แนวทางการพัฒนาความสามารถในการแยกพระกรุจากพระโรงงานแบบรวดเร็ว


ศึกษาจากพระ “เนื้อจัด” จากแหล่งที่ศึกษาได้ ให้หลายรูปแบบที่สุดเท่าที่ทำได้ เพราะ ถ้าเป็นพระ “เนื้อก้ำกึ่ง” อาจจะทำให้ขาดความชัดเจนในการกำหนด “ชุดความรู้” สำหรับมือใหม่ได้

หลังจากที่ผมศึกษาค้นหาวิธีการแยกพระกรุออกจากพระโรงงาน และพระโรงงานออกจากพระกรุแบบวนไปวนมาหลายรอบ แล้วนำพระที่สงสัยว่าจะเป็นพระโรงงานไปคืนเจ้าของเดิม หรือที่หาเจ้าของเดิมไม่ได้ ก็ใช้วิธีเก็บแยกไว้เป็นที่ระลึก

จนทำให้พระเครื่องที่เก็บไว้ส่วนใหญ่น่าจะเป็นพระกรุ ที่มั่นใจและดูสบายตาตามหลักการดูพระกรุ ที่ว่าดูสบายตา “หนึก นุ่ม” ก็ทำให้ผมคิดต่อไปว่า

  • จะทำอย่างไร จึงจะช่วยให้คนที่กำลังศึกษาพระเครื่องแบบ “มือใหม่”สามารถพัฒนาขีดความสามารถได้อย่างรวดเร็ว และ
  • รอดจากการเป็นเหยื่อของ “นักต้มตุ๋น” ในตลาดพระ สามารถหลบเลี่ยง “เซียนวิชามาร” ได้มากที่สุด

หลังจากไต่ตรองหลายรอบ ผมพบหลักการและแนวทางที่สำคัญ ที่ได้เขียนบันทึกก่อนหน้านี้ และต่อเนื่องมา ดังนี้

  1. ศึกษาแนวทางของบันได ๑๒ ขั้น อย่างจริงจัง
  2. ค้นหาแหล่งความรู้ที่มีหลักการ หลักคิด และแนวทางที่ชัดเจน รวมทั้งแหล่งพระกรุแท้ๆ หลากเนื้อ หลากกรุ หลากพิมพ์ และหลายสภาพ เพื่อเป็นเครื่องมือในการศึกษา
  3. เริ่มศึกษาจากพระ “เนื้อจัด” จากแหล่งที่ศึกษาได้ ให้หลายรูปแบบที่สุดเท่าที่ทำได้ เพราะ ถ้าเป็นพระ “เนื้อก้ำกึ่ง” อาจจะทำให้ขาดความชัดเจนในการกำหนด “ชุดความรู้” สำหรับมือใหม่ได้ เช่น
    1. พระเนื้อดินต้องผิวกร่อน สวยแบบ “คนแก่” ผิวย่นจนเป็นร่องลึก
    2. พระสนิมแดงต้องเต่งตึงสดใส มีสนิม ๓ ชั้นขึ้นไป พร้อมสนิมใหม่ๆ หลากสี หลากแบบ
    3. พระทองสำริด หรือสำริดต้องยุ่ย ผิวในแดง ผิวนอกสีฟ้าเทา
    4. พระเนื้อเงิน ต้องมีผิวปรอท สนิมตีนกา เนื้อนอกดำแบบเงินโบราณ
    5. พระชินเงินต้องระเบิด และมีผิวปรอท พรายเงิน และสนิมตีนกา
    6. พระชินเขียวต้องมีไขเกาะแน่น และสนิมไข่แมงดาในเนื้อไขติดผิวโลหะประปราย
    7. ทั้งหมดควรมีทั้งผิวใน ผิวนอก คราบผุ และคราบกรุอยู่อย่างต่อเนื่องและกลมกลืน สอดคล้องกับธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมของแต่ละกรุ
    8. ที่ต้องศึกษาพัฒนาการของเนื้อและผิวพระเป็นระยะๆ จนชัดเจนแล้วจึง เลื่อนขั้นไปอีกระดับหนึ่ง คือ
  4. พิจารณาพระ “เนื้อกร่อน” จากการหักหรือบิ่นในกรุ จะทำให้เห็นขั้นตอนและชั้นการพัฒนาการของเนื้อพระที่อายุต่างๆ หลังการสร้างเป็นต้นมา ผิวที่หักจะทำให้เห็นอายุต่างๆกัน และการพัฒนาการในระยะเวลาที่ผ่านมา
  5. พิจารณาพระที่ผิว “สึก” จากการใช้งานแบบต่างๆ ที่จะทำให้เห็นลักษณะทั้งผิวปิดและผิวเปิดแบบต่างๆ ที่ช่วยให้เข้าใจถึงสภาพผิวของพระชั้นต่างๆได้อย่างหลากหลายและเป็นจริงแบบไม่ต้องเดา ไม่ว่าจะเป็น

    1. จากการใช้ทั้งตามปกติ และไม่ปกติ
    2. จากการล้าง ขัด ตัด แต่ง
    3. จากการเก็บรักษาต่างๆ ทั้งถูกและไม่ถูกวิธี
  6. พิจารณาพระที่ผ่านสภาพหลายแบบรวมๆกัน ทั้งหลากหลายพิมพ์ และเนื้อ ที่มีตัวอย่างพระเนื้อจัดให้ดูในเวปตลาดพระ ที่สามารถขึ้นพระแท้เนื้อจัด เนื้อกร่อน และสภาพใช้ต่างๆ ให้ดู ตามคำขอดูได้ตลอดเวลา และสามารถไปชมของแท้ตามที่อยู่ในเวบได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด และยินดีให้คำแนะนำฟรี เป็นการทำบุญทำทานครับ

ทั้ง ๖ ข้อ ข้างต้นจะทำให้ได้กรอบความรู้ถึงความหลากหลายของสภาพพระที่เป็นจริงได้ แล้วนำความรู้ที่ได้ไปดูพระจริงๆในตลาดพระ โดยไม่ต้องนำเงินไป ที่จะทำให้ไม่หลงซื้อตามคำเชิญของผู้ขาย ในขณะที่เรายังดูพระไม่ออก

เมื่อมั่นใจแล้วค่อยเริ่มวัดดวงด้วยการลองหยิบพระตามระดับความเข้าใจของตัวเอง

เมื่อได้แล้วให้รีบนำมาตรวจสอบตามขั้นตอนบันได ๑๒ ขั้นดังกล่าวไปแล้ว

ท่านก็จะสามารถพัฒนาสายตาและฝีมือได้อย่างรวดเร็วครับ

หมายเลขบันทึก: 394688เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2010 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียนท่านอาจารย์ครับ

พระนี่สวยย่นแบบคนแก่ได้ด้วยหรือครับ แม่งๆ ชอบกลนาอาจารย์นา ฮาหน่อยครับบบบบ

ผมว่าอาจารย์คิดมากไปหน่อย

ผิวสวยแบบคนแก่นะครับ ยิ่งย่น แห้งๆเหี่ยวๆมากยิ่งสวยครับ อิอิ

ลองเข้าไปดูนะครับ

พระเนื้อดิน ที่ผิวตึง ไม่มีใครดูหรอกครับ ไม่เชื่อถามคนที่ศึกษาพระคนไหนก็ได้ครับ

ต้องเหี่ยวย่นทั้งนั้นครับ

ถ้าเต่งตึงต้องเป็นสนิมแดงครับ

สวัสดีครับอาจารย์ ไม่ได้เจอกันนานเลยนะครับ ช่วงนี้ผมไม่ได้ออกไปตลาดพระนานมาก เพราะว่าที่โรงเรียนผมมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ครับ เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 53 ผมได้ไปงานศพลุงที่ จ.ศรีษะเกษ ผมได้พระของลุงมากเยอะพอสมควร และได้พระกรุวังเพิ่มมาองค์หนึ่งครับ สวยพอผมควรผมถามพวกพี่ลูกลุงว่าลุงได้มายังไง พี่ลุงได้มาตอนเป็นครูที่ อ.สีชมพู ประมาณปี 25 ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท