สรุปสัมมนาการนำนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิรูปการศึกษา "การปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณค่าความเป็นมนุษย์"


นวัตกรรมและการนำไปใช้ในการปฏิรูปการศึกษา

 

 

การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้

ในการปฏิรูปการศึกษา

เพื่อพัฒนาคุณค่าความเป็นมนุษย์

 

 

 

 

โดย

นางสาวเจียรนัย    จันขุนทด

เลขที่  12

 

 

เสนอ

ดร. เอกพรต    สมุทธานนท์

 

 

 

 

 

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต   

สาขาการบริหารการศึกษา

มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี   รุ่นที่  3   ศูนย์สระบุรี

ปีการศึกษา   2553 

การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในการปฏิรูปการศึกษา

 เพื่อพัฒนาคุณค่าความเป็นมนุษย์

ณ  โรงแรมเกี่ยวอัน   จ. สระบุรี

วันเสาร์ที่  28  สิงหาคม   2553

……………………….

          จากการเข้ารับฟังสัมมนาเรื่อง “การปฏิรูปการศึกษา  เพื่อพัฒนาคุณค่าความเป็นมนุษย์”  โดย  

รองศาสตราจารย์วิทยากร    เชียงกุล   เราสามารถนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในการปฏิรูปการศึกษา   ได้ดังนี้

                1.   จากการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชั้น ป.6 และ  ม. 3  ในปีการศึกษา  2549  ของ สพฐ. ทุกวิชาคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนที่เข้าสอบทั้งหมดต่ำกว่าครึ่ง   ระดับชั้น ป.6  วิชาที่ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำสุด  คือวิชาคณิตศาสตร์  ได้เพียง  15.55   และภาษาอังกฤษได้  13.81   จากคะแนนเต็ม  40  คะแนน   และในปี  2550   มีนักเรียน ป.  2   ร้อยละ   12  หรือ   79,000  คน  ที่อ่านหนังสือไม่ออก  เขียนไม่ได้  ตามเกณฑ์ที่กำหนด  หรือจากการวัดความรู้พื้นฐาน หรือการทดสอบ  O – NET  ของนักเรียนชั้น  ม. 6  วิชาคณิตศาสตร์ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำสุด  ร้อยละ  29.56     จากการวิเคราะห์แล้ว  ปัญหาน่าจะมาจาก  1)  ตัวหลักสูตรที่กำหนดขึ้นส่วนใหญ่จะใช้ได้ผลดีกับเด็กนักเรียนที่อยู่ในที่ที่เจริญแล้ว   มีการเรียนพิเศษหรือติวอยู่ตลอดเวลา  แต่ไม่ได้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนที่อยู่ต่างจังหวัดหรืออยู่ห่างไกลความเจริญ     2)  สื่อการเรียนการสอนที่มีน้อยและไม่หลากหลาย   3) รูปแบบข้อสอบที่นำมาสอบกับนักเรียน  ซึ่งข้อสอบส่วนใหญ่เอื้อต่อนักเรียนที่มีการเรียนพิเศษอยู่ตลอดเวลา   แต่ไม่เอื้อต่อเด็กนักเรียนที่อยู่ต่างจังหวัดหรืออยู่บนดอย   อยู่ตามชายแดนและห่างไกลความเจริญ    4) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนที่เป็นผู้บอกให้นักเรียนปฏิบัติตามเปลี่ยนเป็นผู้แนะนำให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง     ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว     ควรพิจารณาตั้งแต่ตัวหลักสูตรว่ามีความสอดคล้องกับความต้องการของสังคมและเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมากน้อยเพียงไร   

สื่อการเรียนการสอนมีความเหมาะสมกับผู้เรียนมากเพียงไร    ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนหรือวิชาที่สอนดีหรือไม่     และที่สำคัญตัวแบบทดสอบต่าง ๆ  เหมาะสมหรือไม่  และจากการจัดการทดสอบระดับชาติในรูปแบบต่าง ๆ   ที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือ  ควรมีการพัฒนาข้อทดสอบซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาอีกอย่างหนึ่งให้สอดคล้องกับหลักสูตร   และมีความเสมอภาคกับผู้เรียนทุกพื้นที่  โดยการส่งตัวอย่างรูปแบบการออกข้อสอบในลักษณะต่าง ๆ  เช่น  1  คำถาม   3  คำตอบ    หรือ  การจับคู่ที่มีความสัมพันธ์  3  - 5  สถานการณ์   ตัวอย่างข้อสอบที่มีการวิเคราะห์จากตัวเลือกที่ใกล้เคียงกัน   เพื่อให้ครูได้จัดการเรียนการสอนที่ตรงตามความต้องการของหลักสูตร   หรือจัดการอบรมในการพัฒนานวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนให้กับบุคลากรอย่างต่อเนื่อง    

                2.   จากผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทั่วประเทศโดย  สมศ.  มาตรฐานด้านผู้เรียน เกี่ยวกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์   สังเคราะห์   คิดมีวิจารณญาณ  ได้คะแนนต่ำสุดของมาตรฐาน  คือ เพียงร้อยละ  11.1   ทั้งระดับปฐมวัยและขั้นพื้นฐาน   ซึ่งจากการวิเคราะห์แล้วส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการจัดการเรียนการสอนของครูที่ยึดหนังสือเรียนเพียงอย่างเดียว  แต่ยังขาดการนำนวัตกรรมที่น่าสนใจ  และส่งเสริม

การเรียนรู้ของเด็กนักเรียนมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนน้อยลง   ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว   ครูควรมีการจัดทำหรือพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาจัดการเรียนรู้   เช่นการจัดทำสื่อการสอนที่สามารถเรียนรู้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ทเพิ่มมากขึ้น  และมีรูปแบบที่หลากหลาย  ดึงดูดความสนใจใคร่รู้ของผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น

                3.   รูปแบบการประเมิน   ในปัจจุบันการประเมินผลต่าง ๆ  จะเน้นที่การทดสอบที่วัดเป็นคะแนนเทียบกับเพื่อนร่วมชั้น  ซึ่งส่วนใหญ่เด็กที่มีการเรียนรู้ได้น้อยมักจะเสียเปรียบทางการศึกษา   ดังนั้นควรเปลี่ยนรูปแบบการประเมินมาเป็นการประเมินการพัฒนาความรู้ความสามารถและคุณสมบัติส่วนตัวของผู้เรียน  เช่น   การประเมินทักษะทางสังคมและความคิดสร้างสรรค์โดยเทียบกับตัวเขาเองว่าก้าวหน้าขึ้นจากต้นภาคเรียนหรือต้นปีการศึกษาอย่างไรบ้าง    และให้ผู้เรียนและเพื่อนมีส่วนร่วมในการประเมิน  เห็นถึงความสำคัญของกระบวนการเรียนรู้  และพัฒนาการในการเรียนรู้ของแต่ละคนมากกว่าไปเน้นที่ตัวคะแนนเปรียบเทียบกับคนอื่น   ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจในตัวเองและสนใจเรียนรู้  แก้ปัญหาและพัฒนาด้วยตนเอง  

                4.   รูปแบบการทดสอบวัดความรู้หรือแข่งขันต่าง ๆ   ส่วนใหญ่จะเป็นแบบปรนัยที่เน้นคำตอบแบบสำเร็จรูป   ควรจะเปลี่ยนแปลงวิธีการวัดผลมาเน้นการวัดการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองที่สะท้อนความรู้  ความสามารถอย่างเป็นองค์รวมได้อย่างชัดเจนเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งอาจจะเริ่มภายในสถานศึกษาก่อน   เช่นการทดสอบระหว่างภาคเรียน  ควรจะมีแบบทดสอบที่เน้นให้นักเรียนได้เขียนแสดงเหตุผลในการตอบคำถาม   การยกตัวอย่างประกอบ  เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 396020เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2010 13:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท