"เสียง" ที่ไม่อยากได้ยิน...


เป็นเสียงที่ทางโรงแรมและเจ้าหน้าที่ที่ห้องสัมนา เขาภูมิใจและตั้งใจที่จะเปิดให้แขกผู้มาเยือนได้ฟังและได้สัมผัสถึงความเป็นท้องถิ่นของเขา...

           บันทึกนี้เป็นบันทึกที่ขอสะท้อนแง่มุมเล็ก ๆ ของการได้ไปฟังงานวิชาการงานหนึ่งที่จัดขึ้นที่ จ.ปัตตานี ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาครับ สำหรับผมแล้วนอกเหนือจากการได้เปิดมุมมองของตัวเราเองแล้ว ยังได้แง่คิดสำหรับการทำงานและการดำเนินชีวิตมาหลาย ๆ แง่มุมทีเดียวครับ ขอเริ่มบันทึกแรกด้วยแง่คิดแง่มุมนี้นะครับ...

 

          "เสียง" ที่ไม่อยากได้ยิน เป็นคำกล่าวของวิทยากรท่านหนึ่งจากกรุงเทพฯ ที่ลงไปร่วมงานวิชาการที่ปัตตานีเป็นครั้งแรก กล่าวถึงเสียงดนตรีบรรเลงเพลงพื้นถิ่นที่ทางโรงแรมแห่งหนึ่งเปิดให้ฟังตลอดการพักที่โรงแรมแห่งนั้น และก็เป็นเสียงในลักษณะเดียวกันกับที่ทางเจ้าหน้าที่เปิดให้ฟังก่อนเริ่มสัมนา... 

 

 

           โดยเป็นคำกล่าวที่สะท้อนถึงการพยายาม "ยัดเยียด" บางสิ่งบางอย่างที่ท่านวิทยากรท่านนี้ไม่อยากฟังหรือไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการที่จะฟัง ซึ่งสำหรับผมแล้ว "เสียง" นี้ อาจจะเป็นเสียงที่ทางโรงแรมและเจ้าหน้าที่ที่ห้องสัมนา เขาภูมิใจและตั้งใจที่จะเปิดให้แขกผู้มาเยือนได้ฟังและได้สัมผัสถึงความเป็นท้องถิ่นของเขาก็ได้นะครับ...

 

 

          ดังเช่นคำกล่าวของนักวิชาการในพื้นที่ท่านหนึ่งที่กล่าวสรุปไว้ในตอนท้ายของการสัมนาครับว่า คนในพื้นที่ฟังมาเยอะมาแล้ว สำหรับการมาสอน มาพูด และการมาให้วิชาการจากคนภายนอก ที่สิ่งที่คนในพื้นที่ต้องการคือให้คนภายนอกรับฟังคนในพื้นที่เสียงของคนในพื้นที่บ้าง...

 

          สำหรับผมแล้วผมเห็นด้วยกับนักวิชาการในพื้นที่ท่านนี้มาก ๆ ครับว่า การเป็นนักวิชาการหรือนักวิจัยจากภายนอก ควรจะเข้ามาฟังเสียงของคนในพื้นที่ มารับรู้สภาพความเป็นจริงของคนในพื้นที่ให้มาก ๆ มาสะท้อนความรู้ความจริงที่เกิดขึ้นของคนในพื้นที่ แทนที่จะยึดติดกับความรู้ความจริงชุดเดิม ๆ ของตนเองนะครับ...

 

          สิ่งที่ผมอยากให้เกิดขึ้นในพื้นที่แห่งนี้ คือที่นักวิชาการได้สะท้อน เสียงเล็ก ๆ เหล่านี้ของคนในพื้นที่ให้ดังขึ้น ดังขึ้น มากกว่าที่จะปิดรับหรือรำคาญเสียงเหล่านี้ เพียงเพราะเป็นเสียงที่ตัวเราไม่คุ้นชินหรือไม่อยากฟังนะครับ เพราะหากเป็นเช่นนั้น ความรู้ความจริงที่สะท้อนขึ้นมาจากนักวิชาการก็คงเป็นความรู้ความจริงคนละชุดกันกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่นะครับ...         

         

หมายเลขบันทึก: 397933เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2010 18:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

แววความจำเป็นในการมาเป็นนักวิชาการในพื้นที่มาแล้ว...อัลฮัมดุลิลละฮฺครับบังกับการตัดสินใจมาทำหน้าที่ในพื้นที่แห่งนี้ เป็นกำลังใจให้ครับ

ครับ...คุณ ครูบ้าน ๆ

ขอบคุณเช่นกันครับ...

ครับ... เสียงเล็ก ๆ

บทบาทนักวิชาการเป็นสิ่งที่ท้าทายและต้องการคำตอบนะครับ...

ขอบคุณมากครับ...

ชัดเจนตรงประเด็นจริงๆเลยค่ะ จะมีประโยชน์อะไรถ้าเป็นนักวิชาการแต่ไม่เปิดหู เปิดตา และเปิดใจ

ขอบคุณบันทึกดีๆที่มีมาให้อ่าน เปิดมุมมอง ความคิด นะคะ

ครับ...น้องลูกปลา

ขอบคุณเช่นกันครับ...

  • สวัสดีค่ะMr.Direct
  • เห็นด้วยนะคะว่า นักวิชาการหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรเปิดใจรับฟังปัญหาจากคนถิ่นบ้าง แล้วดำเนินการแก้ไข พัฒนา ช่วยเหลือ อย่างจริงๆจังๆ ไม่ใช่ดีแต่พูดว่ารับทราบปัญหาแล้ว กำลังดำเนินการอยู่...
  • ขอบคุณมากค่ะ

ครับ... คุณ Ico32 Kanchana

ขอบคุณเช่นกันครับผม...

ขอบคุณครับที่ร่วมแบ่งปันครับ..

ครับ... Ico32 คุณ ราชิต สุพร

ขอบคุณเช่นกันครับ...

Ico64

Mr.Direct

นักวิชาการน่ะมีมากมายหลากหลาย สวมหัวโขนเยอะมาก แต่จะมีสักกี่คนที่จะเป็นเช่นที่ว่ามา

ครับ... Ico32 ส่วนหนึ่งในคณะทำงานเสียงเล็กๆเพื่อสันติภาพ

นักวิชาการอาจมีหลากหลายรูปแบบ...

แต่นักวิชาการดี ๆ ก็ยังมีอีกไม่น้อยเลยนะครับ...

ขอบคุณครับผม...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท