เลือกหัวข้อวิจัย


การเลือกหัวข้อวิจัย

อยากเรียนจบไหม?  “มีวิธีเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์อย่างไร”

ได้อ่านงานเขียนของ ดร.สิทธิ์ ธีรสรณ์(2552, หน้า 21-23) เป็นเรื่องเกี่ยวกับหัวข้อวิทยานิพนธ์คิดว่ามีอาจจะมีประโยชน์ต่อหลายคนเลยเอามาฝาก เผื่อจะให้ข้อคิดดีๆไปใช้ค่ะ
 
ความผิดพลาดในการเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์
ในการวางแผนเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา นักศึกษามักทำผิดพลาดใน 2 กรณี คือ
1. หัวข้อที่ยิ่งใหญ่เกินไป
บางครั้งนักศึกษาเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ดูราวกับว่าต้องการรางวัลระดับชาติจากงานที่จะทำ กล่าวคือยิ่งใหญ่เกินไป เกินกำลังและความสามารถของนักศึกษา
2. หัวข้อที่ไม่สมฐานะ
หัวข้อวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกไม่ควรง่ายเหมือนกับหัวข้อวิจัยระดับปริญญาตรี กล่าวคือ ง่ายเกินไป ไม่สลับซับซ้อนพอ กล่าวถึงตัวแปรเพียงไม่กี่ตัว

 

ลักษณะของหัวข้องานวิจัย
หัวข้องานวิจัยควรมีลักษณะ ดังนี้
1. ดำเนินการได้(Viable)
หัวข้อที่เลือกนั้น ต้องมีความเป็นไปได้ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ ซึ่งรวมถึงอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์และมีความชำนาญในเนื้อหานั้น และสามารถหาข้อมูลจากแหล่งค้นคว้าต่างๆได้
2. นำไปวิจัยได้(Do-able)
หัวข้อที่เลือกนั้นต้องมีความเป็นไปได้ด้วยความสามารถและทักษะของนักศึกษาและภายใต้เวลาที่เหมาะสม
3. ยอมรับได้(Acceptable)
หัวข้อที่เลือกต้องเป็นที่ยอมรับได้ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการสอบ
4. ระยะเวลา(Sustainable)
หัวข้อที่เลือกต้องสามารถตรึงความสนใจของนักศึกษาได้ตลอดหลายปี
5. แปลกใหม่(Original)
หัวข้อที่เลือกต้องนำเสนอเนื้อหาที่ไม่ซ้ำใครในแขนงนั้น ควรขยายองค์ความรู้เดิมในเรื่องนั้น
ความแปลกใหม่(Originality)
เป้าหมายการวิจัยที่มีลักษณะวิชาการไม่ใช่เป็นการนำวิจัยมาทำซ้ำ แต่เป็นการสร้างความรู้เพิ่มเติมในอันที่จะช่วยให้เรารู้และเข้าใจโลกที่เราอยู่ดีขึ้น งานวิจัยทุกงานมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแม้จะเป็นงานวิจัยที่ทำงานในอดีตมาทำอีกครั้ง ซึ่งไม่ถือว่ามีความแปลกใหม่ ความแปลกใหม่ไม่ใช่เรื่องยาก ถ้ารู้จักนึกคิด นึกฝันและจัดการกับความคิดเหล่านั้น
การสำรวจงานวิจัยระดับปริญญาเอกจำนวนหนึ่งและสรุปว่า ความแปลกใหม่ในงานวิทยานิพนธ์มีลักษณะ ดังนี้
1. เป็นงานเชิงประจักษ์ที่ไม่มีใครทำมาก่อน
2. ใช้ความคิด วิธีปฏิบัติ หรือวิธีการเดิมแต่ตีความใหม่
3. หาหลักฐานใหม่ให้แก่ปัญหาหรือประเด็นเดิม
4. สร้างบทสังเคราะห์ขึ้นใหม่ที่ไม่ปรากฏมาก่อน
5. นำสิ่งที่คิดขึ้นในประเทศหนึ่งมาใช้กับประเทศหนึ่ง
6. นำเทคนิคของอีกสาขาหนึ่งมาใช้
7. มีลักษณะข้ามสาขาวิชาโดยใช้ระเบียบวิธีที่ต่างออกไป
8. มองไปในบริเวณที่คนอื่นในสาขานั้นไม่เคยศึกษามาก่อน
9. สร้างองค์ความรู้ในลักษณะที่ไมมีใครทำในอดีต
ความแปลกใหม่(Originality)
ความแปลกใหม่เกี่ยวข้องกับการใช้ทักษะส่วนตัวของผู้วิจัยในการสร้างงานหรือทำการศึกษาโดยที่ไม่ลอกเลียนใคร และเป็นงานที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน มีรูปแบบหรือเนื้อหาใหม่ด้วยตัวเอง และเป็นผลจากการใช้ความคิด ดังภาพ
 
เอกสารอ้างอิง
สิทธิ์  ธีรสรณ์.  (2552). เทคนิคการเขียนรายงานวิจัย.  (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หมายเลขบันทึก: 399438เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2010 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท