พลังของ “ความรู้” นำสู่การพัฒนา “ปัญญา”


คนที่ “ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด” มีมากมายพอสมควร แต่ไม่มีใครเลยที่มี “ปัญญาท่วมหัว เอาตัวไม่รอด”

ตั้งแต่วันแรก (20 เมษายน 2549 17:25) ผมได้รับการชักจูงจากเจ้าหน้าที่ สคส. ให้เข้ามาเขียนบันทึกใน G2K แห่งนี้ ผมก็ได้เปิดประเด็นแบบฟันธง และยังยืนยันถึงวันนี้ เลย

ว่า “เราเลิกจัดการความรู้กันเถอะ

และเสนอตั้งแต่วันนั้นว่า สคส. (KMI) ควรเปลี่ยนชื่อและเป้าหมายงานเป็น สพปส. (WDI) Wisdom development Institute

เพื่อช่วยพัฒนาคนที่รู้บ้างไม่รู้บ้าง ให้มีปัญญา

เพราะคนที่ “ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด” มีมากมายพอสมควร

แต่ผมไม่เคยพบใครเลยที่ “มีปัญญาท่วมหัว เอาตัวไม่รอด”

และผมเชื่ออย่างมั่นใจว่า

คนที่มีปัญญา ต้องเอาตัวรอดได้แน่นอน

ผมมีความเชื่ออย่างนั้นจริงๆ ครับ (ใครมีความเห็นต่าง ช่วยชี้แนะด้วยครับ)

ผมคิดต่อเอาเองว่า

ที่ปัญหายังเป็นเช่นนั้น เพราะ

คนที่ “แค่รู้” “มัวแต่สาละวนจัดการความรู้ ที่แค่รู้ จนลืมนำความรู้ไปสร้างปัญญา”

หรือ อีกนัยหนึ่ง คนเหล่านั้น ยัง

  • ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์การจัดการความรู้ รู้แต่ว่าต้องจัดการ ก็จัดการ
  • จัดการอย่างไร จัดการไปทำไม จัดการให้ได้อะไร ประเมินตรวจสอบได้อย่างไร นั้น แทบไม่อยู่ในระบบคิด

แบบว่า หลับหู หลับตาทำตามคำพูดของคนอื่น

ใครว่าอย่างไรก็ว่าตามไปเรื่อยๆ แบบ “จำมา บอกต่อ”

โดยไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่ใช้ ใช้ไม่เป็น แล้วจะได้อะไร ผลเป็นอย่างไร

คงไม่ต้องเดาครับ

จึงเป็นที่มาของเรื่องที่ผมตกผลึก ตัดสินใจเขียนวันนี้ครับ

พลังของ “ความรู้” นำสู่การพัฒนา “ปัญญา”

เพราะ

เราต้องใช้ความรู้อย่างมีพลัง อย่าสักแต่ว่าใช้

จึงจะนำไปสู่การสร้าง “ปัญญา”

ผมมีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมหลายเรื่องในชีวิตของผมเอง ที่ มั่นใจและกล้าพูด

ที่ไม่มั่นใจ ยังไม่กล้านำเสนอนั้นมีอีกมากกว่านี้เป็นหลายเท่า ครับ

เรื่องต่างๆ ที่ผมได้ทำจนสำเร็จถึงระดับปัญญา มีดังนี้

  • การทำวิจัยในชุมชน ที่ได้ผลทั้งความรู้ เทคนิคในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์เชิงอุตสาหกรรม แผนและนโยบายทุกระดับ และการพัฒนาเกษตรยั่งยืน
  • การทำวิจัยเชิงนโยบายด้านการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า ที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน แบบ "บูรณาการ" จนได้ผลและยอมรับกันทั่วไปทุกระดับ
  • การทำเกษตรอินทรีย์แบบพึ่งพาตนเอง ต้นทุนต่ำ ที่คนจนขนาดไหน (ที่ไม่จนความรู้และปัญญา)ก็ทำได้ จากการมาทำนาเองแบบไม่พึ่งใคร เน้นการพึ่งตัวเองเป็นหลัก
  • การสาธิตและสนับสนุนภูมิปัญญาไทยด้านการเกษตร ไร่ นา และการจัดการทรัพยากรระดับชุมชน ที่ดีและยั่งยืน ในนาของตนเอง ที่ทำเองทั้งหมด ๒๐ ไร่
  • พัฒนาการเรียนการสอน การศึกษา ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อทุกคน และเพื่อสังคมในขณะเดียวกัน ที่สามารถเป็นครู และสอนครูได้อย่างมั่นใจ
  • การศึกษาตลอดชีวิต และตามอัธยาศัย เพื่อชีวิต และสุขภาพ ที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษ สารเสพติด ทำให้มีสุขภาพกายและใจแข็งแรงสมบูรณ์ในทุกมิติ
  • การเรียนประวัติศาสตร์จากของเก่า ฟอสซิล เหรียญ วัสดุธรรมชาติ ของโบราณ พระเครื่อง พระกรุฯลฯ จนสามารถเปิดศนย์เรียนรู้ และร้านให้เช่า และรับเช่าพระเครื่องพระกรุโบราณแท้ๆ ของสะสม วัตถุโบราณในระดับประเทศได้ มีลูกค้ามาจากทุกมุมโลกที่มีอินเตอร์เน็ต และนิยมสิ่งเหล่านี้ ที่ http://www.taradpra.com/store.aspx?StoreNo=4911 และ http://www.sawaengkku.com/
  • การใช้ระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ การพัฒนา "ปัญญา" ในทุกวิธี ทุกเรื่อง ทุกรูปแบบ ทุกวัย ทุกประเด็นของชีวิต
  • พัฒนาโครงการแก้ไขความยากจนที่สามารถปฏิบัติได้จริง กว้างขวาง และเป็นรูปธรรม
  • ฯลฯ

ที่ผมพยายามทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง แบบ

“บอกให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น”

แต่ก็ยังมีคนน้อยมากที่ ให้ความสนใจในเนื้อหาจริงๆ ของเรื่องที่ผมต้องการสื่อ

ส่วนใหญ่จะมาแบบ “ฉาบฉวย” “รู้แล้ว” ที่ทำให้ได้ประโยชน์ไม่มากนัก

ผมจึงขออธิบายขั้นตอนที่ผมใช้ในการสร้าง

“กระบวนการเรียนรู้” สูตร “น้ำพริกปลาทูอีสาน”  หรือ “ป่นปลา” ก็แล้วแต่จะเรียก

ที่ทำให้

  • “ความรู้” มีพลัง และ
  • สามารถใช้ “พลัง” ของความรู้ในการสร้าง “ปัญญา
  • แล้วจึงนำ “ปัญญา” ไปสร้างเป็น “ผลงาน”
  • เพื่อการสร้างสรรค์สังคมอีกต่อหนึ่ง

ตามปณิธานของ สคส. ที่ตั้งไว้แต่เดิม

โดยมีลำดับการจัดการของผม ดังนี้

  1. เริ่มเรียนรู้ เข้าใจกติกา กฎเกณฑ์ และเงื่อนไขของเรื่องที่เรากำลังเผชิญอยู่แก้ปัญหาให้ตรงจุด อะไรที่แก้ไม่ได้ก็พยายามหลบ แบบ “หนี สู้ และทน” คือหนีให้ได้ก่อน ถ้าหนีไม่ได้จึงสู้ สู้ไม่ได้จึงต้องทน (ทนไม่ได้ก็ต้องเลิกไปเลย ไปทำอย่างอื่นดีกว่า)
  2. เรียนวิธีการ แนวทางในการพัฒนาความรู้
  3. วิเคราะห์ สังเคราะห์หลักการ วิธีการ ให้เหมาะสมกับตัวเราเอง
  4. นำหลักการ วิธีการที่ผ่านสังเคราะห์ มาใช้ให้เหมาะสมกับตัวเราและทรัพยากรที่มี
  5. พัฒนาทรัพยากรให้สอดคล้องกับเป้าหมายเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร
  6. นำทรัพยากรที่พัฒนาจนสำเร็จ เหมาะสมดีแล้วมาสร้างปัญญาในการแก้ไขปัญหาการทำงาน
  7. เมื่อทนได้แล้ว ให้อยู่กับสิ่งนั้นให้เป็นปกติ กลมกลืนไปเลย และพยายามใช้สิ่งที่เคยเป็นปัญหา ให้เป็นประโยชน์ โดยพยายามมองหาข้อดี และเน้นใช้ตรงนั้น ปัญหาเราก็จะน้อยลงไปทันที
  8. แล้วก็จะได้ “ปัญญา” ในการพัฒนาความรู้ และชีวิต แบบเป็นวงจรหมุนไปเรื่อยๆ รอบแรกๆจะช้า (ที่ทำให้บางคนทนไม่ได้ เลิกไป) แต่รอบต่อๆไปจะเร็วขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นธรรมดา ไม่เป็นปัญหา หรือ อุปสรรคในการใช้ชีวิตแบบปกติ

นี่คือขั้นตอนที่ผมใช้ และได้ผลมาตลอดกับทุกเรื่องที่ผ่านมาครับ

หวังว่าพอจะปรับใช้ได้บ้างนะครับ

และยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทุกมุม และทุกมิติของชีวิต

ขอเพียงแต่ท่านให้เวลากับชีวิตของท่านบ้าง

ท่านก็จะได้เรียนรู้วิธีการพัฒนาชีวิตของท่านเอง ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 396327เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2010 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 01:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เรียนท่านอาจารย์แสวงที่เคารพ

     กระผมคิดเห็นว่า เมื่อมนุษย์ มีคุณลักษณะอัตตสัมปทา (self-actualization) เป็นความสามารถถึงพร้อมด้วยทักษะและปัญญา ที่อยู่บนทางที่ชอบเป็นทางแห่ง สัมมาทิฐิ ที่พัฒนาตนจากจากเรียนรู้ มายาคติ (delusion) ต่างๆ จะเบาบางจางหาย การเรียนรู้นั้นเป็นการเรียนรู้ทั้งภายในใจตนเอง และภายนอกตัวเอง ...เมื่อเรามีปัญญาที่สูงขึ้นเราก็จะมีตนเองที่พึ่งได้มากขึ้น ความรู้นั้นจะมีสติปัญญาคอยกำกับ ...เมื่อสติปัญญาที่สูงขึ้น การดำเนินชีวิตจะมีความประมาทที่ลดน้อยลง  จิตใจมีความเมตตาที่สูงขึ้น มีความเคารพ เข้าใจและเรียนรู้จากธรรมชาติ เพื่อพัฒนาตนเองและใช้ปัญญาในทางแห่งสัมมาทิฐิ ที่จะอยู่ในโลกอย่างยั่งยืน มีคุณสมบัติที่เรียกว่า subtle awareness (เข้าใจต่อความอ่อนไหวในความรู้สึกในความเป็นมนุษย์ สิ่งแวดล้อมและสังคมโลกที่เกิดมาอยู่ภายใต้สงสารวัฏ)  สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติในมนุษย์ เมื่อพัฒนาตนเองไปเรื่อยๆ ปัญญาทั้งทางธรรมและทางโลกก็พร้อมใช้งานและ "ออนไลน์ในจิตท่านอย่างมีสัมมาทิฐิ" 

 ด้วยความเคารพครับผม

    นิสิต

(อาจารย์เก่งจัง)

เพราะทุกปัญหามีทางออกนิค่ะ

ถ้ามัวแต่เรียนแม้จะเก่งก็จริง

แต่ถ้าไม่นำมาทบทวนบ่อยๆก็เหมือนกับคนที่ไม่ได้เรียนนั่นแหละ

ขอบคุณครับ

ผมไม่เก่งหรอกครับ

ก็พอกล้อมๆแกล้มๆ เอาตัวรอดมาได้เรื่อยๆ

จนพอมีเรื่องเล่าให้ลูกหลานฟัง

และช่วยให้คนที่อ่านประวัติผลงานของผมในวันเผาศพของผม จะไม่ต้องอึดอัดกับการโกหกให้ผู้ร่วมงานเผาศพผมได้ฟัง

สามารถอ่านได้เต็มปากเต็มคำ

ไม่ว่าจะทำอะไร พอสรุปบทเรียนได้ก็นำมาเล่าสู่กันฟังนี่แหละครับ

คนอื่นๆ บางคนอาจอายที่จะพูดถึงความรู้ของตัวเอง หรือไม่ก็กลัวคนอื่นจะรู้ทันครับ

บังเอิญ ผมเป็นคนที่ไม่อาย และไม่หวงความรู้เหมือนคนอื่นๆ เท่านั้นแหละครับ

 

มายกมือเห็นด้วยกับท่านอาจารย์ขอรับ

 

เป็นบันทึกที่มีความหลากหลายอัดแน่นจากประสบการณ์ปฏิบัติที่ดีและน่าสนใจมากขอรับ

แต่ตอนนี้ยังเลือกประเด็นที่จะแลกเปลี่ยนเพื่อความรู้จากท่านยังไม่ได้ (มีมากเหลือเกิน)

ถ้าเลือกได้แล้วจะทยอยนำมา ลปรร. ในโอกาสต่อไปนะขอรับ

 

ขอบพระคุณสำหรับบันทึกดี ๆ นี้ขอรับ

 

ปล. ท่านอาจารย์ทานข้าวเที่ยงแล้วหรือครับ  ?

 

 

สวัสดีท่านอาจารย์อีกครั้งขอรับ

 

  • อยากจะขอความรู้จากท่านอาจารย์ประมาณว่า ...การจะพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นชุมชนต้นแบบนั้น...ควรทำอย่างไรขอรับ ?
  • ขอบพระคุณครับ

 

 

 

เอาความหมายของ "ปัญญา" บางนิยามมาเสริมครับท่านอาจารย์

ที่นี่ครับ

 http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2

 

 

 

 

ชุมชนต้นแบบ ก็คือชุมชนที่มีการพัฒนาเป็นขั้นตอนจนสามารถสรุปบทเรียนได้

เป็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้

ประมาณนี้ครับ

  • สาธุ สาธุ สาธุ
  • สติ มา ปัญญา เกิด
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท