ละครไทยในมุมมองของคนไม่ดู


ดู AF ก็เหมือนดูละคร

ผมเป็นคนไม่ดูละครครับ โดยเฉพาะละครหลังข่าว

วันนี้ผมเปิดนิตยสารมติชน สุดสัปดาห์ฉบับล่าสุดวันที่ 10 กันยายน 2553 อ่านคอลัมน์ของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียนเกี่ยวกับเรื่องละครไทยไว้อย่างน่าสนใจครับ

ก่อนอื่นต้องบอก character ของละครไทยตามที่ผมสังเกตไว้เป็นดังนี้

1) ไม่ว่าคุณจะเปิดทีวีมาดูตอนไหนของละคร คุณจะสามารถเดาเรื่องราวได้ภายในเวลา 5 นาทีและทีสำคัญคือ HAPPY ENDING ทุกเรื่อง

2) นักแสดงก็มักแสดงบทบาทตัวเองได้อย่างสมจริงจนน่าตกใจ จนทำให้เรานึกว่าถ้าไอ้ตัวอิจฉามันออกมาเดินที่ตลาดคงมีคนรุมตื๊บมันตายแน่แท้ ตัวนางเอกก็น่าสงสารซะ .....?

3) สถานที่ในละครก็ extreme ซะจริง ๆ บ้านพระเอกก็ต้องตกแต่งเสาโรมัน เฟอร์นิเจอร์หลุยส์ โทรศัพท์ยังต้องเป็นสีทอง โอ้ แม่เจ้า!!! (จริง ๆ จะเห็นว่าบ้านที่ใช้ถ่ายละครจะมีอยู่ไม่กี่เรื่อง)

4) นักแสดงเล่นบทไหนก็จะเล่นบทนั้นไปจนแก่ เราจะเห็นว่านางเอกช่วงที่มีงานรุ่งมาก ๆ ก็จะมีคิวถ่ายละครที่ 4 - 5 เรื่อง ตัวไหนเป็นคนใช้ก็จะเป็นคนใช้ตลอด (ยูนิฟอร์มก็ต้องมาตราฐานคนใช้เป๊ะ ๆ เสื้อขาว กระโปรงน้ำเงิน)

ทีนี้กลับมาที่คอลัมน์ของอาจารย์นิธิ ต้องยอมรับว่าอาจารย์เป็นนักวิชาการที่ฉลาดหลักแหลมและซื่อสัตย์มากคนหนึ่ง (แต่อาจารย์มักถ่ายทอดได้ไม่ค่อยเข้าใจมากครับ)

อาจารย์นิธิใช้ชื่อหัวเรื่องว่า "อุดมคติในละครทีวี"

อาจารย์ให้ความเห็นว่า "ละครไทยมาจากอุดมคติในวัฒนธรรมไทย" อธิบายง่าย ๆ คือวัฒนธรรมมีรากฐานความเชื่อเรื่อง บาป - บุญ เยอะมาก ทำดีขึ้นสวรรค์ ทำชั่วลงนรก คนดีก็ได้รับผลดี คนชั่วก็ได้รับผลชั่ว

เมื่อนำมาอิงกับละครก็ทำให้เห็นว่า ตัวละครดีก็จะดีโคตร ตัวไหนเลวก็เลวตัวพ่อจริง ๆ

อาจารย์เปรียบเทียบกับเรื่องละครที่เป็นต้นแบบที่ทุกคนรู้จักดีคือ "รามเกียรติ์" เห็นได้ว่าทุกวันนี้ละครไทยมี plot เรื่องมาจากรามเกียรติ์ทุกเรื่อง

วัฒนธรรมไทยที่ถูกซึมซับผ่านทางละครเข้าทุก ๆ วันจึงเป็นอุดมคติไปอย่างไม่รู้ตัว อาจารย์อธิบายคำว่าอุดมคติของชีวิตไว้อย่างน่าสนใจดังนี้ครับ

" อุดมคติของชีวิต" ที่ผมหมายถึงมีสองอย่าง คือความดีงาม ความถูกต้อง ความยุติธรรม การทำหน้าที่อย่างเที่ยงตรง ความซื่อสัตย์สุจริต ฯลฯ ย่อมเป็นเป้าหมายของชีวิตทุกชีวิต และสิ่งเหล่านี้ย่อมอยู่เหนือกว่าความชั่วร้ายต่างๆ เสมอ

อีกอย่างหนึ่งก็คือ "อุดมคติ" ในความหมายเชิงโลกียะธรรมดาๆ นี่แหละครับ เช่น ชีวิตที่มั่งคั่งไม่ขาดแคลน, ความสวยความหล่อ, ความเก่งกล้าสามารถ (อำนาจ), ความสำเร็จในด้านการงานและความรัก

เมื่อมันเป็นอุคมคติ สิ่งที่ทุกคนต้องการเห็นมากที่สุดก็คือ "HAPPY ENDING"

อาจารย์นิธิได้เปรียบเทียบละครไทยกับละครฝรั่ง ว่าในขณะที่ละครไทยเสนออุดมคติของชีวิต (Ideal Life) ละครฝรั่งกลับเสนอ"ชีวิต" ที่เป็นของจริง (Real life)

Real life ที่ไม่ได้จำกัดแค่ช่วงวัยของพระเอก-นางเอก

Real life ที่ไม่ได้กำหนดบทบาทว่าคุณจะเล่นเป็นใคร

Real life ที่ไม่ได้ HAPPY ENDING

เมื่อละครไทยเน้นที่อุดมคติของชีวิตมากจนลืมชีวิตจริงทำให้คนที่ดูละครต่างคิดว่าในโลกจริงก็จะคล้ายกับละคร อยากอยู่ในช่วงวัยที่เป็นอุดมคติมากที่สุด เราจึงไม่ค่อยเห็นนักแสดงอาวุโสในละครมากนัก

อีกตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้เห็นความฝันว่า Real life จะเป็น Ideal life ได้คือ การเล่นหวยและการพนัน คนที่ดูละครไทยส่วนใหญ่มักคิดว่า "โชคชะตา" เป็นสิ่งเดียวที่จะเปลี่ยน Real life ให้เป็น Ideal life

สุดท้ายนี้ในมุมมองส่วนตัวของผม ผมเป็นห่วงเด็ก ๆ หลายคนที่ติดละครงอมแงม เด็กที่ยังไม่เข้าใจ Real life มากนัก แต่ฝันอยากได้ Ideal life ผ่านการดูละคร

แล้วไอ้ผู้จัดรายการสมัยนี้ก็ดันจับจุดได้ว่าเด็กอยากมี Ideal life ก็เลยออกรายการที่ทำให้เด็ก ๆ มาสร้าง Ideal life โดยที่ไม่ต้องขัดเกลามากนัก

......

......

......

......

......

ใช่แล้วครับผมพูดถึงรายการ Academy Fantasia

เราจึงเห็นเด็กวัยรุ่นออกมาแสดงบทบาทที่พวกเขารับจากละครมาโดยตลอด

เราจึงเห็นว่าในบ้าน AF ต้องมีคนเป็นผู้ร้าย ตัวอิจฉา พระเอก และนางเอกเสมอ

จะเปลี่ยนช่องตอนนี้ยังทันนะครับ...!

หมายเลขบันทึก: 393531เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2010 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

- สวัสดีดีคะคุณBUND

-ดิฉันเห็นด้วยกับความคิดของคุณที่ละครส่วนมากจะแสดงเกินจริงไป ชีวิตจริงคงไม่มีตัวอิจฉาหรือนางเอกที่แสดงออกมาถึงขนาดนั้นและชีวิตจริงอาจไม่ได้Happy Ending ไปซะทุกเรื่อง

สงสัยถูกคนที่บ้านบังคับดูละคร แต่ก้อคงต้องดูต่อไป fight บังคับค่ะ

เห็นด้วยนะคะ รายการ reality ออกมาเยอะเหลือเกิน

ถ้าเด็กไทยวันนี้ว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร

ก้อคงตอบว่า .... อยากเป็นดารา !!!

  • สวัสดีครับ
  • ละครน้ำเน่าขายดีเพราะคนดูเน้นสนุก ไม่เน้นเนื้อหาสาระ จะหลุดโลกอย่างไรก็รับได้ แต่ไม่ค่อยประเทืองปัญญา
  • ยังไงพระเอกกับนางเอกต้องดูดีก่อนครับ เพราะคนเราชอบอะไรที่ดูดี ดังนั้นถ้าเกิดตัวร้ายที่ดูดีหล่อ สวยกว่าพระเอกนางเอก คนดูก็รับได้ ชื่นชอบ ชื่นชม เพราะดูที่หน้าตา ถ้าสวยหล่อฝีมือไม่ค่อยเน้น ให้โอกาสอาจพัฒนาได้
  • ละครไทยก็เหมาะกับคนไทย ที่มีแนวคิดแบบไทยๆ ครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท