คณะผู้มาเยือน ดูงานจัดการความรู้


KM ไม่จำเป็นต้องบอกชาวบ้าน เพียงแต่ใช้กระบวนการไปกระตุ้น

               จากที่ได้เล่าการทำเวทีและการเยี่ยมชมของคณะดูงานจากกศน.จังหวัดหนองบัวลำพู และ ผอ.สถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร (ผอ. สุประณีต  ยศกลาง) หรือพี่แดง  รวมคณะประมาณ  25  คน  มาศึกษาดูงานในเรื่องของการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร และการพัฒนาการเรียนรู้ในรูปแบบของเครือข่ายอาชีพ (กลุ่มปุ๋ยหมัก) ในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช กลุ่มปุ๋ยหมักบ้านน้ำพุ  หมู่ที่  4  ตำบลไชยมนตรี เป็นอีกที่หนึ่งที่คณะได้เข้าเยี่ยมชม  หลายท่านได้ตั้งข้อซักถามเกี่ยวกับการจัดการความรู้ หรือ KM  ที่เชื่อมโยงกับการจัดการศึกษาอาชีพของ กศน. ที่ลงไปจัดในพื้นที่  ท่าน ผอ. สุปราณีต  ยศกลาง  (พี่แดง) ได้ถามว่า  ในการจัดการศึกษาอาชีพหรือกลุ่มอาชีพที่ทำอยู่มันเป็นการจัดการความรู้อย่างไร  เป็นคำถามที่คณะที่มาสนใจมาก  
ผมในฐานะเป็นครูอาสาสมัครฯในพื้นที่ได้ตอบชี้แจงว่า  “ ในการจัดการศึกษาอาชีพเริ่มจากการสำรวจความต้องการของชาวบ้าน รวมกลุ่มชาวบ้านที่มีความสนใจที่จะทำเรื่องเดียวกัน มานั่งคุยแลกเปลี่ยนรู้กัน หาข้อตกลงในเรื่องที่ทำทุกอย่างมาจากความคิดและความต้องการชองสมาชิก  เมื่อตกลงที่จะรวมกลุ่มทำปุ๋ยหมักก็ต้องมานั่งคุยหาวิธีการที่จะทำ มีการตกลงที่จะระดมหุ้น  การหาวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างโรงเรือน  การทำปุ๋ยหมักในแต่ละรอบ การจัดการกับผลผลิตทุกอย่างได้ผ่านเวทีการพูดคุยระหว่างสมาชิกด้วยกัน ในการคิดหาวิธีให้เป้าหมายประสบความสำเร็จ  ทุกอย่างเป็นการทำในหน้างานทั้งหมด  เราในฐานะผู้ส่งเสริมมีหน้าที่ในการจัดกระบวนการในการที่จะให้สมาชิกได้พูดคุย ส่งเสริมกระตุ้นการตั้งเป้าหมาย และวิธีการปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย  อะไรที่ทำได้ดีก็กระตุ้นให้ตั้งเป้าหมายในการที่จะพัฒนาต่อไป
      ผอ. สุปราณีต  ยศกลาง (พี่แดง) ถามต่อว่า  การจัดกิจกรรมในรูปแบบนี้เราได้บอกชาวบ้านหรือเปล่า ว่าเรามาทำจัดการความรู้ (KM) กับชาวบ้าน                 ผมตอบว่าไม่ เพราะมันเหมือนกับทำให้เป็นการฝืนกับการดำเนิน            วิถีชีวิตของกลุ่ม  เพียงแต่เราลงไปจัดกระบวนการให้เขาได้กำหนด       ป้าหมาย หาวิธีและทำให้บรรลุตามเป้าหมาย และพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อให้งานบรรลุ ทั้งชาวบ้านหรือสมาชิก และกลุ่มมีความเข้มแข็งสามารถที่จะระดม       ความคิดกันเพื่อจะทำและพัฒนาทั้งในส่วนของตนเองและกลุ่ม  ผมตอบอย่างนี้ไม่รู้ว่าตรงประเด็นหรือเปล่า….

หมายเลขบันทึก: 39463เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2006 14:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
หัวหน้า กศน.ตำบลท่าหินโงม อำเภอเมืองชัยภุมิ

เรียนครูราญเมืองคอน ขอแสดงความยินดี กับการจัดการ KM ที่เมืองคอน 27 มีนาคม 2553 มีการอบรมครู กศน. ทั้งครูอาสา และครูศรช. และหัวหน้า กศน.ตำบลทุกตำบลในเขตจังหวัดชัยภูมิ ซีง ผอ.สุปราณีต ยศกลาง ผอ.สน.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ เป็นประธานเปิดโครงการอบรมการใช้หลักสูตร สาระ และ มาตรฐานการจัดการศึกษาระดับพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่โรงเรียนสยามรีเวอร์รีสอร์ท ชัยภูมิ ทางจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ครูราญ ได้ดำเนินการไปถึงใหนแล้วคะ

สวัสดีครับ...หัวหน้า กศน. ตำบลท่าหินโงม

ตอนนี้...ก็ขับเคลื่อนงานลงสู่ตำบล โดยที่หน่วยงานราชการบูรณาการการทำงานร่วมกันทำเป็นภาคีเครือข่ายครับ...สำหรับของอำเภอเมือง เรารวมภาคีกันได้ 32 หน่วยงานปีที่ผ่านมาก็ลงไปขับเคลื่อนเรื่องการฟื้นฟูคลองท่าซัก ซึ่งก็ทำต่อเนื่องและขยายไปสู่ตำบลใกล้เคียงเรื่องการจัดการน้ำเช่นตำบลท่าไร่ ตำบลบางจาก ตำบลปากนคร ตำบลท่าเรือ ซึ่งการขับเคลื่อนก็ยังใช้ฐานของชุมชนอินทรีย์อยู่ครับ...

ที่สำคัญตอนนี้นครศรีธรรมราชเราได้สร้างโรงเรียนคุณอำนวยใหม่ขึ้นมาอีก 1 โรง เรียกว่าโรงเรียนนักปกครอง เพื่อที่ให้การขับเคลื่อนงานชุมชนอินทรีย์ของนครศรีธรรมราชมีศักยภาพยิ่งขึ้นก็นำผู้นำชุมชน ทั้งนายก อบต. ผู้ใหญ่ กำนัน สมาชิก อบต. มาเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาศักยภาพในการทำงานของผู้นำครับ...หัวเรี่ยว หัวแรงก็คงไม่พ้นครูนงเมืองคอน (ครูจำนง หนูนิล) ซึ่งนำพาการศึกษานอกระบบของจังหวัดนครศรีธรรมราชไปสู่เป้าหมายครับ...

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท