กาลามสูตร10


เทพ

 

 

 

 

 

                                กาลามสูตร ๑๐ (ข้อห้ามมิให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง)

๑. มา อนุสสเวนะ อย่าได้เชื่อถือ ตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา
๒ .มา ปรัมปายะ อย่าได้เชื่อถือ ตามถ้อยคำสืบๆ กันมา
๓ .มา อิติกิรายะ อย่าได้เชื่อถือ โดยตื่นข่าวว่าได้ยินอย่างนี้
๔ .มา ปิฏกสัมปทาเนนะ อย่าได้เชื่อถือ โดยอ้างตำรา
๕ .มา ตักกเหตุ อย่าได้เชื่อถือ โดยเดาเอาเอง
๖ . มา นยเหตุ อย่าได้เชื่อถือ โดยคาดคะเน
๗ .มา อาการปริวิตักเกนะ อย่าได้เชื่อถือ โดยความตรึกตามอาการ
๘ .มา ทิฏฐินิชฌานักขันติยา อย่าได้เชื่อถือ โดยชอบใจว่าต้องกับทิฐิของตัว
๙ .มา ภุพพรูปตายะ อย่าได้เชื่อถือ โดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้
๑๐.มา สมโณ โน ครูติ อย่าได้เชื่อถือว่าสมณะนี้คือครูของเรา       

      ครอบครัวชาว ฮินดู กำลังทำพิธีอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับ โดยมี พราหมณ์ เป็นผู้ประกอบศาสนพิธีให้ครับ บ่อถังข้างๆ เต็มไปด้วยมะพร้าวที่ถูกผ่าเอาน้ำบริสุทธิ์ไปใช้เรียบร้อยแล้วครับ

ส่วน ฮินดูชน ที่แวะเวียนมาที่นี่ ก็เข้ารับพรจาก พราหมณ์ ที่นี่ในศาลเจ้าด้านหน้าครับ

 

 

ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู 

ศาสนาพราหมณ์เกิดก่อนศาสนาฮินดู โดยที่ศาสนาฮินดูเป็นพัฒนาการมาจากศาสนาพราหมณ์อีกที ปัจจุบันจึงนิยมเรียกควบคู่กันว่า พราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของโลก แต่ไม่ปรากฏนามศาสดา


ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เกิดที่ประเทศ อินเดีย....
พวก อารยัน (ผิวสีขาว มาจากทางยุโรป) มาตีอินเดีย แล้วยึดอินเดียได้ จึงนำระบบวรรณะและศาสนาพราหมณ์  .......
พวก ดราวิเดียน (ผิวสีดำ) เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิม เมื่อถูกพวก อารยัน ตี อินเดีย ได้แล้ว ทำให้พวก ดราวิเดียน หนีไปอยู่เกาะ ศรีลังกา เพราะถ้าหากยังอยู่ในอินเดีย จะได้รับการกดขี่ ดูถูกจากคนผิวขาว (อารยัน) นำมาซึ่งระบบวรรณะ


พัฒนาการ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มี 3 ยุค

ยุคพระเวท
 - ชาวอารยันแบ่งเทพเจ้าออกเป็น 3 กลุ่ม คือ บนโลก บนอากาศ บนสวรรค์ เช่น พระวรุณ (เทพแห่งฝน) พระวายะ (เทพแห่งลม) พระสุริยะ (เทพแห่งพระอาทิตย์)
- เทพเจ้าองค์ใดได้รับการนับถือมากที่สุดก็จะได้รับการยกย่องวาเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด   เรียกว่า ประชาบดี (ผู้ใหญ่, ผู้สร้างโลก)  พระประชาบดี คือ พระพรหม นั่นเอง
- มีการสวดสรรเสริญพระเจ้ามากขึ้น พราหมณ์จึงรวบรวมบทสรรเสริญเทพเจ้าไว้ ในคัมภีร์ พระเวท (ชาวอารยัน เชื่อว่า ฤาษีได้ยิน คัมภีร์ พระเวท มาจากพระโอษฐ์ของพระเจ้า เลยทีเดียว)
 
ยุคพราหมณ์
 - อิทธิพลของพราหมณ์ได้ก้าวถึงขีดสุด
- ผูกขาดการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ของศาสนา
- มีความสลับซับซ้อน  ดูขลัง + ศักดิ์สิทธิ์
- มีความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม การเวียนว่ายตายเกิด และการเกิดใหม่
 
ยุคฮินดู
 - เกิดเทพเจ้า 3 องค์ เรียกว่า ตรีมูรติ
1. พรหม  =  ผู้สร้างโลก  
2. พระนารายณ์ หรือ พระวิษณุ  = ผู้รักษาโลก
3. พระศิวะ หรือ พระอิศวร  =  ผู้ทำลายโลก (เพราะมีคนชั่วมาก)

 

ระบบวรรณะ
วรรณะ หมายถึง สีผิว (วรรณะ = พรรณ = ผิวพรรณ)
วรรณะในสังคมพราหมณ์ – ฮินดู  นั้นมี 4  วรรณะ

วรรณะ เกิดจากอวัยวะของพรหม อาชีพ (หน้าที่การงานในสังคม)
พราหมณ์ปากครู , นักบวช , ผู้ปกครองพิธีกรรมทางศาสนา กษัตริย์ แขนนักรบ , นักปกครอง
แพศย์ (ไวศยะ)ท้องพ่อค้า , แม่ค้า , อาชีพที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ ศูทร เท้า กรรมกร , ผู้ใช้แรงงาน วรรณะ นั้นเปลี่ยนแปลงไม่ได้ (=เกิดมาเป็นวรรณใด ต้องเป็นวรรณะนั้นตลอดชาติ) เพราะถือกำเนิดมาจากอวัยวะของพรหม (ที่พระเจ้าสร้างและกำหนดมาให้แล้ว)จัณฑาล เป็น อวรรณะ (=ไม่มีวรรณะอยู่) เป็นคนที่ต่ำยิ่งกว่าต่ำ ได้รับการรังเกียจอย่างสุดๆ เกิดจากการแต่งานข้ามวรรณะ โดยที่พ่อเป็นศูทร ไปแต่งงานกับแม่ที่มีวรรณะสูงกว่า พวกนี้เป็นได้แต่ขอทาน จะทำอาชีพอื่นไม่ได้ (น่าสงสารมาก)

อาศรม 4 อาศรม  หมายถึง  เป็นขั้นตอนของชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย

1. พรหมจารี
 - เป็นวัยเรียน ต้องตั้งใจศึกษาคัมภีร์พระเวท (วรรณะศูทรเรียนหนังสือไม่ได้)
- เมื่ออายุครบ 5 ปี, 8 ปี และ 16 ปี ต้องทำพิธีอุปนยัน (อุปนยสังสการ) = มอบตัวเป็นศิษย์
 2. คฤหัสถ์
 - วัยครองเรือน
- ทำหน้าที่เป็นสามี – ภรรยาที่ดี เมื่อมีลูกก็ต้องทำหน้าที่เป็นพ่อ – แม่ที่ดี
 3. วานปรัสถ์
 - วัยออกบวช เมื่อลูกผ่านวันพรหมจารีจนมาถึงคฤหัสถ์
- ต้องเข้าป่าหาความสงบ ฝึกจิตให้บริสุทธิ์
 4. สันยาสี
 - วัยบรรลุเป้าหมายของชีวิต
- เข้าบำเพ็ญเพียรตามหลักศาสนา เพื่อจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต คือ โมกษะ

หลักปรมาตมัน – โมกษะ
ปรมาตมัน (บรม + อาตมัน) = วิญญาณอันยิ่งใหญ่ (คือพระผู้เป็นเจ้านั่นเอง)
อาตมัน = วิญญาณย่อยที่ออกมาจากปรมาตมัน แล้วเข้าไปสิงในร่างกาย = 1 ชีวิต
โมกษะ = การหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตามเกิดด้วยการบำเพ็ญมรรค 4 ของวัยสันยาสี เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตของคนพรามหณ์ – ฮินดู

มรรค 4 = หนทางสู่โมกษะ ได้แก่
กรรมมรรค = กระทำดีโดยไม่หวังผลตอบแทน
ชญาณมรรค = การใช้ปัญญาญาณในการดำเนินชีวิต
ราชมรรค = การฝึกจิตใจให้แข็งกล้ากฎแห่งกรรมและสังสารวัฏ
คนฮินดู   เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม   คนฮินดู   เชื่อว่าคนเรามีการเวียนวายตายเกิด = สังสารวัฏ
คนฮินดู   เชื่อว่าจะไปเกิดใหม่ในทางที่ดีหรือแย่กว่าเก่าต้องขึ้นอยู่กับกรรม (การกระทำในชาตินี้)

 

 

 

 

ภายใน มี พราหมณ์ หลายท่าน ที่ทำพิธีกรรมให้กับ สาธุชน ครับ

คำสำคัญ (Tags): #ครุสังคม
หมายเลขบันทึก: 396636เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2010 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 23:20 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีครับ
  • ครูและเด็กๆ ควรได้อ่าน และคิดตาม
  • ขอบคุณครับสำหรับบทความดีๆ

บทความดีเยี่อม

ได้รับความรู้ดีดี ขอบคุณนะ

ความรู้แฝงอยู่ในบทความนี้แหละ..

(..ถ้าอ่านหมด..)

เอาไว้ชอบ อ.ชูวิทย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท