สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ โดย อ.เอมอร


สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนเรื่อง Farming System Analysis in Socio-Economic Aspects

Farming system research ประกอบด้วย

  1. Disciplines หมายถึง การทำวิจัยแบบเดี่ยวอย่างเช่นการสร้างพันธุ์ใหม่ โดยสร้างจากนักปรับปรุงพันธุ์เสร็จแล้วส่งให้เกษตรใช้เลย
  2. Multi-disciplines หมายถึง การทำวิจัยแบบรวมกลุ่ม อย่างเช่นการสร้างพันธุ์ใหม่ โดยสร้างจากนักปรับปรุงพันธุ์ ส่งให้นักโรคพืช นักวิจัยแมลง นักวิจัยด้านดิน ร่วมวิเคราะห์หรือทดสอบด้วย เสร็จแล้วจึงส่งให้เกษตรกรใช้
  3. inter-disciplines การทำวิจัยแบบร่วมกันระหว่างกลุ่ม มีการประสานงานกับหน่วยงานด้านอื่นเช่นนักส่งเสริมร่วมตรวจสอบด้วย เช่นการสร้างพันธุ์ใหม่ โดยสร้างจากนักปรับปรุงพันธุ์ ส่งให้นักโรคพืช นักวิจัยแมลง นักวิจัยด้านดิน ร่วมวิเคราะห์หรือทดสอบแล้ว ส่งต่อให้นักส่งเสริมเพื่อแนะนำให้เกษตรกรใช้

ที่ได้นอกเหนือจากบทเรียนคือได้คิดค่ะ ว่าการจะทำวิจัยต้องวิเคราะห์ก่อนที่จะลงมือทำโดยการหาข้อมูลที่เกี่ยวกับสิ่งที่เราจะทำ เช่นการวิจัยเรื่องพริก ต้องรู้ว่า พื้นที่ปลูกทั้งหมดเท่าไร ระบบการปลูกเป็นแบบไหน ลักษณะดินเป็นแบบไหน ที่ไหนปลูกมากที่สุด มีปัญหาอะไรบ้าง การแก้ปัญหาควรทำอย่างไร ใครจะได้ประโยชน์บ้างจากงานวิจัยของเรา จะมีผลทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างไร  

อย่างที่สองที่ได้คิดคือ การคิดอย่างเป็นระบบ(system thinking) ซึ่งกำลังพยายามทำอยู่ค่ะ มีบทความเกี่ยวกับการคิดอย่างเป็นระบบที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

"การคิดอย่างเป็นระบบ" (System Thinking)

จากคอลัมน์ เส้นสายลายคิด  โดย จรีพร แก้วสุขศรี คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 29 ฉบับที่ 3710 (2910)

ทำอย่างไรที่จะคิดอย่างเป็นระบบ (ซึ่งจริงๆ แล้วมีหลักสูตรในการอบรม) ขั้นแรกต้องฝึกจินตนาการ (ไม่ใช่เพ้อฝัน) โดยมีเหตุมีผล เป็นการจำลองเหตุการณ์ทางความคิด ซึ่งคนที่จะทำการ simulation ได้ดี คนคนนั้นจะต้องมีประสบการณ์หรือพื้นฐานในเรื่องนั้นดีด้วย เพราะไม่เช่นนั้น simulation ก็จะไม่เป็นจริง แต่ถ้าเราไม่รู้ล่ะ... ก็ต้องหาข้อมูลและทำให้ตัวเองรู้ให้ได้ไม่เช่นนั้นความล้มเหลวหรือความผิดพลาดก็จะตามมา ท่านลองคิดซิว่าถ้าท่านต้อง รับผิดชอบจัดงานเลี้ยงพนักงานประจำปี หรือจัด พนักงานไปอบรมดูงานนอกสถานที่ ท่านจะต้องทำอย่างไรบ้าง โดยคนที่ไม่อยากคิดมากอาจใช้วิธีจ้างคนมาดำเนินการแทน ในงบประมาณที่ได้รับ ซึ่งแน่นอนว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นผู้รับจ้างก็จะบวกค่าดำเนินการ (ค่าความคิดของเขา) เข้าไปด้วย แต่ถ้าเราทำเองล่ะ...จะประหยัดกว่าหรือไม่ การทำงานในปัจจุบันก็เช่นกัน เราต้องตัดสินใจทำอะไรก่อนหลังอยู่ตลอดเวลา ซึ่งตามที่เราได้เรียนหรืออบรมมาก็จะมีการจัดลำดับการทำงานอยู่ 4 อย่างด้วยกัน คือ

1.งานด่วน และสำคัญ

2.งานด่วน แต่ไม่สำคัญ

3.งานไม่ด่วน แต่สำคัญ

4.งานไม่ด่วน และไม่สำคัญ

เกือบทั้งหมด ก็จะเลือกทำงานด่วนและสำคัญเป็นอันดับแรก ถ้าถามถูกมั้ย ก็ตอบว่าไม่ผิด แต่ก็ไม่ถูกทั้งหมด เพราะในชีวิตการทำงานจริงเราจำเป็นต้องให้มีผลงานออกมาในแต่ละวันโดยเฉพาะงานที่เจ้านายสั่ง ซึ่งบางครั้งเราอาจจะต้องเอางานที่ไม่ด่วนและไม่สำคัญก่อน หากงานนั้นใช้เวลา 5-10 นาทีหรือเพียง 1 นาที (ออกคำสั่ง) ซึ่งนั่นคือผลงานที่ออก มาแล้วอย่างน้อย 1 อย่าง แต่ถ้าท่านทำงานด่วนและสำคัญก่อน ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาครึ่งวัน เจ้านายอาจจะเดินมาหาท่านหลายรอบ เพราะยังไม่มี งานออกมาเลยสักอย่าง คุณคิดว่าเจ้านายจะคิดอย่างไร ??? การคิดอย่างเป็นระบบไม่ใช่แค่เป็นการสร้างให้บุคคลหรือทีมงานมีความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นการมองภาพรวมเท่านั้น ยังจะช่วยขจัดปัญหาความ ซับซ้อนของงานได้อีกด้วย และยิ่งเราเป็นระดับหัวหน้างานด้วยแล้ว เราก็จะเป็นเพียงคนจัดลำดับวางแผนและตัดสินใจงานเท่านั้น หากเราคิดอย่างเป็นระบบได้ดี งานก็จะออกมาอย่างต่อเนื่องและนั่นคืออนาคตของท่าน ซึ่งเกิดจากกระบวนการทางความคิดที่เป็นระบบนั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 397477เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2010 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท