รายงานกิจกรรมกศน.


รายงานผลการดำเนินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

การจัดรายงานผลงานจากการดำเนิน  สามารถนำไปอ้างอิง หรือให้ผู้อื่นได้ใช้ศึกษาค้นคว้าต่อไปได้ ฝ่ายอบรม / กิจกรรมจึงควรคำนึงถึงการนำเสนอผลงานของตนด้วยว่า จะอยู่ในรูปแบบที่ผู้อื่นสามารถเข้าใจได้ชัดเจนคือการ ทำรายงาน 5 บท ดังนี้

ส่วนที่ 1       ส่วนนำเป็นส่วนที่แสดงรูปลักษณ์และส่วนที่ “ย่อ” เพื่อให้รู้ตอนหรือหน้าของปริญญานิพนธ์ที่แสดงเนื้อหาหลัก ส่วนนำของปริญญานิพนธ์ประกอบด้วยส่วนย่อยหรือหัวข้อดังต่อไปนี้ สันปก ปกนอก กระดาษรองปก ปกใน ใบรับรองโครงงาน บทคัดย่อภาษาไทย บทคัดย่อภาษาอังกฤษ กิตติกรรมประกาศ สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญรูป 

ส่วนที่ 2

บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของโครงงาน แผนการและระยะเวลาการดำเนินการ ขอบเขตการศึกษา ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ นิยามศัพท์เฉพาะ

    บทที่ 2 หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง อาจประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานของระบบงานที่ศึกษา ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในการพัฒนา ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฐานข้อมูล งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

         บทที่ 3  วิธีการดำเนินงานประกอบด้วย การศึกษาความเป็นไปได้ของระบบ การวิเคราะห์ระบบ การออกแบบระบบ

 

         บทที่ 4  ผลการทดลองหรือผลการวิเคราะห์ข้อมูล  ประกอบด้วย ผลการวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ของโครงงาน ทำตารางสรุปข้อมูล

         บทที่ 5  สรุปผลและข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย การเขียนย่อความตั้งแต่วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินการ เครื่องมือที่ใช้ สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะในการวิจัย 

      3.  ส่วนอ้างอิง รูปภาพผนวก

ดังนี้ตัวอย่างแนบมาด้วย

บทที่ 1

โครงการ กีฬาต้านภัยยาเสพติด พัฒนาคุณภาพชีวิต นักศึกษา กศน. ประจำปี 2553 

ที่มาของและความสำคัญของโครงการ

                ในปัจจุบันหลายหน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับกีฬาซึ่งอยู่ในรูปแบบการออกกำลงกายประเภทต่าง ๆ ซึ่งหน่วยงาน กศน.ได้จัดเป็นประจำทุกปีและเพื่อเป็นการต้านภัยยาเสพติดรวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้กับ นักศึกษาให้มีสุขภาพร่างกาย  สุขภาพจิตที่ดี  มีความแข็งแรง   รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย   และก่อให้เกิดความสามัคคี อย่างที่เรียกกันว่า มีน้ำใจนักกีฬา  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำพูน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการกีฬาที่จะนำมาเป็นกิจกรรมการแข่งขันเพื่อต้านภัยยาเสพติดและ ให้รู้โทษของสิ่งเสพติด   เพื่อให้สถานศึกษาปลอดภัยจากสารเสพติดรวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับนักศึกษา  โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษา กศน. หลีกเลี่ยงและปลอดภัยจากยาเสพติด    จึงทำโครงการ “ กีฬาต้านภัยยาเสพติด พัฒนาคุณภาพชีวิตนักศึกษา กศน. ประจำปี 2552 “ ขึ้น  ซึ่งโครงการนี้เป็นกิจกรรมที่จัดโดยองค์กรนักศึกษาทุกตำบล ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองลำพูน  ให้นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  

 

ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพพลานามัย โดยใช้กีฬาเป็นสื่อให้กับนักศึกษา

การศึกษานอกโรงเรียน ในการเล่นและฝึกทักษะที่สอดคล้องกับความสนใจ ตลอดจนปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา และเป็นการสืบทอดการแข่งขันกีฬาท้องถิ่น อันจะเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และเพื่อเป็นการส่งเสริมกระบวนการเรียนหมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1 และการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544       

วัตถุประสงค์

                1. เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนเล่นกีฬาประเภทต่าง ๆ อย่างมีน้ำใจนักกีฬารู้จักทำงานเป็นทีม

                2. เพื่อส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะต้องมีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ในรูปแบบของคณะกรรมการองค์กรนักศึกษา

เป้าหมาย

                                นักศึกษา หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544                     จำนวน 1,300 คน

                                นักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ                                   จำนวน    150 คน

                                นักศึกษา หลักสูตรทางไกล                                                               จำนวน      50 คน                                                                                                                 รวม         จำนวน 1,500 บาท

นิยาม

                กีฬาเป็นกิจกรรมหรือการเล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลิน เพื่อความแข็งแรงของร่างกาย หรือเพื่อผ่อนคลายความเคร่งเครียดทางจิต  ให้ห่างไกลยาเสพติด

 

 

บทที่ 2 

   เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ประวัติกรีฑาในประเทศไทย

การเล่นกรีฑาในประเทศไทยริเริ่มโดยครูฝรั่งชาวอังกฤษนำมาสอนให้นักเรียนไทยได้ฝึกเล่นกันในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วค่อยเจริญแพร่หลายขึ้นหลังปี พ.ศ.2440 เป็นต้นมา

การเล่นกรีฑาเริ่มเป็นทางการขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปและเมื่อเสด็จนิวัติคืนสประเทศไทย ทางราชการโดยมอบหมายให้ กระทรวงธรรมการ ครู นักเรียนรวมถึงประชาชนได้จัดการแข่งขันกรีฑานักเรียนและประชาชน โดยได้จัดขึ้น ณ ท้องสนามหลวง (ทุ่งพระสุเมรุ) เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440 และตั้งแต่นั้นมาก็จัดเป็นประเพณีสืบทอดต่อกันมาโดยตลอด

กีฬาไทยมีกำเนิดจากการละเล่นพื้นเมืองในเทศกาลต่าง ๆ เมื่อว่างจากการศึกสงคราม ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้ง “สมาคมกีฬาสยาม” วันที่ 5 มกราคม 2475 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย พระยาภิรมย์ภักดีเป็นนายกสมาคมคนแรก กีฬาที่จัดแข่งขันเป็นประจำ คือ ว่าว ตะกร้อ และหมากรุกไทย

 พ.ศ. 2475 – 2480 นายยิ้ม ศรีพงษ์ เป็นนายกสมาคมกีฬาสยามคนที่ 2 มีการแข่งขันกีฬาหมากรุก ว่าว ตะกร้อวงเล็ก ตะกร้อวงใหญ่ ตะกร้อธง ตะกร้อข้ามตาข่าย และตะกร้อลอดบ่วง หลวงมงคลแมน (สังข์ บูรณะศิริ) คือ ผู้ประดิษฐ์ห่วงตะกร้อที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน   

พ.ศ. 2480 – 2484 นาวาเอกหลวงศุภชลาศัย ร.น. ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวงการพลศึกษาของเมืองไทย เป็นนายกสมาคมกีฬาสยาม คนที่ 3  

 พ.ศ. 2487 ประเทศสยามเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทย จึงเปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมกีฬาไทย
         พ.ศ. 2487 – 2490 พระยาจินดารักษ์ เป็นนายกสมาคม คนที่ 4
         พ.ศ. 2490 – 2498 พันเอกหลวงรณสิทธิ์พิชัย เป็นนายกสมาคม คนที่ 5 วันที่ 18 เมษายน 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับสมาคมกีฬาไทยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์
         พ.ศ. 2508 เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาแห่งเอเซีย (Association Sepak Takraw Federation of Asia)

 

 

 

 

 

 

 

ประวัติกีฬาพื้นบ้าน

 

กีฬาพื้นบ้านของไทย กีฬาพื้นบ้าน หรือที่เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า กีฬาพื้นเมือง ได้

ถือว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถช่วยส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย ในการสืบทอดมรดกไทยได้อีกอย่างหนึ่ง และได้มีมาตั้งแต่สมัยของกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยปัจจุบันนี้ เป็นกิจกรรมกีฬา ที่ไม่ได้ใช้ อุปกรณ์ในการเล่นอะไรมากมายสามารถหาได้ง่ายตามหมู่บ้าน หรือชุมชนในชนบท อาจทำได้ด้วยสิ่งวัสดุต่างๆ เช่น กะลามะพร้าว ใช้ในการแข่งขันวิ่งกะลา ก้อนหินใช้ในการแข่งขันเล่นหมากเก็บ และไม้ไผ่ ใช้เล่นในการแข่งขันวิ่ง หรือเดินขาโถกเถก ฯ จะเห็นว่าเป็นกิจกรรมกีฬา ที่แข่งขันกันเพื่อความสนุกสนาน และความสามัคคีในหมู่คณะ และเป็นการแข่งขันที่เล่นกันแบบอิสระ และเป็นการแข่งขันด้วยความสมัครใจของผู้เล่นเอง ไม่มีการบังคับในการเล่น มีกฎกติกาที่ไม่บังคับอะไรมากมาย แต่ก็อยู่ระเบียบ  จะเน้นในเรื่องของความสนุกสนาน  กันมากกว่า การแพ้หรือชนะ เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่  กีฬาพื้นบ้าน  หรือกีฬาพื้นเมือง เป็นการละเล่นกีฬาที่นิยมเล่นกันในแต่ละภาคแต่จะมีวิธีการเล่นที่แตกต่างกันออกไป  ของแต่ละชุมชน แต่สถานที่ในการละเล่นกีฬา สามารถแบ่งออกได้เป็นสอง    ประเภท คือกีฬากลางแจ้งและกีฬาในร่ม ในช่วงของการละเล่นส่วนมากแล้วจะนิยมเล่นกันในช่วงเทศกาล เช่น เทศกาลสงกรานต์ เทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่และเทศกาลตรุษจีนและอีกในหลายๆ เทศกาลของไทย หรือในช่วงที่เป็นเวลาว่างจากการงาน เช่นหมดฤดูกาลของการทำนา ทำไร่ จะเล่นเพื่อเป็นการออกกำลังกายและพักผ่อนไปในตัว รวมทั้งทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และยังช่วยทำให้เกิดความรัก ความอบอุ่นอีกด้วย
การละเล่นกีฬาพื้นบ้าน หรือกีฬาพื้นเมือง ของไทยเราในอดีตของสมัยสุโขทัย ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีเล่นให้เห็นอยู่บ้างในการละเล่นของเด็กๆ และผู้ใหญ่ในบางกลุ่ม เช่นการละเล่นของเด็ก คือ การแข่งขันวิ่งเปี้ยว การเล่นโป้งแปะ การเล่นว่าว การเล่นหมากเก็บ และ การเล่นกระโดดเชือก ฯ ส่วน การละเล่นกีฬาพื้นบ้านพื้นเมืองของผู้ใหญ่ คือ การแข่งขันเรือยาว มวยไทย มวยทะเล การเล่นหมากรุก ชนไก่ ฯ

ความหมายของคำว่า กีฬาและออกกำลังกาย

คําวา “ กีฬา” (Spot) เปนคําที่ทุกคนคุนเคยและมักพูดกันเสมอแตสวนมากมักจะไมเขาใจถึงความหมายของคำว่านักพลศึกษาตางก็ให้ความหมายแตกตางกันออกไปไดแก สลัสเชอร(Slusher 1976) ให้ ความหมายา “ กีฬาเปนสวนหนึ่งของชีวิตที่จะทําใหคนมีทั้งความสนุกและเศรา”  พาฟลิช (Pavlich 1966) กลาววา “กีฬา “คือความสงางามของคนที่แสดงออกในลักษณะเคลื่อนไหว”

พจนานุกรมฉบับราชบัณทิตยสถาน ให้ความหมายวา “ กีฬาคือการแขงขันการเลนเพื่อความ

สนุกสนานโดยมากเปนการบํารุงแรง”

 

วรศักดิ์ เพียรชอบ(2525) กลาววา “   กีฬา เปนกิจกรรมที่เปนสวนหนึ่งของชีวิตเลนเพื่อความสนุกสนานและเพื่อแสดงออกซึ่งความสามารถและสวยงามดวยการเคลื่อนไหว ของรางกายในเวลาวางใหเปนไปตามกฎระเบียบที่วางไวทั้งนี้โดยไมหวังผลตอบแทนอยางอื่น”

 

 

         

ความรู้เรื่องยาเสพติด

๑. ความหมายของยาเสพติด
            ยาเสพติด  หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู้ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง
        ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้
             ๑.  เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
             ๒.  เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
              ๓.  มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
                ๔.  สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง  ครอบครัว  ผู้อื่น  ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ
๒. ประเภทของยาเสพติด
            ยาเสพติด แบ่งได้หลายรูปแบบ ตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้


ฝิ่น


เอ๊กซ์ตาซี

                ๑.  แบ่งตามแหล่งที่เกิด  ซึ่งจะแบ่งออกเป็น  ๒  ประเภท คือ
                    ๑.๑  ยาเสพติดธรรมชาติ  (Natural  Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น  ฝิ่น กระท่อม  กัญชา  เป็นต้น


เฮโรอีน


ยาบ้า


แนวคิดเรื่องทักษะชีวิตและแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต
ศิริพรรณ สายหงษ์

สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนได้กำหนดนโยบาย ในเรื่องการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต โดยเน้นส่งเสริมสนับสนุนให้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนมีทักษะชีวิตที่จำเป็น และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนั้น เพื่อให้มีแนวทางการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตที่ชัดเจน สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนจึงขอสรุปแนวคิด เรื่องทักษะชีวิตและแนวทางการจัดกิจกรรมในรายละเอียดดังนี้

1. ความหมายของทักษะชีวิต
คำว่า ทักษะ (Skill) หมายถึง ความชัดเจน และความชำนิ ชำนาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งบุคคลสามารถสร้างขึ้นได้จากการเรียนรู้ ได้แก่ ทักษะการอาชีพ การกีฬา การทำงานร่วมกับผู้อื่น การอ่าน การสอน การจัดการ ทักษะทางคณิตศาสตร์ ทักษะทางภาษา ทักษะทางการใช้เทคโนโลยี ฯลฯ ซึ่งเป็นทักษะภายนอกที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน จากการกระทำ หรือจากการปฏิบัติ ซึ่งทักษะดังกล่าว นั้นเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตที่จะทำให้ผู้มีทักษะเหล่านั้น มีชีวิตที่ดี สามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้ โดยมีโอกาสที่ดีกว่าผู้ไม่มีทักษะดังกล่าว ซึ่งทักษะประเภทนี้เรียกว่า
Livelihood skill หรือ Skill for living ซึ่งเป็น คนละอย่างกับทักษะชีวิต ที่เรียนว่า Life skill (ประเสริฐ ตันสกุล)
ดังนั้น ทักษะชีวิต หรือ Life skill จึงหมายถึง คุณลักษณะ หรือความสามารถเชิงสังคม จิตวิทยา (Phychosoclal competence) ที่เป็นทักษะภายในที่จะช่วยให้บุคคลสามารถเผชิญสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการดูแลสุขภาพ เอดส์ ยาเสพติด ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม คุณธรรมจริยธรรม ฯลฯ เพื่อให้สามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
หรือจะกล่าวง่าย ๆ ทักษะชีวิต ก็คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาที่ต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน เพื่อให้อยู่รอดปลอดภัย และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

2. องค์ประกอบของทักษะชีวิต
องค์ประกอบของทักษะชีวิตจะมีความแตกต่างกันตามวัฒนธรรมและสถานที่ แต่ทักษะชีวิตที่จำเป็นที่สุดที่ทุกคนควรมี ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้สรุปไว้ และถือเป็นหัวใจสำคัญในการดำรงชีวิต คือ
1. ทักษะการตัดสินใจ (Decision making) เป็นความสามารถในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างมีระบบ เช่น   ถ้าบุคคลสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการกระทำของตนเองที่เกี่ยวกับพฤติกรรมด้านสุขภาพ หรือความปลอดภัยในชีวิต โดยประเมินทางเลือกและผลที่ได้จากการตัดสินใจเลือกทางที่ถูกต้องเหมาะสม ก็จะมีผลต่อการมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ
2. ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving)  เป็นความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมีระบบ ไม่เกิดความเครียดทางกายและจิตใจ จนอาจลุกลามเป็น
ปัญหาใหญ่โตเกินแก้ไข
3. ทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking)  เป็นความสามารถในการคิดที่จะเป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาโดยการคิดสร้างสรรค์ เพื่อค้นหาทางเลือกต่าง ๆ รวมทั้งผลที่จะเกิดขึ้นในแต่ละทางเลือก และสามารถนำประสบการณ์มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่าง
เหมาะสม
4. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking)  เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ และประเมินปัญหา หรือสถานการณ์ที่อยู่รอบตัวเราที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต
5. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective communication)  เป็นความสามารถในการใช้คำพูดและท่าทางเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของตนเองได้อย่างเหมาะสมกับวัฒนธรรม และสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การแสดงความต้องการ การแสดงความชื่นชม การขอร้อง การเจรจาต่อรอง การตักเตือน การช่วยเหลือ การปฏิเสธ ฯลฯ
6. ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal relationship) เป็นความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและกัน และสามารถรักษาสัมพันธภาพไว้ได้ยืนยาว
7. ทักษะการตระหนักรู้ในตน (Self awareness) เป็นความสามารถในการค้นหารู้จักและเข้าใจตนเอง เช่น รู้ข้อดี ข้อเสียของตนเอง รู้ความต้องการ และสิ่งที่ไม่ต้องการของตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เรารู้ตัวเองเวลาเผชิญกับความเครียดหรือสถานการณ์ต่าง ๆ และทักษะนี้ยังเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทักษะอื่น ๆ เช่น การสื่อสาร การสร้างสัมพันธภาพ การตัดสินใจ ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
8. ทักษะการเข้าใจผู้อื่น (Empathy) เป็นความสามารถในการเข้าใจความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างบุคคล ในด้านความสามารถ เพศ วัย ระดับการศึกษา ศาสนา ความเชื่อ สีผิว อาชีพ ฯลฯ ช่วยให้สามารถยอมรับบุคคลอื่นที่ต่างจากเรา เกิดการช่วยเหลือบุคคลอื่นที่ด้อยกว่า หรือได้รับความเดือดร้อน เช่น ผู้ติดยาเสพติด ผู้ติดเชื้อเอดส์
9. ทักษะการจัดการกับอารมณ์ (Coping with emotion) เป็นความสามารถในการรับรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น รู้ว่าอารมณ์มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมอย่างไร รู้วิธีการจัดการกับอารมณ์โกรธ และความเศร้าโศก ที่ส่งผลทางลบต่อร่างกาย และจิตใจได้อย่างเหมาะสม
10. ทักษะการจัดการกับความเครียด (Coping with stress) เป็นความสามารถในการรับรู้ถึงสาเหตุของความเครียด รู้วิธีผ่อนคลายความเครียด และแนวทางในการควบคุมระดับความเครียด เพื่อให้เกิดการเบี่ยงเบนพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสมและไม่เกิดปัญหาด้านสุขภาพ

3. กลวิธีในการสร้างทักษะชีวิต
จากองค์ประกอบของทักษะชีวิต 10 ประการ เมื่อจะนำไปจัดกิจกรรมพัฒนา
ทักษะชีวิตให้กับกลุ่มเป้าหมาย สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้
1. ทักษะชีวิตทั่วไป คือ ความสามารถพื้นฐานที่ใช้เผชิญปัญหาปกติในชีวิตประจำวัน
เช่น ความเครียด สุขภาพ การคบเพื่อน การปรับตัว ครอบครัวแตกแยก การบริโภคอาหาร ฯลฯ
2. ทักษะชีวิตเฉพาะ คือ ความสามารถที่จำเป็นในการเผชิญปัญหาเฉพาะ เช่น
ยาเสพติด โรคเอดส์ ไฟไหม้ น้ำท่วม การถูกล่วงละเมิดทางเพศ ฯลฯ

4. เนื้อหาที่เป็นจุดเน้นในการพัฒนาทักษะชีวิต
จากองค์ประกอบของทักษะชีวิต 10 ประการ กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้กำหนดเนื้อหาที่เป็นจุดเน้นในการพัฒนาทักษะชีวิต 4 ด้าน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการส่งเสริม การป้องกันและการแก้ไขที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่ คือ
1. ด้านสุขภาพอนามัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการดูแลตนเอง ให้มีสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม รู้วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ และสามารถแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่จะนำไปสู่โรคภัย
ไข้เจ็บได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
2. ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้มีความรู้
ความเข้าใจและตระหนักในภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน รู้วิธีป้องกันภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้น และสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากภัยอันตรายได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มีจิตสำนึกในการร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รู้วิธีใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า รู้วิธีป้องกันไม่ให้เกิดสภาพแวดล้อมเป็นพิษ และสามารถแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมเป็นพิษในชุมชนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
4. ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ถูกต้อง และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคนในสังคมไทย รู้วิธีป้องกันไม่ให้ตนเอง ครอบครัว ชุมชนเข้าไปเกี่ยวข้องกับอบายมุข สามารถปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีของครอบครัว ชุมชน 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 3

การดำเนินงาน

                การจัดกีฬา  “โครงการกีฬา ต้านภัยยาเสพติด   พัฒนาคุณภาพชีวิตนักศึกษา กศน. ประจำปี 2553 “  เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิติให้กับกลุ่มเป้าหมาย นักศึกษา กศน.อำเภอเมือง นักศึกษา หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544        วิธีเรียนแบบพบกลุ่ม วิธีเรียน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ   นักศึกษา หลักสูตรทางไกล ภาคเรียนที่ 2 / 2552  รวมทั้งหมด 1,000  คน    ณ. สนามกีฬาโรงเรียนบ้านแป้นพิทยาคม   ในวันที่ 23  มกราคม  2552  ตั้งแต่เวลา 07.00 - 17.00 น. โดยมีวิธีการเตรียมการ ตลอดจนผลการดำเนินการในการจัดการแข่งขันกีฬาดังนี้

 

ขั้นตอนการเตรียมงาน

วันที่

กิจกรรม

ผู้รับผิดชอบ

สถานที่

กลุ่มเป้าหมาย

20 ธ.ค.. 52

ประชุม / วางแผนการจัดกิจกรรมกีฬา

-          หน้าที่องค์กรนักศึกษา

-          รูปแบบของการจัดกิจกรรม

-          บทบาทของครู ศรช.

ผอ.กศน.

ฝ่ายส่งเสริมพื้นฐาน

ฝ่ายอบรม / กิจกรรม

ศูนย์ ฯ กศน.อำเภอ. เมืองลำพูน

ครู / องค์กรนักศึกษา กศน.

5 ม.ค. 52

จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ

- ทำจัดซื้อ จัดจ้าง วัสดุ อุปกรณ์

ฝ่ายอบรม / กิจกรรม

ศูนย์ ฯ กศน.อำเภอ. เมืองลำพูน

นักศึกษากศน.

5 – 10 ม.ค.53

- จัดทำสูจิบัตร จำนวน 40 เล่ม

ฝ่ายอบรม / กิจกรรม

ศูนย์ ฯ กศน.อำเภอ. เมืองลำพูน

ครู + องค์กรน/ศ

3 ,10 ,17 ม.ค.53

วางแผนแบ่งหน้าที่องค์กรนักศึกษา

-          การจัดรูปแบบขบวน

-          กีฬาประเภทต่าง ๆ

-          พิธีเปิด พิธีปิด  / สนามกีฬา

-          ถ้วยรางวัล

ฝ่ายส่งเสริมพื้นฐาน

ฝ่ายอบรม / กิจกรรม

ครูประจำศูนย์การเรียน

องค์กรนักศึกษาตำบล

 

ศูนย์ ฯ กศน.อำเภอ. เมืองลำพูน

ครู + องค์กรน/ศ

10 – 20 ม.ค.53

- ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ถ้วยรางวัล

- ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์คณะกรรมการ

-- ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์วงดุริยางค์

- ทำหนังสือขอเชิญแขกผู้มีเกรียติ

- ทำหนังสือขอเชิญประธานเปิดพิธี

- ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์เต็นท์

ฝ่ายอบรม / กิจกรรม

- ศูนย์ ฯ กศน.อำเภอ. เมืองลำพูน

- หน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานราชการ

- ร.ร.บ้านแป้นพิทยาคม

-เทศบาลในเมือง

- อบต.ทุกตำบล

-

 

 

 

 

 

วันที่

กิจกรรม

ผู้รับผิดชอบ

สถานที่

กลุ่มเป้าหมาย

20 – 21 ม.ค. 53

- ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ตำรวจ

-- ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่พยาบาล

-- ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์รถประชาสัมพันธ์

- คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรการดำเนินงาน

 

 

 

 

19 – 22 ม.ค. 53

เตรียมวัสดุ – อุปกรณ์กีฬา

-           ปูนขาว  100 ถุง  อุปกรณ์กีฬาพื้นบ้าน /  เชือก / กระสอบ / บิ๊ป / ไม้ สกีกบก

 

ครู + องค์กรนักศึกษาตำบล

 

 

 

 

ศูนย์ ฯ กศน.อำเภอ. เมืองลำพูน

ครู + องค์กรน/ศ

23 ม.ค. 53

- จัดสถานที่  ณ. สนามกีฬาจังหวัดลำพูน

  - สนาม ลู่วิ่ง 50 – 80 เมตร

 -  ตกแต่งประรำพิธี กองอำนวยกลาง

 -  สนาม เปตอง / สนามฟุตบอล

 

 

 

 

 

 

ครู + องค์กรนักศึกษาตำบล

ณ. สนามกีฬาโรงเรียนบ้านแป้นวิทยาคม

ครู + องค์กรน/ศ

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นตอนการจัดกระบวนการ

วันที่

กิจกรรม

ผู้รับผิดชอบ

สถานที่

กลุ่มเป้าหมาย

23 ม.ค  2552

-เวลา 07.00 น. นักกีฬาและนักศึกษา กศน. พร้อมกัน ณ. วัดหนองเต่า

- เวลา 07.30 น. จัดรูปขบวนพาเหรด

- เวลา 08.00 น. เคลื่อนขบวน จากข้างจวนผู้ว่า ไป ยังสนามกีฬากลางจังหวัดลำพูน ตามสี คือ สีน้ำเงิน สีเขียว    สีม่วง สีฟ้า สีส้ม และสีชมพู 

- เวลา 08.30 น. ขบวนพาเหรดเข้าสู่สนามกีฬา

- เวลา 09.00 น. พิธีเปิดกีฬา  โดยผอ. กศน.จังหวัดลำพูน

- เวลา 09.30- 12.00 น. เริ่มทำการแข่งขันประเภทการแข่งขันกรีฑา

- วิ่ง 50 , 80 , 100  เมตร ชาย / หญิง

- แข่งขันฟุตบอลชาย / - แข่งขัน เปตอง ชาย / หญิง

เวลา 13.00 – 16.00 น. การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน

- วิ่งสามขา ตำบล  / ศูนย์ จำนวน 2 คน

- วิ่งกระสอบ ตำบล / ศูนย์ จำนวน 1 คน

-  ลิงอุ้มแตง  ตำบล / ศูนย์ จำนวน 1 คน

- ปิดตาตีหม้อ ตำบล / ศูนย์ จำนวน 1 คน

 - เรือบก ตำบล / ศูนย์ จำนวน 1 คน

- ตีกอล์ฟ ตำบล / ศูนย์ จำนวน 1 คน

- ชักคะเย่อ  ตำบล / ศูนย์ จำนวน 1 คน

เวลา 16.30 น. นักกีฬาเดินเข้าสู่สนามกีฬามอบรางวัล

เวลา 17.00 น. มอบถ้วยรางวัล และเหรียญให้กับนักกีฬา และร่วมชมการแข่งขันฟุตบอล รวมชิงชนะเลิศ

เวลา 17.30 น. พิธีปิด          

ศูนย์ กศน.อ.เมือง

- ข้าราชการ

- พนักงานราชการ

- ครูศูนย์การเรียน

- เจ้าหน้าที่

- องค์กรนักศึกษาตำบล

ณ. สนามกีฬาโรงเรียนบ้านแป้นวิทยาคม

- นักศึกษา กศน.ขั้นพื้นฐาน 15 ตำบล

- นักศึกษาทางไกล

- นักศึกษา ปวช

 

 

 

รูปแบบการจัดขบวนกีฬา

           วงดุริยางค์

หมายเลขบันทึก: 396990เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2010 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท