การวิเคราะห์ข้อมูล


การวิเคราะห์ข้อมูล

 

เมื่เพื่อนๆเก็บข้อมูลแล้วมาช่วยกันวิเคราะห์ข้อมูลดีกว่านะคะ

 

ารวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น

 

                   ความหมายของคำต่างๆที่จะช่วยให้เข้าใจวิธีการทางสถิติมากขึ้น  มีดังนี้

    กลุ่มประชากร     หมายถึง  กลุ่มที่มีลักษณะที่เราสนใจ  หรือกลุ่มที่เราต้องการจะศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 

    กลุ่มตัวอย่าง      หมายถึง  ส่วนหนึ่งของกลุ่มประชากรที่เราสนใจ  ในกรณีที่กลุ่มประชากรที่จะศึกษานั้นเป็นกลุ่มขนาดใหญ่  เกินความสามารถหรือความจำเป็นที่ต้องการ  หรือเพื่อประหยัดในด้านงบประมาณและเวลา  สามารถศึกษาข้อมูลเพียงบางส่วนของกลุ่มประชากรได้

   ค่าพารามิเตอร์    หมายถึง  ค่าต่างๆที่คำนวณมาจากกลุ่มประชากร  จะถือเป็นค่าคงตัว  กล่าวคือ  คำนวณกี่ครั้งๆก็จะไม่เปลี่ยนแปลง

   ค่าสถิติ     หมายถึง  ค่าต่างๆที่คำนวณมาจากกลุ่มตัวอย่าง  จะเป็นค่าที่เปลี่ยนแปลงได้ตามกลุ่มตัวอย่างที่เลือกสุ่มมา  จึงถือว่าเป็นค่าตัวแปรสุ่ม

   ตัวแปร   ในทางสถิติ  หมายถึง  ลักษณะบางอย่างที่เราสนใจ  ค่าของตัวแปร  อาจอยู่ในรูปข้อความ  หรือตัวเลขก็ได้

   ค่าที่เป็นไปได้    หมายถึง  ค่าของตัวแปรที่อาจจะเกิดขึ้นได้จริง

   ค่าจากการสังเกต   หมายถึง  ค่าที่เก็บรวบรวมได้มาจริงๆ

  การแจกแจงความถี่ของข้อมูล (Frequency Distribution)      เป็นวิธีการทางสถิติอย่างหนึ่งที่ใช้ในการจัดข้อมูลที่มีอยู่ หรือที่เก็บรวบรวมมาได้ให้อยู่เป็นกลุ่มๆ เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น

   การแจกแจงความถี่ จัดเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

   1. การแจกแจงความถี่แบบไม่จัดเป็นอันตรภาคชั้น   ใช้กับข้อมูลที่มีค่าสูงสุดและต่ำสุดของข้อมูลไม่แตกต่างกันมากนัก หรือข้อมูลที่มีค่าของจำนวนที่ต่างกันมีไม่มาก

   2. การแจกแจงความถี่แบบจัดเป็นอันตรภาคชั้น   ใช้กับข้อมูลที่มีค่าสูงสุดและต่ำสุดของ

ข้อมูลแตกต่างกันมาก หรือการแจกแจงไม่สะดวกที่จะใช้ค่าสังเกตทุกๆค่า เพื่อความสะดวกจึงใช้วิธีแจกแจงความถี่ของค่าที่เป็นไปได้แทน โดยแบ่งค่าที่เป็นไปได้ออกเป็นช่วง หรืออันตรภาคชั้น (Interval)

    การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis)

                    การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ  เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ เช่น แบบสอบถามปลายเปิด การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ และการวิจัยปฏิบัติการแบบ

มีส่วนร่วม (PAR) เป็นต้น มาทำการวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ มีเทคนิคที่สำคัญ ดังนี้

                   1) การจำแนกและจัดระบบข้อมูล (Typology and Taxonomy)  เป็นการนำข้อมูลทีได้นำมาจำแนกและจัดหมวดหมู่ออกให้เป็นระบบ เช่น ข้อมูลหมวดบุคลากร ข้อมูลหมวดงบประมาณ ข้อมูลหมวดวัสดุอุปกรณ์  ข้อมูลหมวดงบประมาณ เป็นต้น

                  2) การวิเคราะห์สรุปอุปนัย (Analytic Induction)  เป็นการนำข้อมูลทีได้จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น มาวิเคราะห์เพื่อหาบทสรุปร่วมกันของเรื่องนั้น

                 3) การเปรียบเทียบเหตุการณ์ (Constant Comparison)   เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาไปเทียบเคียงหรือเปรียบเทียบกับเหตุการณ์อื่น เพื่อหาความเหมือนและความแตกต่างกันที่เกิดขึ้น เช่น เปรียบเทียบหน่วยงานหนึ่งกับอีกหน่วยงานหนึ่งที่ประสบผลสำเร็จทางการบริหาร เป็นต้น

                4) การวิเคราะห์ส่วนประกอบ (Componential Analysis)   เป็นการนำข้อมูลทีได้มาทำการวิเคราะห์ออกให้เห็นเป็นส่วนๆ เช่น วิเคราะห์การบริหารงานขององค์การออกเป็น 7 หมวด ตามกรอบของ PMQA เป็นต้น

                5) การวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร (Content Analysis) เป็นการนำเอกสารหรือหลักฐานต่างๆ มาวิเคราะห์ให้เห็นว่า มุ่งพรรณนาและอธิบายปรากฏการณ์ทีเกิดขึ้น เช่น วิเคราะห์การปกครองสมัย พ.ศ.2475 จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น

               6) การวิเคราะห์สาเหตุและผล (Cause and Effect  Analysis)  เป็นการนำข้อมูลทีได้มาวิเคราะห์ให้เห็นว่าจากผลมาจากเหตุ คือ วิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้น ย้อนกลับมาให้เห็นว่าเกิดมาจากเหตุปัจจัยใดบ้าง หรือวิเคราะห์เหตุไปหาผล คือ วิเคราะห์จากเหตุไปหาผล คือ วิเคราะห์ให้เห็นว่าเมื่อเหตุนี้เกิดขึ้น ได้นำไปสู่ผลที่เกิดขึ้นอะไรบ้าง

              7) การสร้างจินตนาการเชิงสังคมวิทยา (Sociology Imaginary)  เป็นการนำข้อมูลทีได้มาวิเคราะห์โดยเปลี่ยนมุมมองการวิเคราะห์ไปยังมุมมองอื่นๆ เพื่อดูผลการวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นเช่นใด เช่น เปลี่ยนมุมมองการวิเคราะห์จากมุมมองค่านิยม มาเป็นการวิเคราะห์มุมมองด้านวัฒนธรรม เป็นต้น 

               ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคนิคใด ก่อนที่จะมีการนำเทคนิคทั้ง 7 เทคนิคมาใช้นั้น จำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการการตรวจสอบข้อมูล เพื่อให้ผู้วิจัยเกิดความมั่นใจว่าข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมมานั้นมีความถูกต้องก่อน ทั้งนี้เพราะการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเน้นการใช้อัตวิสัย (subjectivity) ไม่เหมือนกับการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณที่เน้นการใช้วัตถุวิสัย (objectivity)

                 การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ เรียกว่า “การตรวจสอบข้อมูลสามเส้า (Triangulation)” (Denzin 1970) โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ (1) การตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล (data triangulation) (2) การตรวจสอบสามเส้าด้านผู้วิจัย (investigator triangulation) และ (3) การตรวจสอบสามเส้าด้านทฤษฎี (theory triangulation)

                        (1) การตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล จะเน้นการตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งต่างๆ นั้นมีความเหมือนกันหรือไม่   ซึ่งถ้าทุกแหล่งข้อมูลพบว่าได้ข้อค้นพบมาเหมือนกัน แสดงว่าข้อมูลที่ผู้วิจัยได้มามีความถูกต้อง  

                        (2) การตรวจสอบสามเส้าด้านผู้วิจัย  จะเน้นการตรวจสอบจากผู้วิจัยหรือผู้เก็บข้อมูลต่างคนกันว่าได้ค้นพบที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งถ้าผู้วิจัยหรือผู้เก็บข้อมูลทุกคนพบว่าข้อค้นพบที่ได้มามีความเหมือนกัน แสดงว่าข้อมูลที่ผู้วิจัยได้มามีความถูกต้อง  

                        (3) การตรวจสอบสามเส้าด้านทฤษฎี  จะเน้นการตรวจสอบว่าถ้ามีการใช้ทฤษฎีที่หลากหลายแล้ว ข้อมูลที่ได้มาเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ ถ้าผู้วิจัยพบว่าไม่ว่าจะนำทฤษฎีใดมาใช้  ได้ข้อค้นพบที่เหมือนกัน แสดงว่าข้อมูลที่ผู้วิจัยได้มามีความถูกต้อง

    การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis)  

                        การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นการนำสถิติมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมมา แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

                 1)การวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติ เช่น ความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม มัธยฐาน เป็นต้น หรือนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของตัวแปรอิสระ และตัวแปรตามในแบบสอบถามแต่ละข้อ โดยใช้สถิติ เช่น ค่าเฉลี่ยหรือค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น

                2)การวิเคราะห์ด้วยสถิติอนุมาน (Inferential Statistics) สถิติอนุมาน เป็นสถิติที่นำมาใช้ในการอ้างอิงไปหาค่าความเป็นจริงของประชากร สถิติอนุมานถูกนำไปใช้ใน 2 เรื่อง คือ การประมาณค่าทางสถิติ และการทดสอบสมมติฐาน ซึ่งในการวิจัยมักนิยมนำสถิติอนุมานมาใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ซึ่งสมมติฐานการวิจัยที่มักใช้บ่อยในทางรัฐประศาสนศาสตร์ ได้แก่

                  2.1  การทดสอบสมมติฐานที่เป็นค่าเฉลี่ย กรณีประชากรกลุ่มเดียว เช่น การทดสอบสมมติฐานที่กำหนดไว้ว่า “ความพึงพอใจของประชาชนต่อนโยบายการประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีมากกว่าร้อยละ 80” ใช้สถิติ t-test   

                     2.2   การทดสอบสมมติฐานความแตกต่างของค่าเฉลี่ย กรณีประชากร2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Samples)  เป็นการทดสอบสมมติฐานเพื่อดูว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกันนั้น มีค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกันหรือไม่ เช่น การทดสอบสมมติฐานที่กำหนดไว้ว่า “ประชาชนพีงพอใจการให้บริการของศูนย์การให้บริการ One-Stop Service ขนาดใหญ่ มากกว่าศูนย์การให้บริการ One-Stop Service ขนาดเล็ก”

                      2.3   การทดสอบสมมติฐานความแตกต่างของค่าเฉลี่ย กรณีประชากรตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกันหรือไม่ เป็นการทดสอบสมมติฐานเพื่อดูว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 3 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกันนั้น มีค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกันหรือไม่ เช่น การทดสอบสมมติฐานที่กำหนดไว้ว่า “ข้าราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น มีความคิดเห็นต่อการยกเลิกระบบซี และการนำระบบแท่งมาใช้แตกต่างกัน” ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยใช้สถิติ F-test

                    2.4    การทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่เป็นตัวแปรระดับกลุ่ม เป็นการทดสอบสมมติฐานเพื่อดูว่าตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่มีระดบการวัดในระดับกลุ่ม มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ เช่น การทดสอบสมมติฐานที่กำหนดไว้ว่า “ภูมิภาคมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อการตั้งบ่อนคาสิโน” ใช้การวิเคราะห์ไคแสควร์ (Chi-square Test)

                    2.5   การทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่เป็นตัวแปรตั้งแต่ระดับช่วงเท่าขึ้นไป เป็นการทดสอบสมมติฐานเพื่อดูว่าตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่มีระดับการวัดตั้งแต่ระดับช่วงเท่าขึ้นไป มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ เช่น การทดสอบสมมติฐานที่กำหนดไว้ว่า “จำนวนครั้งของการประชาสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กับจำนวนประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วม” ใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation)

                      2.6   การทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่เป็นตัวแปรตั้งแต่ระดับช่วงเท่าขึ้นไป โดยมีตัวแปรอิสระตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไปและมีตัวแปรตาม 1 ตัวแปร เช่น การทดสอบสมมติฐานที่กำหนดไว้ว่า “ปัจจัยด้านระบบการให้บริการ ปัจจัยด้านหลักการการให้บริการ ปัจจัยด้านพฤติกรรมการให้บริการ และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบล” ใช้การวิเคราะห์การถดถอย

หมายเลขบันทึก: 399406เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2010 13:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พอดีเลยครับ จะโหลดไว้อ่านสอบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท