value creation by Dr. Nunthawat


การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการวิจัยและพัฒนา โดย ดร.นันทวัฒน์

R&D  definition = discovering + applying knowledge + supporting market needs

ดร.นันทวัฒน์ ได้แบ่งปันบัญญัติของการวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษาไว้ดังนี้

  1. มุ่งตอบโจทย์วิจัยมากกว่าเน้นวิธีวิจัย
  2. ยอมรับความแทรกซ้อนของตัวแปรมากกว่าตัดตัวแปรทิ้ง
  3. ไม่เน้นอาจารย์ที่ปรึกษาแต่เน้นนักวิจัยร่วม
  4. ไม่มีปรากฎการณ์ใดในโจทย์อธิบายได้ด้วยการวิจัยหนึ่งเดียว
  5. เน้นสร้างจิตวิญญาณการวิจัยมากกว่าผลิตผลงานวิจัยเฉพาะกิจ
  6. สร้างงานวิจัย made to order มากกว่าการวิจัยเน้นจินตนาการ
  7. สร้างปรากฏการณ์ “กาสีขาว”ความรู้ใหม่ที่หักล้างข้อเท็จจริงเดิม
  8. การวิจัยที่วิ่งหนีความผิดพลาดกับการวิจัยที่ยอมรับความผิดพลาด
  9. การวิจัยมุ่งสู่เป้าหมายมิใช่การวิจัยเพื่อวิจัย
  10. การวิจัยต้องเป็นอนัตตา

มีส่วนหนึ่งของบทความมาฝาก โดย สิทธิชัย ฝรั่งทอง วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก  กรุงเทพธุรกิจ  Bizweek  วันศุกร์ที่ 02 กันยายน พ.ศ. 2548

คุณค่า (Value) มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าดีก็เป็นหนึ่งคุณค่า คุณภาพดีก็เป็นหนึ่งคุณค่า สินค้ามีภาพพจน์ดี ก็มีคุณค่า สินค้าหาซื้อง่ายก็มีคุณค่า แต่การสร้าง Value Creation ในองค์กรยุคนี้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จับต้องได้เพียงอย่างเดียว แต่ความรู้สึกพึงพอใจ ความรู้สึกภาคภูมิใจ ก็เป็นคุณค่าที่จับต้องไม่ได้ด้วย ผู้บริหารต้องถามตัวเองว่า จะสร้างคุณค่า (Value) จากอะไร ในการต่อสู้กันระหว่างธุรกิจ แต่สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจนั้นมีชัยชนะก็คือคุณค่าที่จับต้องไม่ได้ เพราะคุณค่าที่จับต้องได้นั้นแข่งกันไม่ยาก เช่น ธุรกิจโรงแรมมีสปาและสถาบันลดน้ำหนักเป็นจุดขายดึงดูดให้ลูกค้านิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่นานทุกโรงแรม ก็ต้องมีสปา และสถาบันลดน้ำหนักเหมือนกัน จะเห็นได้ว่าสปาและสถาบันลดน้ำหนักเป็นสิ่งที่จับต้องได้ แต่ความมีชื่อเสียงเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้  คุณค่ายิ่งจับต้องไม่ได้ยิ่งมีความสำคัญ ฉะนั้นอย่ามัวแต่มองสิ่งที่จับต้องได้เท่านั้น และในการสร้างคุณค่า

รูปแบบของการสร้างคุณค่าอย่างถูกวิธีมีดังนี้

1.Value Focus ทำอะไรให้เหนือกว่าคู่แข่งขัน  ดูว่าลูกค้าเลือกซื้อกับบริษัทเพราะอะไร จากนั้นต้องสร้างความแตกต่างในจุดที่คนอื่นให้ความสำคัญ ถ้าจะลดต้นทุนต้องคำนึงว่าลูกค้าให้ความสำคัญกับสิ่งนั้นหรือไม่ มิฉะนั้น ลูกค้าจะจากไป  การบริหารงานภายใต้วิกฤติที่ต้องมีคุณภาพ (Critical to Quality) นั้นสำคัญมาก จะเปลี่ยนแปลงอะไร จึงต้องคิดถึงคุณภาพด้วย  ตัวอย่างเช่น  คนไปซื้อของที่บิ๊กซี โลตัส ลูกค้าแคร์ในเรื่องของราคา สถานที่ไม่มีการจัดวางเรียงสินค้าที่น่าดู แต่ราคาต้องแตกต่างจากห้างสรรพสินค้าทั่วไป แสดงว่าลูกค้าให้ความสำคัญในเรื่องสินค้าที่ราคาถูก

2.Value Commitment พร้อมจะทำอะไรเหนือกว่าคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นความหมาย บุคลากร วินัย การทุ่มเทอย่างจริงจัง และการลงทุน โดยทำจริงไม่โกหก มีความโดดเด่น

3. Enterprise Design การออกแบบโครงสร้างองค์กร โดยสร้างและปรับปรุงองค์กร หากตั้งใจจะรับใครเข้ามาทำงาน ภายในองค์กร ให้เอาคุณค่า (Value) มาเป็นแนวทางในการออกแบบองค์กรที่จะให้แก่ลูกค้าด้วย โดยพึงระลึกไว้เสมอว่า มีแผนกที่ขาด ดีกว่าใส่คนผิดเข้าไปในระบบ  กระบวนการสร้างคุณค่า (Value Creation Process) ที่จะประสบผลสำเร็จได้ ต้องเกิดขึ้นจากว่าผู้บริหาร สามารถเชื่อมโยงกับสิ่งที่เคยประสบความสำเร็จมาในอดีตเข้ากับโอกาสทางธุรกิจที่เกิดขึ้น   ทั้งต้องระลึกเสมอว่า ในยุคข้อมูลข่าวสารนี้ผู้บริโภคมีความรู้ความฉลาดมากขึ้น การรับรู้ข่าวสารจากหลายสื่อได้อย่างรวดเร็ว  ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ นักธุรกิจ จึงควรใส่ใจฟังลูกค้าบ้าง และอย่าลืมที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดให้ได้ในระยะเวลาอันสั้น รวดเร็ว ก่อนถึงมือลูกค้า

คำสำคัญ (Tags): #r and d
หมายเลขบันทึก: 397482เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2010 20:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท