมากมายแล้วอย่างนี้มันไม่ซ้ำซ้อนกันหรือคะ ครั้งต่อไปจะมาอธิบายถึงลักษณะโครงการต่างที่มีอยู่ให้ฟังคะว่ามันเหมือนหรือต่างกับโครงการดังกล่าวอย่างไร
หมายเลขบันทึก: 39965เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2006 02:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 12:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
เป็นความรู้ใหม่สำหรับผมครับ ขอบคุณมากครับ อยากชิมไก่ทอดหาดใหญ่จังครับ

ขอบคุณคะที่เข้ามาอ่านบทความ แล้วสัญญาคะว่าถ้ากลับบ้านแล้วจะเอาไก่ทอดมาฝาก

ขอขอบคุณอาจารย์เสาวณีย์..... ขอแสดงความชื่นชมกับบันทึกของอาจารย์ ผมชอบเรื่องเศรษฐกิจ + ความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านมาก (สนใจเอเชียศึกษา... เน้นพม่า ลาว กัมพูชา)..... (1). ขอเรียนเสนอให้อาจารย์ใช้ตัวอักษรสีดำแทนสีเทา หรือสีน้ำเงิน เนื่องจาก Go2Know มีสมาชิก และผู้อ่านทุกวัย ถ้าใช้อักษรสีดำจะทำให้เด็กๆ คนสูงอายุ หรือคนที่สายตาไม่ค่อยดีอ่านได้ง่ายขึ้น.....(2). ถ้ามีภาพประกอบสัก 1 ภาพ ไดอะแกรม แผนที่ หรือการ์ตูนอะไรก็ได้ที่เป็นรูปภาพ (graphic) จะทำให้บันทึกของอาจารย์น่าอ่านขึ้น... (3). ขอเชียร์ และขอให้กำลังใจว่า เรื่องที่อาจารย์บันทึกน่าอ่าน + น่าสนใจมากครับ..... ขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่ง

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณนะคะที่สนในบทความของผู้เขียน  และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะคะแล้วผู้เขียนจะแก้ไขในครั้งต่อไปให้คะ สัญญา

 โดยสีตัวอักษรครั้งต่อไปจะใช้สีที่อ่านได้สบายตากว่านี้คะ 

  กรณีมีภาพประกอบก็เคยคิดจะลองทำอยู่คะ แต่เนื่องจากว่าเป็นคนที่ไม่ค่อยชำนาญในด้านเทคโนโลยีคะ แต่ก็ไม่เป็นไรคะจะพยายามลองทำดูคะ

  และก็อยากจะบอกกับ นพ. วัลลภ คะว่า ตัวผู้เขียนยังเป็นนักศึกษาอยู่คะ โดยตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ที่ ม. ธรรมศาสตร์ ปริญญาโท ชั้นปีที่ 1 คะ สาขากฎหมายระหว่างประเทศ

    ถ้ามีขอผิดพลาดประการใดขอให้ นพ. วัลลภ ช่วยแนะนำด้วยนะคะ

    และอย่าลืมเค้ามาทักทายในบทความของผู้เขียนนะคะ สัญญาคะว่าจะนำขอแนะนำทุกอย่างมาปรับปรุงคะ 

     และที่สำคัญคือว่า บทความข้างบนมีภาคต่อแน่นอนคะอย่าลืมติดตามนะคะ

                          ด้วยความเคารพ ขอคุณพระคุณอีกครั้งคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท